ตีราคาซื้อควบรวมกิจการ
การบริหารจัดการ

12 วิธีตีราคาซื้อควบรวมกิจการ

82 / 100

วิธีตีราคาในการซื้อและควบรวมกิจการ

การตีราคาซื้อควบรวมกิจการ

ในการซื้อหรือควบรวมกิจการนั้น ขั้นตอนที่สําคัญเบื้องต้นคือ การทําdue deligence เพื่อเก็บรวบรวมและตรวจสอบข้อมูลด้านต่างๆ ของกิจการอย่างละเอียด ถ้าหากผลของการทํา due deligence ออกมาเป็นที่น่าพอใจ ขั้นตอนต่อไปคือ การตีราคากิจการ ซึ่งเป็นขั้นตอนที่สําคัญที่สุดในการตัดสินใจของผู้ลงทุนว่า จะมีการซื้อหรือควบรวมกิจการเกิดขึ้นหรือไม่

การตีราคาธุรกิจ เป็นกระบวนการที่ไม่ง่าย มีแนวคิดและวิธีการหลายรูปแบบ และไม่สามารถกําหนดได้ว่าวิธีใดวิธีหนึ่งดีที่สุด เนื่องจากข้อเท็จจริงและสภาวะแวดล้อมแตกต่างกัน ในแต่ละกรณี ฉะนั้น ผู้ตัดสินใจควรใช้หลายๆวิธีประกอบกัน

ตีราคาซื้อควบรวมกิจการ

แนวทางการตีราคา อาจจะแยกออกได้เป็น

อิงกําไร (Profit Oriented)

อิงสินทรัพย์ (Asset Oriented)

แนวทางตีราคาโดยอิงกำไร (Earning Approach)

วิธีที่ 1 กําไรในอดีต (Capitalisation Earnings)

วิธีนี้จะใช้กําไรในอดีตของกิจการเป็นฐานในการคํานวณ แล้วใช้ตัวคูณที่เหมาะสมกับกิจการ คูณกับกําไรนั้น ผลลัพธ์ที่ได้คือ ราคาที่ตีได้กําไรในอดีตที่นํามาใช้ ควรจะได้มีการปรับปรุงรายการที่ผิดปกติและเกิดขึ้นไม่บ่อย ออกไปเสียก่อน นอกจากนั้น วิธีการบัญชีที่ไม่เหมาะสมหรือไม่ถูกต้อง ที่ใช้ในการบันทึกบัญชีเกี่ยวกับการค้าเป็นธุรกิจปกติ ก็ควรจะได้มีการปรับปรุงเช่นกัน เช่น อัตราค่าเสื่อมราคา อัตราค่าเช่า อัตราดอกเบี้ยที่อาจจะสูงหรือต่ำกว่าปกติ รายได้พิเศษ หรือค่าใช้จ่ายพิเศษ เป็นต้น การปรับปรุงนี้จะทําให้กําไรมีคุณภาพมากขี้น เพื่อให้เหมาะสมที่จะนํามาใช้เป็นเกณฑ์ในการคํานวณราคากิจการกําไรที่ปรับปรุงแล้วนี้ อาจจะใช้ตัวเลขของปีล่าสุด หรือย้อนหลัง 2 ปีก็ได้ แต่ควรจะใช้วิธีถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักให้ปีหลังๆ มีน้ำหนักมากกว่า

ตัวคูณหรือจํานวนเท่าที่จะนํามาคูณกับกําไรที่ปรับปรุงแล้ว โดยปกติจะใช้อ้างอิงจากอัตราส่วน P/E ratio หรืออัตราส่วนราคาตลาดของหุ้น/กําไรต่อหุ้น ของกิจการที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน ซึ่งกิจการที่มีความเสี่ยงสูงอัตราที่ใช้มักจะต่ำ และกิจการที่มีความเสียงต่ำ อัตราส่วนที่ใช้มักจะสูง ปัจจัยความเสี่ยงที่ควรคํานึงได้แก่ ความมีเสถียรภาพของรายได้ ความสามารถในการทํากําไรในอนาคต สภาพคล่อง เป็นต้น

วิธีที่ 2 กระแสเงินสด (Capitalization of Cash Flows)

วิธีนี้มีหลักการทํานองเดียวกันกับวิธีที่ 1 เพียงแต่ใช้กระแสเงินสดที่ปรับปรุงแล้ว แทนกําไรที่ปรับปรุงแล้ว ซึ่งวิธีการของกระแสเงินสดสามารถทําได้โดยใช้หลักการบัญชีเข้าช่วยวิธีที่ 2 นี้เหมาะสําหรับธุรกิจประเภทบริการ

วิธีที่ 3 มูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดในอนาคต (Present Value of Future Cash Flows or Discounted Cash Flows)

