ตะกรุด
ตะกรุดมีสรรพคุณป้องกันภูตผีปีศาจ แคล้วคลาด คงกระพัน และมหานิยม
หากมีนักรบสามหมื่นนายในสนามรบไหน ก็มีตะกรุดสามหมื่นชินในสนามรบนั้น กล่าวแบบนี้ก็คงจะไม่เกินไป เพราะตะกรุดเป็นของขลังเก่าแก่ที่มีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา
นักรบโบราณหรือนายทหารสมัยนั้นต้องออกศึกไปพร้อมๆกับที่พึ่งทางใจ เครื่องรางของชลังส่วนใหญ่จึงเน้นด้านคงกระพันชาตรีโดยเฉพาะ เพื่อให้เกิดความฮึกเหิมเชื่อมันว่า นักรบชาติอื่นตีรันฟันแทงนักรบของเราไม่เข้า (แต่ตายไปเลย! ทหารนายนั้นอาจชะตาถึงฆาตพอดี!)
ในสมัยนั้นตะกรุดไม่ได้มีความสวยงามอย่างของปัจจุบันนี้ อาจถักด้วยเชือก หญ้าใบลานหรือด้ายมงคลเป็นลวดลาย นําไปชุบรัก หากสร้างจากโลหะชนิดต่างๆ เวลาม้วนใช้เชือกวางแล้วพับโลหะเข้าหากัน ทุบปิดหัวท้ายไม่ให้เชือกหลุดแล้วจึงจารอักขระยันต์ แม้จะดูบุบๆ บี้ๆ แต่แฝงไว้ด้วยความเข้มขลัง กลายโบราณวัตถุชิ้นสําคัญที่ถูกค้นพบในท้องนา บ้างก็บังเอิญงมได้ที่แม่นํา หรือฝังตัวอยู่ใต้ดินตามโบราณสถานต่างๆ ที่สันนิษฐานว่าเคยเป็นบริเวณสนามรบในสมัยอยุธยา
สมัยอยุธยามีตํานานเล่าถึงสมเด็จพระนเรศวรมหาราชที่ทรงมีเครื่องรางประจําประองค์เป็นตะกรุดสําหรับประทับสวมพระวรกาย จึงเป็นกําลังเสริมเพิ่มพูนบารมีให้พระองค์สามารถชนะศึกยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชมังสามเกียดแห่งกรุงหงสาวดีได้ ไพร่พลนักรบต่างก็พากันฮึกเหิมเมื่อเห็นเจ้านายตนเป็นฝ่ายชนะก็ยิ่งพุ่งรบกันเสียจนกองทัพพม่าพ่ายแพ้แตกกระเจิง ซึ่งเครื่องรางชื้นนั้นก็คือ ตะกรุดมหาระงับ หรือตะกรุดมหาปราบหงสา จึงกลายเป็นประเพณีการพกไปออกศึกโดยปริยาย
ยันต์มหาระงับนี้ตกทอดมาตั้งแต่สมัยอยุธยา ซึ่งพระอาจารย์ของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชได้ลงจารในแผ่นทองคําแล้วผูกเป็นตะกรุดถวาย มีพุทธคุณในการสะกดใจคน ให้เชื่อฟังคําสั่งและชัดเจนทางคงกระพัน ตะกรุดมหาระงับนี้ผู้ครอบครองจึงมักเป็นเจ้านายชั้นผู้ใหญ่ มีไว้เพื่อปกครองลูกน้อง บริวารไพร่พล และสามารถคุ้มครองป้องกัน ผู้ครอบครองได้ด้วย ซึ่งต้องอาศัยความเชี่ยวชาญของผู้จาร
การปลุกเสกนั้นนําใบไม้มงคล 7 ชนิดมาพอกที่ตัวตะกรุดซึ่ง 1 ใน 7 ชนิดนั้นมีชื่อว่า ใบระงับ การปลุกเสก คือ การสะกด ระงับ ให้บริเวณนั้นเงียบสงบไม่มีเสียงสรรพสัตว์ให้ได้ยินเลยทีเดียว จึงเป็นที่มาของชื่อ ตะกรุดมหาระงับ
