ประเภทของธุุรกิจ
การบริหารจัดการ t

ประเภทของธุรกิจ

87 / 100

ประเภทของธุรกิจ

ประเภทของธุรกิจ

การประกอบธุรกิจการค้า การบริการดำเนินการได้ทั้งโดยบุคคลคนเดียวเป็นเจ้าของกิจการลำพัง หรือโดยร่วมลงทุนกับบุคคลอื่นเป็นกลุ่มคณะ ทั้งนี้รูปแบบองค์กรธุรกิจแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ธุรกิจเป็นนิติบุคคล และธุรกิจไม่เป็นนิติบุคคล

ธุรกิจเป็นนิติบุคคลยังแบ่งได้เป็น

1.ห้างหุ้นส่วน ซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แบ่งห้างหุ้นส่วนออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ห้างหุ้นส่วนสามัญ คือห้างหุ้นส่วนประเภทซึ่งมีผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกเดียว โดยผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนต้องรับผิดร่วมกันในบรรดาหนี้สินทั้งปวงของห้างหุ้นส่วน ไม่จำกัดจำนวน ห้างหุ้นส่วนสามัญจะจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลหรือไม่ก็ได้ จึงมีทั้งห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิได้จดทะเบียน ไม่มีสภาพเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย และห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน มีสภาพเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย และมีชื่อเรียกโดยเฉพาะว่าห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล

และห้างหุ้นส่วนจำกัด คือห้างหุ้นส่วนประเภทซึ่งมีผู้เป็นหุ้นส่วน 2 จำพวกคือ หุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิด ได้แก่ ผู้เป็นหุ้นส่วนคนเดียวหรือหลายคน ซึ่งรับผิดจำกัดเพียงจำนวนเงินที่ตนรับว่าจะลงทุนในห้างหุ้นส่วนเท่านั้น และหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด ได้แก่ หุ้นส่วนคนเดียวหรือหลายคน ซึ่งรับผิดในบรรดาหนี้สินทั้งปวงของห้างหุ้นส่วนโดยไม่จำกัดจำนวน

2.บริษัทจำกัด คือบริษัทประเภทซึ่งตั้งขึ้นด้วยการแบ่งทุนเป็นหุ้น แต่ละหุ้นมีมูลค่าเท่าๆ กัน ผู้ถือหุ้นต่างรับผิดจำกัดเพียงไม่เกินจำนวนเงินที่ตนยังส่งใช้ไม่ครบมูลค่าของหุ้นที่ตนถือ

3.บริษัทมหาชนจำกัด คือบริษัทประเภทซึ่งตั้งขึ้นด้วยประสงค์ที่จะเสนอขายหุ้นต่อประชาชน โดยผู้ถือหุ้นมีความรับผิดจำกัดไม่เกินจำนวนเงินค่าหุ้นที่ต้องชำระ และบริษัทดังกล่าวได้ระบุความประสงค์เช่นนั้นไว้ในหนังสือบริคณห์สนธิ และ

4.องค์กรธุรกิจจัดตั้งหรือจดทะเบียนภายใต้กฎหมายเฉพาะ

สำหรับบริษัทมหาชนจำกัด พ.ร.บ.บริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ.2535 กำหนดให้มีผู้ถือหุ้นตั้งแต่ 15 คนขึ้นไป หุ้นแต่ละหุ้นต้องมีมูลค่าเท่ากัน และต้องชำระค่าหุ้นครั้งเดียวเต็มมูลค่าหุ้น ต้องมีจำนวนกรรมการของบริษัทไม่น้อยกว่า 5 คน และกรรมการไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งต้องมีที่อยู่ในประเทศไทย

สำหรับธุรกิจไม่เป็นนิติบุคคล แบ่งได้เป็น

1.กิจการเจ้าของคนเดียว ซึ่งส่วนมากเป็นกิจการที่มีขนาดเล็ก และ

2.การจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญ เป็นความสมัครใจของบุคคลที่มาร่วมกันเพื่อทำธุรกิจ การจัดตั้งมีหลักเกณฑ์ว่าต้องเป็นสัญญาระหว่างบุคคลสองคนขึ้นไป บรรลุนิติภาวะแล้ว และไม่เป็นบุคคลที่ศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ ดังนั้น สามี ภรรยาก็อาจดำเนินธุรกิจเป็นหุ้นส่วนกันได้

ต้องเป็นการตกลงเพื่อทำกิจการร่วมกัน มีการตกลงได้เสียร่วมกัน ต้องมีสิ่งหนึ่งสิ่งใดมาลงหุ้น อันได้แก่ เงินตรา ทรัพย์สิน หรือลงด้วยแรงงานก็ได้ ต้องมีวัตถุประสงค์เพื่อนำกำไรจากกิจการนั้นมาแบ่งปันกัน หากไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อแบ่งปันกำไรก็จะไม่ใช่ห้างหุ้นส่วน และต้องไม่เป็นนิติบุคคล มีสภาพเป็นบุคคลธรรมดา หุ้นส่วนทุกคนคงเสียภาษีแบบบุคคลธรรมดา

ขอบคุณบทความดีดีจาก  : คอลัมน์ รู้ไปหมด http://www.matichon.co.th

แนะนำบทความ    หนทางสู่ความสำเร็จ

คลิกดู    โรงพิมพ์ JR

โรงพิมพ์ เจอาร์

+1
0
+1
0
+1
0
+1
0
+1
0
+1
0
+1
0