เทคนิคการสัมภาษณ์งาน
โดยปกติแล้วในการสัมภาษณ์บุคคลเข้าทำงาน ถ้าผู้สัมภาษณ์มีการเตรียมตัวดีหรือมีประสบการณ์มามากพอสมควร ลักษณะการตั้งคำถามของเขาจะตั้งเป็นชุด ๆ ไปเลยทีเดียว และส่วนใหญ่จะตั้งคำถามตามแบบพิมพ์ของใบสมัคร โดยมีการตั้งคำถามเริ่มต้นจากนั้นก็จะตั้งคำถามเพื่อตรวจสอบคำตอบจากคำตอบที่คุณตอบไป ซึ่งเป็นการถามแบบขยายขอบเขตของเรื่องนั้นไปเรื่อย ๆ โดยที่ผู้ถูกสัมภาษณ์อาจจะไม่รู้ตัว ซึ่งคำถามเหล่านี้หากผู้รับการสัมภาษณ์เตรียมตัวไว้ไม่ดี หรือมิได้ให้ข้อความตามความเป็นจริงหรือเป็นคนที่ขาดจุดยืน มักจุตกม้าตายโดยไม่รู้ตัว
ลักษณะของข้อผิดพลาดก็คือ ผู้รับการสัมภาษณ์ให้คำตอบในเรื่องเดียวกัน 2 ครั้ง ไม่เหมือนกัน อันอาจจะเกิดจากการจำเรื่องที่เคยพูดไว้แล้วไม่ได้ เพราะไม่ได้พูดความจริง หรอืพูดเกินเลยความจริง ประเภทขี้โม้หรือมีลักษณะที่ขาดความมั่นใจในตัวเอง พอถูกสัมภาษณ์คัดค้านหรือแสดงความขัดแย้ง ผู้รับสัมภาษณ์ก็คล้อยตามทันที ทั้ง ๆ ที่ผู้สัมภาษณ์เองก็มิได้ตั้งในคัดค้านอะไร แน่วแน่แค่ไหน หรือรู้อะไรจริงบ้าง พอผู้รับการสัมภาษณ์เริ่มไขว้เขว นั่นคือสิ่งที่แสดงให้เห็นว่าผู้รับการสัมภาษณ์ขาดความมั่นใจในตัวเอง
จุดอ่อนต่าง ๆ เหล่านี้ ผู้รับการสัมภาษณ์สามารถจะแก้ไขได้โดยการเตรียมตัวตั้งคำถามตนเอง ตอบตนเอง โดยคำตอบนั้นจะต้องอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง ซึ่งคุณไม่ต้องไปกังวลว่า คำตอบของคุณ 2 ครั้งไม่เหมือนกัน ถ้าคุณตอบคำถามตามความเป็นจริง ไม่ว่าผู้สัมภาษณ์จะมารบกวนคุณอย่างไร หรือกี่คนที่สัมภาษณ์คุณก็จะได้คำตอบแบบเดียวกัน
ลองตั้งคำถามในการสัมภาษณ์คัดเลือกบุคคลเข้าทำงานโดยจะแยกคำถามเป็นชุด ๆ ไปตามลำดับในใบสมัครโดยทั่วไปให้คุณทดสอบตอบตัวเองหรือจะให้เพื่อนช่วยถามและคุณตอบ แล้วให้เพื่อวิจารณ์ว่าฟังคำตอบคุณแล้วเขารู้สึกอย่างไร เข้าท่าแค่ไหน หรือฟังแล้วเหมือนเล่านิทานจับต้นชนปลายไม่ถูดแม้ได้พูดความจริงแล้วก็ตาม
คำถามที่ใช้ในการสัมภาษณ์เป้นคำถามที่ทั่วไป ซึ่งพอจะแย่งออกเป็นหัวข้อได้ดังนี้
1. ชีวประวัติเบื้องต้น
2. การศึกษา
3. ประสบการณ์ในการทำงาน
4. ความสามารถส่วนตัว
5. เรื่องทั่วไป
1. ชีวประวัติเบื้องต้น
– กรุณาเล่าชีวิตในวัยเด็กให้ผมฟัง
– คุณเกิดที่ไหน หรือคุณเติบโตที่ไหน
– กรุณาเล่าเรื่องครอบครัวของคุณให้ฟัง
– กรุณาเล่าเรื่องเกี่ยวกับบิดามารดาของคุณ
– คุณมีพี่น้องทั้งหมดกี่คน ตอนนี้ประกอบอาชีพอะไรบ้าง
