วิธีเลือกหุ้นส่วน
ธุรกิจของตนเอง t เริ่มต้นธุรกิจ

5 วิธีเลือกหุ้นส่วน

82 / 100

เลือกหุ้นส่วน

    ความสัมพันธ์ของหุ้นส่วนทางธุรกิจ บางทีก็คล้ายๆ กับความสัมพันธ์ของคนรักที่เราต้องรู้จักอีกฝ่ายให้ดี เรียนรู้อุปนิสัยใจคอ แนวคิด ฯลฯ ก่อนจะตกลงปลงใจใช้ชีวิตร่วมกัน ซึ่งถ้าเราเลือกหุ้นส่วนในการทำธุรกิจได้ดี โอกาสในการประสบความสำเร็จย่อมสูงขึ้นตามไปด้วย แล้วเราจะเลือกหุ้นส่วนหรือพันธมิตรทางธุรกิจอย่างไร ไปพบกับคำตอบด้านล่างได้เลย

1.เลือกหุ้นส่วนที่มีนิสัยการทำงานคล้ายๆ กัน

นี่คือเรื่องที่สำคัญมากๆ ของคนที่จะทำธุรกิจหรือร่วมหุ้นเงินเพื่อทำร้านค้าอะไรสักอย่างด้วยกัน ยกตัวอย่างให้เห็นภาพก็คือ ถ้าคุณเริ่มตื่นขึ้นมาทำงานตั้งแต่ 9 โมงเช้า เลิกงานเอาตอน 3 ทุ่ม แต่หุ้นส่วนสุดจี๊ดของคุณโผล่เข้ามาออฟฟิศตอนเที่ยง เดินไปเดินมาแล้วก็กลับบ้านไปตอน 5 โมงเย็น คุณจะรู้สึกอย่างไร ดังนั้น ต้องประเมินหรือเรียนรู้หุ้นส่วนก่อนว่าเขามีชั่วโมงการทำงาน ความรับผิดชอบ บริหารธุรกิจอยู่กี่แห่ง ก็จะช่วยลดปัญหาและทำให้เราไม่ต้องรู้สึกว่าหุ้นส่วนเอาเปรียบเรามากเกินไปได้

2. เลือกหุ้นส่วนที่มีสภาวะการเงินและอารมณ์ที่มั่นคง

ถ้าคุณไม่กล้าถามเขาตรงๆ เพราะกลัวไปรุกล้ำความเป็นส่วนตัวมากเกินไป ก็ต้องแอบสืบเอาว่าเขามีหนี้สิน หรือมีสภาวะทางการเงินเป็นอย่างไร ถ้าเขามีสถานการณ์การเงินที่ไม่มั่นคง คุณอาจต้องพิจารณาให้รอบคอบมากๆ ส่วนเรื่องของอารมณ์ อาจต้องมีการพบปะเจรจากันหลายๆ ครั้ง เพื่อตรวจสอบว่าคนที่คุณกำลังจะเลือกมาเป็นหุ้นส่วนเป็นคนอย่างไร มีเหตุมีผล มีความคิด รอบคอบ ละเอียดอ่อน และเราสามารถร่วมงานกับเขา ทนเขาได้ แชร์ประสบการณ์หรือความคิดกับเขาได้มากน้อยขนาดไหน และสุดท้ายเขาสามารถเป็นตัวแทนบริษัทหรือเป็นผู้นำองค์กรได้หรือเปล่า ซึ่งคุณต้องหาวิธีตรวจสอบให้ได้ว่าเขาทนแรงกดดันเหล่านี้ได้จริงๆ ไม่ใช่ว่าเจอความกดดันนิดหน่อยก็เหวี่ยงวีนใส่พนักงานหรือลูกจ้าง แบบนี้คงไม่ไหวแน่ๆ

3.เลือกหุ้นส่วนที่มีทักษะเสริมที่น่าสนใจ

จำไว้ว่าอย่าเลือกคนที่เหมือนกับคุณทุกอย่าง แต่พยายามค้นหาคนที่มีสิ่งที่แตกต่างจากคุณ เช่น คุณเก่งบัญชี หุ้นส่วนคุณอาจเก่งด้านบริหารระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อให้องค์กรมีความสามารถในหลายๆ ด้านให้มากที่สุด ยกตัวอย่างเช่นคู่หูระดับตำนานอย่าง มาริโอ้กับหลุยส์ หรือกัปตันเคิร์กกับสป็อค (จากภาพยนตร์เรื่อง Star Trek) ซึ่งมีความสามารถและทักษะขั้นเทพกันไปคนละด้านจึงช่วยเหลือเกื้อกูลเพื่อเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับทีมได้อย่างลงตัว

