ภาวะผู้นํา
โดยทั่วไปแล้ว คนเรามักอยากจะเป็นผู้นํา เพราะทำให้รู้สึกว่าตนเองเก่ง มีอํานาจเหนือกว่าผู้อื่น และนํามาซึ่งขื่อเสียงทรัพย์สินเงินทอง แต่ในบางสถานการณ์ อาจจะอยากจะเป็นผู้ตามมากกว่า เพราะไม่อยากรับผิดชอบมาก
ไม่อยากเหนื่อย ไม่อยากมีภาระต้องดูแลคนอื่น หรืออยากมีวิถีชีวิตที่สบายๆ อิสระ เป็นตัวของตัวเอง สรุปแล้วคนเราอยากเป็นผู้นําหรือผู้ตามมากกว่ากัน ก็คงขื้นอยู่กับทัศนคติ สถานการณ์และโอกาสของแต่ละบุคคล
การเป็นผู้ตามนั้นง่าย ถ้าเรายินดีจะเป็น แต่การเป็นผู้นำนั้น ขึ้นอยู่กับการยอมรับของผู้อื่น จึงไม่ใช่เรื่องง่ายเลย โดยเฉพาะถ้าอยากเป็นผู้นําที่ดีและมีประสิทธิภาพ แต่ก็ไม่ใช่เรื่องเหลือบ่ากว่าแรง หรือต้องมีพรสวรรค์ตั้งแต่เกิดหากแต่เป็นสิงที่สามารถศึกษาและฝึกฝนได้ กล่าวคือ เป็นทั้งศาสตร์และศิลป
มีผู้ให้คําจํากัดความของการเป็นผู้นําไว้ว่า คือการทํางานให้สําเร็จโดยผู้อื่น (Getting thing done by others) ซึ่งก็คือ การทําให้ผู้อื่นสามารถทํางานให้สําเร็จได้ ภายใต้การนําของเรา ฉะนั้น บทบาทของ ผู้นําไม่ใช่เพียงการใช้อํานาจสั่งการ แต่ต้องรับผิดชอบต่อผลสําเร็จของงานด้วย จึงมีความเสี่ยงในแง่ที่ผู้ใต้บังคับบัญชา อาจจะไม่สามารถฑทำงานให้ได้ตามมาตรฐานที่กําหนด หรือมีข้อผิดพลาดหรือไม่ทันต่อเวลา ผู้ที่สามารถควบคุมจัดการให้ผู้อื่นทํางานให้ได้ผลงานและคุณภาพตามที่ตนต้องการทุกประการ คือผู้นําที่ดีและมีประสิทธิภาพ ซึ่งต้องใช้ทั้งความรู้ ความสามารถ มนุษยสัมพันธ์ และจิตวิทยาประกอบกัน รวมทั้งคุณสมบัติเฉพาะตัวด้วย จึงมีหลักสูตรการฝึกอบรมเกี่ยวกับการเป็นผู้นํามากมาย
เมื่อกล่าวถึงการฝึกภาวะผู้นํา หลักสูตรต่างๆ มักจะมุ่งเน้นไปในด้านจิตวิทยา โดยเฉพาะด้านการบริหารคน รวมทั้งการปรับปรุง และพัฒนาตนเอง แต่มีหลักการหนึ่งทีผู้เขียนได้รับการฝึกอบรมมาที่มีแนวความคิดประยุกต์เหมาะสมกับการนำไปใช้ในการทํางานในชีวิตประจําวัน ซึ่งเป็นผลงานการวิจัยของศูนย์การศึกษาความเป็นผู้นําของประเทศสหรัฐอเมริกา จึงใคร่ขอนํามาเล่าสู่กันฟังถึงหลักการที่เป็นสาระสําคัญ
หัวใจของแนวความคิดดังกล่าวคือ ผู้นําควรจะปรับเปลี่ยน หรือเลือกลักษณะการเป็นผู้นําที่เหมาะสมกับแต่ละสถานการณ์ ไม่ใช่จะยึดถือแบบใดแบบหนึ่งตลอดเวลา เพราะการที่เป็นผู้นําที่ดีได้หรือไม่นั้น ขี้นอยู่กับว่า เราสามารถจัดการสถานการณ์ต่างๆ หรืองานต่างๆ ได้ดีเพียงไร ซึ่งเกี่ยวข้องกับผู้คนที่ร่วมงาน และปัจจัยอื่นอีกมากมาย เราจึงไม่สามารถเอาตนเองเป็นที่ตั้งได้ หากแต่ต้องปรับเปลี่ยนตัวเองให้เข้ากับสถานการณ์ที่เผชิญอยู่ สถานการณ์แบบไหน ควรจะเลือกใช้ภาวะผู้นําแบบไหน คือเรื่องที่เรากําลังจะคุยกัน
