ความหมายของการวางแผนภาษีอากร (tax planning)
การวางแผนภาษีอากรคือการเตรียมการเพื่อเสียภาษีให้ถูกต้อง ครบถ้วน และประหยัด การทําให้ไม่ต้องชําระภาษีหรือการทําให้เสียภาษีน้อยที่สุดโดยวิธีการที่ถูกต้องตามกฎหมายก็ถือเป็นการวางแผนภาษีอากรด้วย การวางแผนภาษีอากรต้องกระทําค่อนเริ่มต้นประกอบธุรกิจ และเมื่อจะเลิกประกอบธุรกิจก็ต้องมีการวางแผนภาษีอากรด้วย
การหนีภาษีคือการที่ผู้เสียภาษีใช้วิธีการที่ผิดกฎหมายหรือฉ้อฉลเพื่อที่จะทําให้ไม่ต้องเสียภาษีหรือเสียภาษีน้อยลง ซึงคารกระทําเช่นนี้มีความผิดและต้องได้รับโทษตามกฎหมาย ตัวอย่างของการหนีภาษี เช่น ผู้เสียภาษีไม่กรอกจำนวนเงินที่รับหรือทรัพย์สินทีจะต้องเสียภาษีในแบบแสดงรายการโดยเจตนา หรือกรอกแต่กรอกไม่ตรงต่อความเป็นจริงเพื่อให้เสียภาษีน้อย หรือการตั้งราคาโอน(transferred pricing) ก็เป็นการหนีภาษีเช่นเดียวกัน
การตั้งราคาโอน หมายถึงการที่บริษัทในเครือของบริษัทข้ามชาติ (multinational firm) ซื้อสินค้าจากบริษัทแม่หรือในบริษัทในเครือในต่างประเทศในราคาสูงกว่าความเป็นจริง เพื่อทําให้ต้นทุนสูงกําไรของบริษัทในประเทศไทยจะได้ต่ำ ทําให้เสียภาษีน้อยลง หรือการทีบริษัท ในประเทศไทยขายสินค้าให้แก่บริษัทแม่หรือบริษัทในเครือในต่างประเทศในราคาต่ำกว่าความเป็นจริง กำไรจะได้ต่ำหรือขาดทุน ทําให้เสียภาษีในประเทศไทยน้อยหรือไม่ต้องเสียภาษีเลย
ความหมายของการหลบหลีกภาษี (tax avoidance)
การหนีภาษีต่างกับการหลบหลีกภาษี การหลบหลีกภาษีคือ การที่ผู้เสียภาษีใช้วิธีการที่ถูกต้องตามกฎหมายเพื่อทําให้ไม่ต้องเสียภาษีหรือเสียภาษีน้อยลง การใช้ช่องโหว่ขอกฎหมายภาษีอากร (tax loopholes) เพื่อทําให้ไม่ต้องเสียภาษี หรือเสียภาษีน้อยลงก็ถือเป็นการหลบหลีกด้วย การหลบหลีกภาษีถือเป็นการกระท่าที่ไม่ผิดกฎหมาย ฉะนั้นการหลบหลีกภาษีจึงเป็นส่วนหนึ่งของการวางแผนภาษี
ตัวอย่างของการหลบหลีกภาษี เช่น การทีผู้มีถิ่นที่อยูในประเทศไทยไม่นําเงินได้ที่ได้รับจาก การทํางานหรือประกอบธุรกิจในต่างประเทศเข้ามาในปีภาษีเดียวกันกับที่ได้รับเงินได้นั้น
แต่นําเข้ามาในปีภาษีอื่น ทําให้ ไม่ต้องเสียภาษี ก็เป็นการหลบหลีกภาษีที่ไม่ผิดกฎหมาย เพราะตามแนวปฏิบัติของครมสรรพากร หาคผู้มีถิ่นที่อยูในประเทศไทยไม่นําเงินได้ที่ได้รับจากการทํางาน หรือประกอบธุรกิจในต่างประเทศเข้ามาในประเทศไทยในปีภาษีเดียวกับที่ได้รับเงินได้นั้น กรมสรรพาครก็ไม่เก็บภาษี (หนังสือกรมสรรพากร ที่ กค 0802/696 ลงวันที่ 1 พฤษภาคม 2530)
คําแนะนํา 6 ประการ
1. ผู้วางแผนควรจะรู้ว่ามีเงินได้ ทรัพย์สิน หรือธุรกรรมอะไรบ้างที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษี การยกเว้นภาษีนั้นอาจเป็นการยกเว้นโดยพระราชบัญญัติ พระราชกฤษฎีกาหรือกฎคระทรวงก็ได้ นอกจากนี้อาจเป็นการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษี การยกเว้นภาษีนั้นอาจจะเป็นการยกเว้น โดยพระราชบัญญัติ พระราชกฤษฎีกา หรือคฎกระทรวงก็ได้ นอกจากนี้อาจจะเป็นการยกเว้นโดยอนุสัญญาภาษีซ้อน (double tax agreement) ซึ่งประเทศไทยได้ทําไว้กับประเทศต่าง ๆ รวม 40 ประเทศก็ได้