ตะกรุดเป็นเครื่องรางของขลังที่มีระยะเวลาคู่ขนานมากับการสักยันต์ มีผู้ใช้โดยเฉพาะคือ บรรดานักรบ และนักเลง พุทธานุภาพชัดเจนในด้านแคล้วคลาด คงกระพันชาตรี ป้องกันภยันตราย กันเขี่ยวงาและงู บางชนิดมีนัยในด้านมหาเสน่ห์เมตตามหานิยม กลับดวง พลิกชะตา เข้าหาผู้ใหญ่ก็ได้รับความเมตตาอุปถัมภ์ค้ำชู
ตามลักษณะทั่วไปก็คือ ผ้ายันต์โลหะที่สร้างจากทองคําเงิน นาก ตะกั่ว หรือโลหะธาตุผสมอื่นๆ มาเคี่ยวหลอมละลาย แล้วเทลงบนพิมพ์ เมื่อเย็นลงแล้วจะได้เป็นแผ่นโลหะแบนๆ นําไปตีให้แบนบางแล้วตัดให้เป็นสี่เหลี่ยมตามขนาดที่ต้องการ โดยทําพิธีปลุกเสกในถ้ำ แล้วจารอักขระบทสรรเสริญพุทธคุณ คลุกผงวิเศษต่างๆ ม้วนกลึงเป็นแท่งกลมลงรักถักเชือกเป็นลวดลาย โดยเว้นช่องว่างตรงแกนกลางสําหรับร้อยเชือกติดตัว
โลหะแต่ละชนิดมีนัยและความเชื่อที่แตกต่างกันออกไป เช่น แผ่นทอง หรือแผ่นเงิน ต้องการให้เกิดผลทางด้านเมตตา ถ้าต้องการให้เกิดผลทางคงกระพัน จะใช้แผ่นทองแดง และแผ่นตะกั่วเกิดผลทางด้านแคล้วคลาด ในทํานองนี้ ซึ่งแต่ละสํานักอาจมีกรรมวิธีที่ซับซ้อนและระยะเวลาการปลุกเสกแตกต่างกัน
ตะกรุดที่สร้างจากหนัง อวัยวะ และส่วนประกอบของสัตว์ต่างๆ เช่น หนังและหน้าผากเสือโคร่ง เดือยและหนังงูเหลือม หนังเก้ง กระดูกช้าง เขาวัว ตะกรุดชนิดนี้มีข้อแม้ว่า จะต้องเป็นสัตว์ที่ตายเองตามธรรมชาติ หรือเรียกว่า ตายพรายเท่านั้น และห้ามเอากลับมาทําพิธีทั้งตัว (บวงสรวงขอไว้แค่ไหนก็นํากลับมาได้แค่นั้น) ส่วนเนื้อหรือชิ้นส่วนอื่นๆก็ให้ฝังไว้
อีกชนิดหนึ่งคือ สร้างจากหนังกลองเพลที่มีอายุนับร้อยปี กล่าวกันว่าหากใช้มีดคม ๆ กรีดหนังหน้ากลองเพลไม่ขาด ต้องเป่าพระคาถาอิติปิโสกํากับถึงจะสามารถกรีดออกมาเป็นแผ่นๆ เพื่อทำตะกรุดได้ เป็นนัยว่าผู้ที่บูชาจะมีหนังอันเหนียวเหมือนกลอง แต่ไม่เป็นที่นิยมสร้าง อาจเป็นเพราะหนังกลองแผ่นหนึ่งสร้างได้เพียงแค่ไม่กี่ดอก
นอกจากนี้ยังมีตะกรุดที่สร้างจากวัสดุอื่น ๆ อีก เช่น ตะกรุดชนิดที่สร้างจากไม้ จําพวกไม้ไผ่ ไม้รวก คือ การนําแผ่นโลหะจารอักขระเลขยันต์สอดไว้ในปล้องไม้ และอุดด้วยชันโรง ผงพระ หรือผงวิเศษปิดหัวท้ายแล้วถักเชือกหุ้มหัวจรดปลาย ตะกรุดจากใบลาน มักใช้ใบลานป่านําไปต้มและกัดสีให้ขาว และลงอักขระไว้ภายใน ตลอดแผ่นใบลานม้วนตะกรุดชนิดไม้นี้จะช่วยป้องกันในเรื่องอัคคีภัย ช่วยให้แคล้วคลาด และชนิดที่สร้างจากเถาวัลย์ กล่าวกันว่าเถาวัลย์เป็นไม้ลึกลับ โดยเฉพาะเถาวัลย์ที่เกิดในป่ามีอาถรรพณ์สามารถหลอกล่อให้ผู้คนเดินพลัดหลง หรือเกี่ยวแขนขาคนได้ นํามาปลุกเสก และตัดเป็นท่อนๆ ถักเชือกลงทองอุดด้วยสีผึ่ง หรือชันโรง ให้ผลทางเสน่ห์เมตตา