สิ่งที่ท้าทายผู้บริหารหรือคนที่เป็นผู้นําก็คือ ทําอย่างไรให้ผู้อื่นทํางานให้สําเร็จอย่างเต็มใจและมีความสุข กล่าวคือ ได้ทั้งงาน (Task) และความสัมพันธ์ (Relation Ship ) ผู้นําที่เน้นเอาแต่ผลสําเร็จของงาน โดยไม่สนใจว่า คนทํางานมีทุกข์สุขอย่างไร จะไม่มีโครชอบ และอาจนํามาซึ่งความเสียหาย หรือด้อยประสิทธิภาพของงาน เพราะมนุษย์มีชีวิตจิตใจ จะใช้วิธีบังคับขู่เข็ญอย่างเดียวไม่ได้ เขาต้องมีความจูงใจ (Motivation) ที่อยากจะทํางานด้วยตนเองด้วย ส่วนผู้นําที่เน้นแต่ด้านมนุษยสัมพันธ์มากเกินไป ก็อาจจะไม่สามารถควบคุมงานให้สําเร็จได้ตามคุณภาพและระยะเวลาที่กําหนดไว้ เพราะมนุษย์นั้น ถ้าหย่อนวินัยหรือปล่อยให้สบายเกินไป ประสิทธิภาพก็มักจะหย่อนตามไปด้วย ฉะนั้น ภาวะการเป็นผู้นำจึงเป็นส่วนประกอบของพฤติกรรมด้านงาน (Task Behavior) และพฤติกรรมค้านคน หรือความสัมพันธ์ (Relationship Behavior)
ในด้านงานนั้น จะเกี่ยวข้องกับการนําผู้อื่น การบอก หรือแสดงให้เห็นว่าต้องทําอะไร และทําอย่างไรในงานหนึ่งๆ ส่วนด้านความสัมพันธ์นั้น จะเกี่ยวข้องกับการสนับสนุนผู้อื่น มีการสื่อสารแบบ 2 ทาง กล่าวคือ รับฟังความคิดเห็นซึ่งกันและกัน รวมถึงการให้กําลังใจ ชมเชย ให้คําปรึกษาแนะนํา
การประยุกต์ใช้พฤติกรรมด้านงาน และพฤติกรรมค้านความสัมพันธ์ในระดับต่างๆ ก็คือภาวะผู้นําแบบต่างๆ นั้นเอง ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 แบบ
แบบที่ 1 แบบสั่งการ Directing
ซึ่งให้ความสําคัญกับงานสูง แต่ความสัมพันธ์ต่ำ (High Task Low Relationship, HT/LR) โดยผู้นำจะเป็นผู้กําหนดแนวทาง หรือวิธีการทํางานอย่างเฉพาะเจาะจง มีการออกคําสั่ง กฎเกณฑ์ อย่างชัดเจน รวมทั้งติดตามควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิดเมื่อจําเป็น
แบบที่ 2 แบบชี้แนะ สอนงาน Guiding and Coaching
ผู้นําแบบนี้ให้ความสําคัญกับงานสูง และความสัมพันธ์ก็สูงด้วย (High Task High Relationship, HT/HR) โดยผู้นําจะให้แนวทางการทํางาน ตลอดจนกํากับดูแลพอสมควร ขณะเดียวกัน ก็ให้เวลาในการตอบคําถาม และอธิบายวิธีการตัดสินใจให้กับคนทํางานด้วย
แบบที่ 3 แบบสนับสนุนให้ผู้อื่นมีส่วนรวม Supporting, Participating