ภายใต้วิธีนี้ กิจการจะมีค่าเท่ากับ มูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดจากกําไรในอนาคต บวกด้วยกระแสเงินสดจากการขายธุรกิจในอนาคต ถึงแม้การใช้กระแสเงินสด จะเป็นวิธีที่ดีกว่าการใช้กําไรทางบัญชี แต่มีข้อจํากัดคือ ต้องมีข้อสมมติฐานอย่างเดียวกับเหตุการณ์ในอนาคต จึงไม่เหมาะที่จะใช้ในกรณีที่ธุรกิจไม่มีแนวโน้มที่สม่ำเสมอ

ขั้นตอนที่สําคัญในการใช้วิธีนี้ ได้แก่

หามูลค่าปัจจุบันจากกระแสเงินสดจากกําไร

กําไรควรจะประมาณจากอัตราเติบโต โดยปกติจะใช้ระยะเวลา 10 ปีโดยเริ่มต้นจากผลกําไรของปีล่าสุด ซึ่งกําไรในที่นี้ควรจะเป็นกําไรในเชิงกระแสเงินสด กล่าวคือ ปรับปรุงรายการที่ไม่กระทบเงินสดออกแล้ว เช่น บวกกลับด้วยค่าเสื่อมราคา เป็นต้น

หามูลค่าปัจจุบันของราคาขายของธุรกิจ

ต้องหาราคาขายของธุรกิจ ณ วันที่ขายในอนาคต ซึ่งถือเป็นราคาซาก (Residual Value) โดยอาจจะหาจากวิธีจํานวนเท่าของรายได้ หรือจํานวนเท่าของกระแสเงินสดดังที่กล่าวมาแล้วก็ได้

อัตราคิดลด (Discount Rate)

อัตราคิดลดที่นํามาใช้ เพื่อหามูลค่าปัจจุบันอาจจะเป็นอัตราผลตอบแทนต่ำสุด ที่นักลงทุนสามารถยอมรับได้ และควรจะพิจารณาถึงอัตราผลตอบแทนปกติของเงินลงทุน อัตราเงินเฟ้อ ปัจจัยความเสี่ยงต่างๆ ด้วย โดยปกติมักจะใช้อัตราดอกเบี้ยที่ปราศจากความเสี่ยง (Risk free Rate) บวกด้วย Risk premium 5-10%

วิธีที่ 4 กระแสเงินสดจากการดำเนินงาน (Operating Cash Flows)

บางธุรกิจอาจจะใช้วิธีตีราคาโดยใช้จํานวนเท่าของกระแสเงินสดจากการดําเนินงาน เช่น กิจการสถานีวิทยุหรือโทรทัศน์ อาจจะขายในราคา 8-12เท่าของกระแสเงินสดจากการดําเนินงาน

วิธีที่ 5 จํานวนรายได้ (Capitalization of Revenue)

ราคาของกิจการอาจจะตีจากรายได้เบื้องต้นคูณด้วยตัวคูณที่ใช้กันทั่วไปในอุตสาหกรรมเดียวกัน วิธีนี้เหมาะสําหรับกรณีที่มีปัญหาในการหาผลกําไร

วิธีที่ 6 วิธีอัตราส่วนราคาตลาดต่อกำไรสุทธิต่อหุ้น (Price Earning Ratio)

อัตราส่วนที่ใช้จะนํามาจากกิจการที่คล้ายคลึงกันที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ปรับปรุงด้วยปัจจัยความเสี่ยงอื่นๆ ของธุรกิจเอง รวมทั้งเป้าหมายผลตอบแทนจากการลงทุนด้วย (ROI Goal) ฉะนั้น ราคาที่ได้จากวิธีนี้จะเป็นราคาที่นักลงทุนยินดีที่จะจ่าย

ตัวอย่าง

กําไรสุทธิ 800,000

จำนวนหุ้น 100,000

กําไรต่อหุ้น 8

P/E ratioทีjกําหนด 10

ราคาตลาดต่อหุ้น 80

ราคาของกิจการ = 80 x 100,000 หุ้น

= 8,000,000

แนวทางการตีราคาโดยอิงสินทรัพย์ (Asset Approach)

มีวิธีต่างๆ ดังนี้

วิธีที่ 7 ราคาตามบัญชี (Book Value)

กิจการอาจจะถูกตีราคาเท่ากับสินทรัพย์สุทธิ (สินทรัพย์หักหนี้สิน)จากงบดุลล่าสุด แต่วิธีนี้ได้ค่อยใกล้เคียงความเป็นจริง เนื่องจากไม่ได้คํานึงถึงราคาปัจจุบัน ฉะนั้นจึงควรจะนํามาใช้ในกรณีที่ไม่สามารถหาราคายุติธรรมของสินทรัพย์สุทธิ และหรือค่านิยมเท่านั้น ถ้าใช้วิธีนี้ ควรจะปรับปรุงงบดุลด้วยรายการที่ถูกบันทึกด้วยวิธีที่ไม่เหมาะสมซึ่งทําให้สินทรัพย์หรือหนี้สินมีราคาสูงหรือต่ำเกินไป