การพกพาตะกรุดนั้นมีหลากหลายวิธี ตะกรุดดอกใหญ่สําหรับห้อยคอ หรือใช้คาดเอว โดยทั่วไปตะกรุดจะมีความยาวประมาณ2-5 นิ้ว บ้างก็เลี่ยมกรอบ ชุบน้ำมัน ถักเชือกลงรักเป็นลวดลายอีกทั้งยังมี มีหลายแบบหลายลักษณะ หากเป็นดอกเดียวเรียกว่า ตะกรุดโทน หากเป็นสองดอกเรียกว่า ตะกรุดแฝด
ตะกรุดโลหะ 3 ชนิด อันได้แก่ เงิน ทอง นาค เรียกว่า สามกษัตริย์ หากมี 16 ดอก เรียกว่าตะกรุดโสฬส ตะกรุด 16 ดอกมีความหมายว่า ความเป็นมงคล 16 ประการ จารเป็นตัวเลข 16 ตัว โดยนําเอาคําสั่งสอนขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้ามาย่อไว้เป็นคาถา 16 คํา เรียกว่า ยันต์โสฬสมงคล กล่าวกันว่า ผู้มีตะกรุดโสฬสมงคล ดอกนี้ไว้ ต้องเป็นผู้มีศีลธรรมเข้าถึงพระรัตนตรัย ประกอบแต่กรรมดี จึงจะสามารถใช้ตะกรุดดอกนี้ได้ดังใจปรารถนา โลหะที่ใช้มักเป็นเงิน ตะกั่ว และทองแดงมีความยาวตั้งแต่ 2.5 – 4.5 นิ้ว 6-10 รอบม้วน ถักด้วยเชือกสายสิญจน์ คลุกคลึงผงยันต์ จุ่มรักปิดทอง บ้างก็สร้างเป็นตะกรุดเนื้อเปล่า ๆ เป็นมันเงา กล่าวกันว่าใช้เวลาปลุกเสกเป็นระยะเวลาหลายๆ เดือนจึงจะสําเร็จ
นอกจากนี้ยังมีตะกรุดขนาดเล็กที่ใช้ฝังในตลับสีผึ่ง เพื่อที่ผู้บูชาได้รับอิทธิคุณทั้งสีผึ่งกับตะกรุดไปพร้อมกัน และขนาดดอกจิวที่สามารถตอกฝังเข้าไปบริเวณท้องแขนหัวไหล่ และหน้าอกได้
อย่างไรก็ตาม ตะกรุดก็ยังคงเป็นเครื่องรางที่มีรูปแบบและลักษณะหลากหลายมากที่สุด และทุกแบบจะมีอิทธิคุณสรรพคุณคงกระพันชาตรี แคล้วคลาดและหนังเหนียวเช่นเดียวกันทุกชนิด
ยังมีอีก 2 ชนิด ซึ่งลักษณะแปลกตา อันได้แก่
ชนิดแรก สร้างจาก ปลอกกระสุนปืนขนาดต่างๆ มาประกบติดกัน โดยบรรจุแผ่นตะกรุดไว้ภายใน มีความยาวประมาณ 2-2 .5 นิ้ว เป็นตะกรุดสารพัดกัน ใช้คาดเอวโดยมีตะกรุดร้อยอยู่ในปลอกลูกปืนประมาณ 8-10 ดอก
อีกชนิดหนึ่ง เรียกว่า ตะกรุดลูกอม เป็นชนิดสัน มีลักษณะเป็นแผ่นโลหะม้วน ตรงกลางร้อยด้วยเชือกหรือโลหะม้วนถักด้วยเชือกหุ้มทั้งดอก จนมีลักษณะกลมกลึงถักหูไว้ร้อยคล้ายจี้ห้อยคอ ตะกรุดลูกอมกําเนิดขึ้นมาตั้งแต่ครั้งโบราณกาล โดยหลังจากที่สร้างวัตถุมงคลต่างๆ แล้วโลหะวัสดุยังคงเหลืออยู่ เกจิพระอาจารย์ก็เกิดความเสียดายจึงนําเศษโลหะวัสดุจําพวกทองคํา เงิน ทองแดง และตะกั่ว หรือขึ้นอยู่กับเกจิพระอาจารย์ผู้สร้างกําหนด ซึ่งขนาดจะไม่ค่อยแน่นอน มาลงอักขระยันต์แล้วม้วนกลมเป็นตะกรุด ปลุกเสกให้มีความศักดิสิทธิ เข้มขลังเท่าเทียมกับขนาดปกติ ร้อยด้วยเชือกหรือไหมเจ็ดสีเข้าที่แกนกลาง ใช้พกพาห้อยคอ คาดเอว หรืออมไว้ในปาก