ผู้นําแบบนี้ให้ความสําคัญกับงานต่ำ แต่ความสัมพันธ์สูง (Low Task High Relationship, LT/HR) โดยผู้นําจะยินยอมให้ผู้ร่วมงาน มีส่วนร่วมในการกําหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายในการทํางาน ขณะเดียวกันก็คอยให้กําลังใจในการตัดสินใจเรื่องต่างๆ รวมทั้งให้ความสนับสนุนส่วนตัวเมื่อจําเป็น
แบบที่ 4 แบบกระจายอำนาจ Delegating
ผู้นำแบบนี้จะให้ความสําคัญกับงานต่ำ และความสัมพันธ์ก็ต่ำด้วย (Low Task Low Relationship, LT/LR) โดยปล่อยให้ผู้ใต้บังคับบัญชาหรือผู้ร่วมงานมีอิสระในการทํางานของตนอย่างเต็มที่ ส่งเสริมให้พวกเขามีความรับผิดชอบสูงสุดเท่าที่พวกเขาจะรับได้ และผู้นํายินดียอมรับความเสียงในการให้ผู้อื่นตัดสินใจแทนตน
ท่านผู้อ่านคงจะเห็นแล้วว่า ภาวะผู้นําแต่ละแบบมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไป ตัวอย่างเช่น ถ้าเราใช้แบบที่ 4 กับคนที่ไม่มีความสามารถ หรือไม่รับผิดชอบ ความเสียหายย่อมเกิดขึ้นแน่นอน ในทางตรงกันข้าม ถ้าเราใช้แบบที่1 กับคนที่มีความรู้ความสามารถ และมีความรับผิดชอบสูง เขาก็จะรู้สึกว่าไม่ได้รับการให้เกียรติ หรือไม่ได้รับความไว้วางใจ ก็อาจจะน้อยใจได้ ฉะนั้น การเลือกใช้ภาวะผู้นําให้เหมาะสม จึงเป็นเรื่องสําคัญมากในการพิจารณาว่าสถานการณ์ไหนควรจะใช้ภาวะผู้นําแบบใดนั้นต้องพิจารณาความพร้อมของผู้ร่วมงานหรือผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา แต่จะต้องเป็นความพร้อมที่เกียวข้องเฉพาะงานนั้น ๆ (Task Specific Readiness) ไม่ใช่ความพร้อมทั่ว ๆ ไป เช่น คนที่เป็นวิศวกร ย่อมไม่มีความพร้อมและไม่ยินดีที่จะทํางานด้านบัญชี ในขณะที่เขาจะมีความพร้อมและกระต่อรือร้นสูงมาก ถ้าเป็นงานที่เกี่ยวกับวิศวกรรม เป็นต้น
ความพร้อมดังกล่าวนี้ จึงเป็นลักษณะที่เกี่ยวข้องกับลักษณะ 2 ด้านคือ ความสามารถ (Ability) และความจูงใจ (Motivation) ของผู้ที่ทํางาน
ในด้านความสามารถจะพิจารณาถึง ความชํานาญ (Skill) และความเข้าใจ (Understanding) ในงานนั้น ๆ
ความชํานาญเป็นสิ่งสําคัญที่ทําให้บุคคลทํางานแล้วประสบความสําเร็จ ซึ่งอาจจะได้มาจากประสบการณ์ในอดีต หรือจากการฝึกอบรมโดยเฉพาะ ส่วนความเข้าใจนั้น จะเกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ว่า ทําอะไร (What to do) และทํา
อย่างไร (How to do) ด้วยการตระหนักถึงและยอมรับลําดับความเร่งด่วนของงานด้วย ซึ่งอาจจะพิจารณาได้จากความสําเร็จในการทํางานของบุคคลนั้นๆ ในอดีตจากงานที่คล้ายคลึงกัน
