หลักเกณฑ์การตัดสินค้าชำรุด หรือเสื่อมคุณภาพ ออกจากบัญชีทำอย่างไร
ขั้นตอนปฏิบัติการทำลายและการตัดสินค้าชำรุด เสื่อมคุณภาพ หรือล้าสมัย เพื่อตัดออกจากบัญชีสินค้าคงเหลือนั้น กรมสรรพากรได้วางหลักเกณฑ์การปฏิบัติไว้ดังนี้
ผู้ประกอบการที่ประสงค์จะทำลายสินค้า และตัดสินค้าเหล่านั้นออกจากบัญชี จะทำได้ก็ต่อเมื่อได้ทำลายสินค้าไปแล้ว ทั้งนี้ ต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามวิธีปฏิบัติทางการค้าซึ่งเป็นที่ยอมรับกันทั่วไป อย่างไรก็ตามให้ผู้ประกอบการแจ้งการทำลายสินค้าคงเหลือให้กรมสรรพากรทราบล่วงหน้า 30 วันก่อนวันที่จะทำลายสินค้า ทังนี้ กรมสรรพากรอาจจะส่งเจ้าหน้าที่ไปดูการทำลายด้วยก็ได้ ซึ่งขึ้นอยู่กับความเหมาะสม อีกทั้งผู้ประกอบการต้องเชิญผู้สอบบัญชีของตนมาดูเพื่อเป็นพยานในการทำลาย พร้อมทั้งให้ผู้สอบบัญชีรับรองเป็นลายลักษณ์อักษรแนบงบดุลไว้ด้วย
เมื่อได้มีการทำลายสินค้า โดยปฏิบัติให้เป็นไปตามวิธีปฏิบัติทางการค้าอันเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป และตามหลักเกณฑ์ที่กรมสรรพากรกำหนดแล้ว ไม่ถือว่าเป็นการจำหน่ายโอนสินค้า จึงไม่ถือว่าเป็นการขายสินค้าตามมาตรา 71/1(8) แห่งประมวลรัษฎากร จึงไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจากมูลค่าสินค้าที่ได้ทำลาย และตัดออกจากบัญชีสินค้าคงเหลือ
เป็นอย่างไรกันบ้างคะ หลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับการทำลายสินค้าชำรุด เสื่อมสภาพ ล้าสมัยเพื่อตัดออกจากบัญชี คงง่าย ไม่ซับซ้อนสำหรับผู้ประกอบการอีกแล้วนะคะ
ขอบคุณข้อมูลดีดีจาก : กรมสรรพากร
คลิกดู
สต็อคสินค้าที่มีผลกระทบภาษี
ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีสินค้าของบริษัทฯสูญหาย
สินค้าส่วนที่ขาดจำนวนจากบัญชีคุมสินค้า ถือเป็นการขายสินค้าหรือไม่
จะทำลายสินค้าอย่างไร จึงจะเป็นที่ยอมรับของสรรพากร
คลิกดู โรงพิมพ์ JR