2. องค์กรธุรกิจเหล่านี้ กิจการเจ้าของคนเดียว ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนจํากัด บริษัทจํากัด บริษัทมหาชนจํากัด กิจการร่วมค้า (joint venture) และกลุ่มบริษัท (consortium) ผู้วางแผนควรจะรู้ว่าองค์กรธุรกิจใดเสียภาษีมากน้อยแตกต่างกันอย่างไร เพื่อที่จะช่วยให้ตัดสินใจเลือกองค์กรธุรกิจที่เหมาะสมแก่การประกอบการได้ถูกต้อง
3. ผู้วางแผนควรจะรู้รายละเอียดของภาษีแต่ละประเภท ตัวอย่างเช่น ภาษีเงินได้นิติบุคคล ผู้วางแผนควรจะรู้ว่าผู้ใดเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล เสียจากเงินได้อะไร? เสียในอัตราเท่าใด?ถ้ามีข้อพิพาทเกิดขึ้นจะมีวิธีการในการหาข้อยุติอย่างไร?
4. ผู้วางแผนควรจะรู้ว่าสัญญาแต่ละประเภทมีภาระภาษีอย่างไร? ไม่ว่าจะเป็นสัญญาซื้อขาย สัญญาจ้างท่าของ สัญญาเหมาเบ็ดเสร็จ (turnkey contract) สัญญาให้เช่าช่วยเหลือทางเทคนิค (technical assistance agreement) สัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ (licensing agreement) สัญญาร่วมค้า (joint agreement) สัญญากลุ่มบริษัท (consortium contract) และควรจะรู้ต่อไปว่าคู่สัญญาฝ่ายใดเป็นผู้มีหน้าที่ต้องเสียภาษีและหักภาษี ณ ที่จ่าย นอกจากนี้ควรจะรู้ว่ามีสัญญาอะไรบ้างที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีหรือได้รับการลดภาษี
5. ผู้วางแผนควรจะรู้บัญชีภาษีอากร (tax accounting) เพราะในการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีมูลค่าเพิ่มต้องใช้บัญชีภาษีอากร จะใช้รับบัญชีการเงิน (financial accounting) ไม่ได้ บัญชีภาษีอากรเป็นบัญชีที่กําหนดโดยภาษีอากร เช่น ประมวลรัษฎฐากร ต่างจากบัญชีการเงิน ฉะนั้น กําไรหรือขาดทุนที่ปรากฏอยู่ในงบกําไรขาดทุนซึ่งทําขึ้นตามหลักบัญชีการเงินจึงยังใช้เสียภาษีไม่ได้ ต้องมีการปรับปรุง (adjust) ให้เป็นไปตามหลักบัญชีภาษีอากรซึงบัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร มาตรา 65, 65 ทวิ และ 65 ตรี
6. ผู้เสียภาษีควรจะทําบัญชีและเก็บรักษาบัญชีพร้อมเอกสารประกอบการลงบัญชีตามที กฎหมายกําหนด มิฉะนั้นอาจ ได้รับโทษทางอาญาและต่องเสียภาษีเพิ่มขึ้น เช่น เจ้าพนักงานประเมิน อาจจะใช้อ่านาจประเมินภาษีในอัตราร้อยละ 5 ของยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายใดๆ ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 71 (1) แม้บริษัทผู้เสียภาษีจะขาดทุนก็ตาม
ขอบคุณบทความดีดี จาก : โดย คุณชัยสิทธิ์ ตราชูธรรม การวางแผนภาษีอากร (tax planning) http://www.smethaiclub.com
คลิกดู โรงพิมพ์ JR
คลิกเพื่ออ่าน วางแผนภาษี 5 วิธี