หัวใจอีกข้อหนึ่งของเครื่องรางชนิดนี้คือ วิชาจารตะกรุด ผู้ที่จะสามารถจารตะกรุดหรือปลุกเสกเองได้นั้น จะต้องเรียนวิชานี้ให้สําเร็จ อีกทั้งเป็นเพราะการปลุกเสกตะกรุดเป็นมรดกตกทอดกันมา แต่ทางพระอาจารย์ผู้มีอิทธิฤทธิ์ในสมัยโบราณ เกิดจากพระสงฆ์ทั้งสิ้น ผู้ที่จะได้รับการศึกษาและสืบทอดวิชานี้ จึงมักเป็นลูกศิษย์ลูกหาก้นกุฏิของหลวงปู่ หลวงพ่อกันเป็นส่วนใหญ่
อันว่าวิชาเสกตะกรุดใต้นั้น คือ การกลั้นหายใจเป็นเวลานับชั่วโมง โดยที่ยังมีชีวิตอยู่ได้เหมือนปลาในน้ำ จะต้องเข้าฌาน 4 (จตุตถณาน) คือ ไม่ปรากฏลมหายใจ หรือลมหายใจละเอียดจนไม่ปรากฏว่ามี เพราะกายกับจิตแยกกันอย่างเด็ดขาด ผู้ที่ฝึกกรรมฐานนี่ด้วยความชํานาญจะสามารถจารตะกรุดใต้นําและม้วนให้เสร็จภายในอึดใจเดียว
เกจิอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญบางท่านสามารถระเบิดน้ำลงไปนั่งบริกรรมใต้ผิวน้ำ และตะกรุดที่จารอักขระยันต์เสร็จเรียบร้อยแล้วนั้น ลอยขึ้นมาได้เอง โดยที่สบงจีวรยังคงแห้งสนิททั้งๆ ที่เพิ่งขี้นมาจากแม่น้ำ เป็นที่น่าอัศจรรย์
ความเชื่อหนึ่งว่า หากคลี่แผ่นตะกรุดออกมาจะให้อํานาจพุทธคุณนั้นเสื่อม เป็นเหตุให้ไม่มีใครกล้าที่จะคลี่ยันต์ออกมาดู ทําให้มีผู้ฉวยโอกาสทําปลอมม้วนแผ่นโลหะเปล่าๆ เป็นตะกรุดมาหลอกให้เช่าบูชา บางสํานักที่ตระหนักถึงข้อเสียนีจึงม้วนเอายันต์ออกไว้ด้านนอกแทน บ้างก็จารอักขระยันต์ไว้ทั้งด้านใน และด้านนอก จึงเป็นข้อหักล้างกันไป ว่าไม่ว่าเลขยันต์จะอยู่ด้านไหน อํานาจพุทธคุณ จะไม่เสื่อมแน่นอน
ทั้งหมดคือเรื่องราวของเครื่องรางอันวิเศษ ที่เกิดขี้นจากคติความเชื่อของคนไทย ซึ่งยังคงผูกพันอยู่กับเครื่องหมายแห่งความเป็นอมตะ และอิทธิฤทธิ์การป้องกันภยันตรายมาเป็นเวลายาวนาน
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ทุกความเชื่อและพลังทุกอย่างก็ขี้นอยู่ที่ใจ หากใจกล้า กายก็กล้า ปาฏิหาริย์ก็ย่อมเกิด และทุกปาฏิหาริย์นันมักเกิดขี้นจากจิตใจและการกระทําที่ดีงามเสมอ
คาถาคาดตะกรุด
นะโม 3 จบ
พุทธัง อาราธนานัง ธัมมัง อาราธนานัง สังฆัง อาราธนานัง
อุกาสะอาราธนานัง กะโรมิ
(บริกรรมก่อนคาด)
นะมะนะอะ นอกอนะกะ กอ ออ นอ อะ นะอะกะยัง
. อมิอะมิ มะทหิสุตัง สุนะพุทธัง อะสุนะอะ ฯ
(ภาวนาตอนจะคาด)
สัตถาเทวะมนุสสานังฯ
(บริกรรมขณะคาด)
อิมัง กายะพนธนัง อธิษฐามิฯ
(บริกรรมเมื่อแก้ปมออก)
พุทโธ ภควาติ ฯ
ขอบคุณบทความดีดีจาก หนังสือเครื่องรางของขลัง สำนักพิมพ์ ไพลิน
แนะนำบทความ กุมารทอง 2 ประเภท