4.เลือกหุ้นส่วนที่มีวิสัยทัศน์ที่คล้ายกัน

ในช่วงต้น คุณอาจมีเส้นทางที่คล้ายกัน มองภาพไว้ใกล้เคียงกัน แต่ต้องพยายามทำให้แน่ใจให้ได้ว่าเมื่อร่วมทุนกันไปในระยะยาวแล้ว ภาพวาดที่เคยมองไว้จะยังเป็นเหมือนกันทั้งคู่ ไม่ใช่ว่าเคยตั้งเป้าว่าจะเป็นผู้ให้บริการอันดับ 1 แต่ท้ายที่สุดคนนึงมองว่าการบริการต้องมาก่อนเหมือนเคย แต่อีกคนกลับมองเรื่องผลกำไรเป็นหลัก ทำอย่างไรก็ได้ให้เงินเข้าบริษัทมากที่สุด สุดท้ายก็ต้อง say Good Bye กันไปคนละทาง ซึ่งเรื่องนี้ต้องระมัดระวังให้ดี

5.เลือกหุ้นส่วนที่มีความไว้วางใจกัน

ทุกความสัมพันธ์ที่ดีจะขึ้นอยู่บนพื้นฐานของความไว้วางใจ ถ้าคุณไม่สามารถไว้วางใจหุ้นส่วนได้เหมือนเพื่อนสมัยเด็ก หรือไม่สามารถมั่นใจในตัวเขาได้ ทางที่ดีก็อย่าร่วมหุ้นกับคนๆ นั้นเลย เพราะมันจะทำให้ธุรกิจของคุณเกิดความเสี่ยงขึ้นได้
   
    การสนทนากันระหว่างหุ้นส่วนทางธุรกิจ เพื่อทำความเข้าใจเรื่องการเงิน เป้าหมายทางธุรกิจ และความคาดหวังในอนาคตแบบเข้มข้น จริงจัง จะช่วยให้เราเข้าใจในตัวหุ้นส่วนมากขึ้น รับรู้ได้ว่าเขามีความจริงจังและมีมุมมองในการทำธุรกิจอย่างไร ซึ่งจะช่วยให้คุณตัดสินใจเลือกหุ้นส่วนได้ง่ายขึ้น 
    

ขอบคุณบทความดีดี แปลและเรียบเรียง : เจษฏา ปุรินทวรกุล
    แปลและเรียบเรียงจาก Jason Lucash ผ่านทาง www.entrepreneur.com/  
    Create by smethailandclub.com


จัดสัดส่วนการถือหุ้น หลังเลือกหุ้นส่วน

หลังจากเลือกหุ้นส่วนได้ตามต้องการแล้ว สัดส่วนในการถือหุ้น ถือเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ผู้ประกอบการต้องใส่ใจ ผู้ประกอบการทั้งหลาย มักไว้ใจ กับหุ้นส่วนของตน และกำหนดสัดส่วนในการถือหุ้นเท่า ๆ กัน ผลที่ตามมาคือ หุ้นส่วนจะปัดความผิดชอบให้กัน ยิ่งถ้าแต่ละคนมีธุรกิจหลัก ของตนเองอยู่แล้ว ธุรกิจที่คิดขึ้นมาใหม่ก็กลายเป็นธุรกิจเสริม ดังนั้น สัดส่วนการถือหุ้น จึงควรมีหุ้นส่วนหลักเป็นแกนไว้

ศึกษากฎหมายก่อนร่วมหุ้น

สิ่งสำคัญในการจัดสัดส่วนการถือหุ้น คือ ผู้ประกอบการจะต้อง ศึกษาข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับการลงทุนดำเนินธุรกิจ ในกรณีที่เงินลงทุนไม่เพียงพอ ผู้ประกอบการต้องพิจารณาว่าจะระดมเงินทุนจากที่ใด และหุ้นส่วนแต่ละคนที่ถือหุ้นอยู่ตามสัดส่วนต่าง ๆ มีสิทธิ์อย่างไร ผู้ประกอบการจะต้องเปิดหนังสือกฎหมายดูอย่างละเอียด และตัดสินใจอย่างถี่ถ้วน เพื่อป้องกันปัญหาต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นในภายหลัง

ขอบคุณบทความดีดี จาก : นิตยสารเส้นทางเศรษฐี ปีที่ 7 ฉบับที่ 74 (เมษายน 2544)

คลิกดูเลย          โรงพิมพ์ JR

เริ่มธุรกิจใหม่ด้วยแผนธุรกิจ

โรงพิมพ์ เจอาร์

 

+1
0
+1
0
+1
1
+1
0
+1
0
+1
0
+1
0