– ทำไมคุณจึงมิได้อาศัยอยู่กับพ่อแม่ของคุณ
– คุณมีความภูมิใจในคุณพ่อคุณแม่ของคุณอย่างไรบ้าง
– ชีวิตของคุณในวัยเด็ก ใครเป็นผู้มีอิทธิพลต่อคุณมากที่สุด และมีอิทธิพลในทางไหนมากที่สุด
– คุณมีความรู้สึกอย่างไรในการที่คุณพ่อ คุณแม่ของคุณต้องแยกกันอยู่
2. การศึกษา
– คุณเรียนชั้นมัธยมฯ ที่ไหน
– ผลการเรียนเป็นอย่างไรบ้าง
– คุณเรียนรู้อะไรจากการศึกษาในระดับมัธยม
– ใครมีอิทธิพลต่อคุณมากที่สุดในช่วงเรียนชั้นมัธยมฯ และในด้านใด
– คุณเรียนที่มหาวิทยาลัยอะไร
– ทำไมคุณจึงเลือกเรียนสาขาวิชานี้
– ผลการเรียนของคุณเป็นอย่างไร
– คุณชอบวิชาไหนมากที่สุด เพราะอะไร
– คุณสามารถทำคะแนนได้ดีในวิชาใด เพราะอะไร
– คุณคิดว่าคุณจะใช้วิชาความรู้ที่คุณเรียนมานี้ให้เป็นประโยชน์กับงานที่คุณสมัครนี้อย่างไร
– เวลาว่างจากการเรียนทำอะไรบ้าง
– ในระหว่างการเรียนคุณใช้จ่ายเงินอย่างไร
– คุณชอบกีฬาหรือไม่ คุณเล่นกีฬาอะไร
– คุณเป็นสมาชิกชมรมอะไรต่าง ๆ บ้างหรือไม่ เพราะอะไร
– ในระหว่างการศึกษานี้คุณมีเพื่อนสนิทกี่คน เพื่อน ๆ ที่สนิทกันนี้ได้งานทำแล้วหรือยัง ที่ไหน
– ระหว่างที่คุณอยู่ในกลุ่มเพื่อน ใครเป็นผู้นำหรือชักจูงให้เพื่อทำกิจกรรมต่าง ๆ
3. ประสบการณ์ในการทำงาน
– ขอให้เล่าถึงประวัติการทำงานของคุณโดยย่อตั้งแต่เริ่มทำงานครั้งแรก
– คุณเปลี่ยนบริษัทกี่ครั้ง แต่ละครั้งมีสาเหตุอะไร
– ขอให้เล่าหน้าที่งานที่ผ่านมาว่าทำอะไร
– สิ่งจูงในให้คุณเข้าทำงานในแต่ละบริษัท มีอะไรบ้าง
– คุณคิดว่าอะไรเป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่สำหรับชีวิตในการทำงานของคุณ
– อะไรเป็นสิ่งชักนำให้คุณมาดำรงตำแหน่งนี้
– ถ้าเราพูดคุยกับหัวหน้าเก่าของคุณที่บริษัท คุณคิดว่าเขาจะพูดอย่างไรเกี่ยวกับตัวคุณและผลงานของคุณ
– ในชีวิตการทำงานที่ผ่านมา คุณคิดว่าคุณประสบความสำเร็จอะไรบ้าง
– ในการทำงานของคุณ คุณเคยพลาดอะไรบ้าง
– บรรดาตำแหน่งงานที่คุณเคยทำมา ตำแหน่งไหนที่คุณชอบมากที่สุด ตำแหน่งไหนที่คุณชอบน้อยที่สุด เพราะอะไร
– คุณคิดว่าคุณมีจุดอ่อนหรือไม่ และควรปรับปรุงอย่างไร
– คุณคิดว่าคุณมีจุดเด่นหรือความสามารถพิเศษอะไร และจะเป็นประโยชน์ต่องานที่สมัครนี้อย่างไร
– คุณมีแผนการในชีวิตการทำงานของคุณอย่างไร
– ถ้าคุณเป็นบริษัท คุณจะจ้างตัวคุณสำหรับตำแหน่งนี้ไหม ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
ขอบคุณบทความดีดีจาก www.thaihomemaster
คลิกเพื่อดู โรงพิมพ์ JR