วิธีที่ 8 สินทรัพย์มีตัวตนสุทธิ (Tangible Net Worth)

ตีราคากิจการเท่ากับสินทรัพย์มีตัวตนสุทธิของปีปัจจูบันซึ่งหาได้โดย

ส่วนของผู้ถือหุ้น (Share holder’s Equity)

หัก สินทรัพย์ไม่มีตัวตน (Tangible Asset)

= สินทรัพย์มีตัวตนสุทธิ (Tangible Net Worth)

หรือตีราคากิจการเท่ากับสินทรัพย์สุทธิเชิงเศรษฐกิจ (Economic Net Worth) ซึ่งหาได้โดยการปรับปรุงราคาตามบัญชี

ราคายุติธรรมของสินทรัพย์สุทธิ (Fair Market Value of Net Asset)

บวก ค่านิยมตามที่ตกลงกัน (Goodwill as per agreement)

= สินทรัพย์สุทธิเชิงเศรษฐกิจ (Economic Net Worth)

วิธีที่ 9 ราคายุติธรรมของสินทรัพย์สุทธิ (Fair Market Value of Net Assets)

การหาราคายุติธรรมหรือราคาตลาดของสินทรัพย์มีตัวคนสุทธิอาจจะทําได้โดยผู้ประเมินราคาอิสระ (Indepent Appraisal) ภายใต้วิธีนี้ สิ่งที่ต้องพิจารณาเพิ่มเติมคือ ว

ค่านิยม (Goodwill) ซึ่งมาจากชื่อเสียงของกิจการ ฐานลูกค้าที่ดี หรือคุณภาพของสินค้าหนี้สินที่ไม่ได้รับรู้และไม่ได้บันทึก เช่น ภาระด้านภาษีอากร ความเสียหายจากคดีความ เป็นต้นสินทรัพย์ที่ไม่ได้รับรู้และไม่ได้บันทึก เช่น รายชื่อของลูกค้า ลิขสิทธิ ใบอนุญาตต่างๆ

วิธีที่ 10 ราคาเลิกกิจการ (Liquidation Value)

ตีราคาแบบเลิกกิจการ เป็นวิธีที่ระมัดระวังเพราะไม่ได้คํานึงถึงความสามารถในการสร้างรายได้ของธุรกิจจึงเป็นราคาต่ำสุดที่ใช้ในการต่อรองราคานี้หาได้จากการประมาณการเงินสดที่จะได้จากการขายสินทรัพย์ของบริษัทภายใต้ระยะเวลาอันสั้น หักด้วยหนี้สิน และค่าใช้จ่ายในการดําเนินการขายต่างๆ

วิธีที่ 11 ราคาทดแทน (Replacement Value)

ราคาทดแทนเป็นการตีราคาสินทรัพย์ของกิจการเสมือนหนึ่งเป็นของใหม่จึงเป็นราคาที่สูงกว่าราคาตามบัญชีและราคายุติธรรมของสินทรัพย์ปัจจุบัน

วิธีราคาทดแทน มีประโยชน์ในการเปรียบเทียบกับวิธีอื่นๆ วิธีราคาทดแทนจะมีประโยชน์มากขึ้น ถ้าได้มีการปรับปรุงด้วยค่าเสื่อมราคาและความล้าสมัย

วิธีที่ 12 หลายวิธีรวมกัน (Combination of Method)

วิธีตีราคาโดยนําเอาผลจากการตีราคาสองวิธีหรือมากกว่ามาถัวเฉลี่ย

ตัวอย่างเช่น

วิธีมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์สุทธิ = 2,100,000

วิธีจํานวนเท่าของผลกําไร = 2,500,000

ราคาถัวเฉลี่ยของกิจการ = 4,600,000 / 2

= 2,300,000

หรืออาจจะใช้วิธีถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก ซึ่งควรจะให้น้ำหนักกับวิธีที่อิงรายได้มากกว่าวิธีที่อิงสินทรัพย์

ที่กล่าวมาทั้งหมด 12 วิธี เป็นตัวอย่างแนวทางในการตีราคากิจการซึ่งผู้ที่เกี่ยวข้องในการซื้อหรือควบรวมกิจการจะเป็นผู้ตัดสินใจเลือกวิธีที่เหมาะสมที่สุดเฉพาะกรณี

ขอบคุณบทความดีดีจาก คุณ พรสรัญ รุ่งเจริญกิจกุล

แนะนำบทความ  สาเหตุที่กู้เงินไม่ได้

โรงพิมพ์ เจอาร์

+1
0
+1
0
+1
0
+1
0
+1
0
+1
0
+1
0