ในด้านความจงใจ จะพิจารณาถึง ความปรารถนาที่จะประสบความสําเร็จ(Desire to achieve) กับความเชื่อมั่น (Confidence) ของผู้ทํางานที่มีต่องานที่จะทํา เพราะหากไม่มีผลประโยชน์จูงใจ คนทํางานก็อาจจะไม่อยากทํางานนั้นๆ ขณะเดียวกัน ถ้าตัวเขาไม่มีความเชื่อมั่นว่า เขาจะทําได้ เขาก็จะไม่มีแรงจูงใจที่จะต่อสู้กับปัญหาและอุปสรรคที่อาจจะเกิดขึ้น
จากลักษณะต่างๆ ดังกล่าว ความพร้อมจึงสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ระดับ
ระดับที่ 1 ความสามารถต่ำ และความจูงใจต่ำ
ระดับที่ 2 ความสามารถต่ำ และความจงใจสูง (มีความปรารถนา)
ระดับที่ 3 ความสามารถสูง และความจูงใจตํา (มีความเชือมัน)
ระดับที 4 ความสามารถสูง และความจูงใจสูง
การทํางานร่วมกับผู้ที่มีความพร้อมในระดับต่าง ๆ กัน จึงใช้ภาวะผู้นําแบบเดียวกันไม่ได้ แต่จะต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมกับความพร้อมแต่ละระดับ
จากสถานการณ์ภาวะผู้น่า 4 แบบ และระดับความพร้อม 4 ระดับ เราก็สามารถนํามาประยุกต์จับคู่เลือกใช้ภาวะผู้นําตามสถานการณ์ได้ดังนี้
– ภาวะผู้นําแบบที่ 1 ( HT / LR) เหมาะกับความพร้อมระดับ R1
– ภาวะผู้นําแบบที่ 2 ( HT / HR) เหมาะกับความพร้อมระดับ R2
– ภาวะผู้นําแบบที่ 3 ( LT / HR) เหมาะกับความพร้อมระดับ R3
– ภาวะผู้นําแบบที่ 4 ( LT / LR) เหมาะกับความพร้อมระดับ R4
คู่ที่ 1 แบบ Directing กับ R1
ถ้าผู้ร่วมงานมีความพร้อมตําทั้งด้านความสามารถและความจูงไจ ผู้นำต้องให้ความสําคัญด้านงานสูงกว่าความสัมพันธ์ ต้องสั่งการและดูแลกํากับใกล้ชิด มิฉะนั้นงานจะไม่สําเร็จ
คู่ที่ 2 แบบ Coaching กับ R2
ถ้าผู้ร่วมงานมีความสามารถต่ำ แต่มีความจูงใจสูง ผู้นําควรจะให้ความสําคัญทั้งทางด้านงานและความสัมพันธ์เท่าๆ กัน กล่าวคือ ให้ทั้งความรู้ในการทํางานและกําลังใจ
คู่ที่ 3 แบบ Supporting กับ R3
ถ้าผู้ร่วมงานมีความสามารถสูง แต่ไม่มีความจูงใจที่จะทํางาน ผู้นำควรให้ความสําคัญด้านความสัมพันธ์มากกว่าด้านงาน เพื่อสร้างความจูงใจเนื่องจากเขามีความสามารถที่จะทํางานได้อยู่แล้ว
คู่ที่ 4 แบบ Delegating กับ R4
ถ้าผู้ร่วมงานมีความพร้อมสูง ทั้งทางด้านความสามารถและความจูงใจผู้นําก็สามารถปล่อยวางได้ทั้งด้านงานและความสัมพันธ์ โดยกระจายงานและความรับผิดชอบให้ได้อย่างเต็มที่
จะเห็นได้ว่า การที่ผู้นําจะพิจารณาว่าตนควรจะใช้ภาวะผู้นําแบบไหน เขาจะต้องศึกษาก่อนว่า คนทํางานในงานนั้น ๆ มีความพร้อมระดับไหนก่อน ถ้าเขาประเมินความพร้อมของผู้ร่วมงานได้ถูกต้อง และเขามีความสามารถที่จะใช้ภาวะผู้นําแต่ละแบบได้อย่างชํานาญตามสถานการณ์ เขาย่อมเป็นผู้นําที่ดีและมีประสิทธิภาพสูงในทุกสถานการณ์
แนะนำบทความ ไม่สามารถเป็นผู้นำ