การทำบุญทอดกฐิน
การทำบุญทอดกฐิน เป็นพิธีทำบุญทางพุทธศาสนาที่สำคัญ ทำได้เพียงปีละครั้ง ระหว่าง แรม ๑ ค่าเดือน ๑๑ ถึง ขึ้น ๑๕ ค่า เดือน ๑๒ เท่านั้น (หลังออกพรรษา ก่อนลอยกระทง) ถือว่าได้อานิสงส์แรง ต้องจองกฐินกับทางวัดก่อน เพราะ 1 วัดจะรับได้เพียงกฐินเดียว การทําบุญกฐินนี้ได้บุญมาก เพราะเป็นทั้ง “กาลทาน” และ “สังฆทาน” นับเป็นทานชนิดเดียวที่ผู้ให้(คฤหัสถ์)และผู้รับ(พระสงฆ์ ) ได้บุญด้วยกันทั้งสองฝ่าย กฐินที่นําเงินที่ได้ไปสร้างโบสถ์ วิหาร หรือซื้อที่ในวัด เราก็จะได้บุญหลายต่อจากบุญกฐินด้วย และได้บุญวิหารทานด้วย ได้บุญทุกครั้งที่มีคนใช้สิ่งที่เราสร้าง
วัดที่จะรับกฐิน
จะต้องมีพระอยู่จำพรรษาจำนวน 5 รูป หรือ 5 รูปขึ้นไป จะรับกฐินที่อาวาสของตัวเองเท่านั้น จึงจะถูกต้อง
อานิสงส์ของผู้ทอดถวายผ้ากฐิน
– สร้างความสามัคคีในระหว่างพุทธบริษัท
– เป็นการสั่งสมทุนคือบุญกุศลไว้ในภายภาคหน้า
– ได้ชื่อว่าเป็นผู้สืบอายุพระพุทธศาสนา เป็นกุศลอันยิ่งใหญ่
– ได้สงเคราะห์พระสงฆ์ตามพระวินัยซึ่งเป็นไปตามพระบรมพุทธานุญาต
– เป็นการบูชาพุทธโอวาทของพระบรมศาสดา
– ทำตนให้เป็นประโยชน์ สละทรัพย์ให้มีประโยชน์ต่อพุทธศาสนา
– เป็นการสร้างทางไปสวรรค์และนิพพานให้แก่ตนเอง
–ผู้ถวายจะปรารถนาความสำเร็จใด ๆ ในภพชาติใหม่ ก็จะให้สำเร็จได้ดังมโนปรารถนา
เหตุที่การทอดกฐินได้บุญมาก
1. ต้องถวายเป็นสังฆทานเท่านั้น จะถวายเฉพาะเจาะจงภิกษุรูปใดรูปหนึ่งเหมือนทานอย่างอื่นไม่ได้
2. จํากัดเวลา คือ ต้องถวายภายในระยะเวลา 1 เดือน หลังออกพรรษา ก่อนลอยกระทง
3. จํากัดงาน คือ พระภิกษุที่กรานกฐินต้องตัด เย็บ ย้อม และครองให้เสร็จภายในวันที่กรานกฐิน
4. จํากัดไทยธรรม คือ ผ้าที่ถวายต้องถูกต้องตามลักษณะที่สงฆ์กําหนดไว้
5. จํากัดผู้รับ คือ พระภิกษผู้รับกฐิน ต้องเป็นผู้ที่จําพรรษาในวัดนั้นโดยไม่ขาดพรรษา และมีจํานวนไม่น้อยกว่า 5 รูป
6. จํากัดคราว คือ วัดๆ หนึ่งรับกฐินได้เพียงปีละ 1 ครั้งเท่านั้น(จาก 1 เจ้าภาพ)
7. เป็นพระบรมพุทธานุญาต ทานอย่างอื่นทายกทูลขอให้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงอนุญาต เช่นมหาอุบาสิกาวิสาขา ทูลขออนุญาตถวายผ้าอาบน้าฝน แต่ผ้ากฐินนี้พระองค์ทรงอนุญาตเอง นับเป็นพระพุทธประสงค์โดยตรง
กฐิน แปลว่า ไม้สะดึง คือกรอบไม้ชนิดหนึ่งสําหรับขึงผ้าให้ตึง สะดวกแก่การเย็บ ในสมัยโบราณเย็บผ้าต้องเอาไม้สะดึงมาขึงผ้าให้ตึงเสียก่อน แล้วจึงเย็บ ไม่เหมือนในปัจจุบัน ซึ่งมีจีวรสําเร็จรูปแล้ว
ผ้ากฐิน คือ ผ้าสำเร็จรูปโดยอาศัยไม้สะดึง นิยมเรียกกันจนปัจจุบันนี้
การทอดกฐิน คือ การนําผ้ากฐินไปวางไว้ต่อหน้าพระสงฆ์อย่างต่ำ 5 รูป แล้วให้พระสงฆ์รูปใดรูปหนึ่งที่ได้รับมอบหมาย จากคณะสงฆ์ทั้งนั้นเป็นเอกฉันท์ให้เป็นผู้รับกฐินนั้น
กฐินมี 2 ลักษณะ คือ
จุลกฐิน
การทําจีวร พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติสิกขาบท ทุกฝ่ายต้องช่วยกันทําให้เสร็จภายในกําหนดหนึ่งวัน ทําฝ้าย ปั้น กรอ ตัด เย็บ ย้อม ทําให้เป็นขันธ์ได้ขนาดตามพระวินัย แล้วทอดถวายให้เสร็จในวันนั้น
มหากฐิน
คืออาศัยบัจจัยไทยทานบริวารเครื่องกฐินจํานวนมากไม่รีบด่วน เพื่อจะได้มีส่วนหนึ่งเป็นทนุบํารุงวัด คือทํานวกรรมบ้าง ซ่อมแซมบูรณของเก่าบ้าง ปัจจุบันนิยมเรียกกันว่า กฐินสามัคคี
การทอดกจฐินในเมืองไทย แบ่งออกตามประเภทของวัดที่จะไปทอด คือ
พระอารามหลวง
ผ้าพระกฐินที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานเครื่องกฐินทานนี้ เรียกว่า กฐินหลวง บางทีก็เสด็จไปพระราชทานยังวัดราษฎร์ด้วย เรียกว่า กฐินต้น ผ้ากฐินทานนอกจากที่ได้รับกฐินของหลวงโดยตรงแล้ว จะได้รับ กฐินพระราชทาน
ส่วนวัดราษฎร์ทั่วไป
คณะบุคคลจะไปทอดโดยการจองล่วงหน้าไว้ก่อนตั้งแต่ในพรรษา ก่อนจะเข้าเทศกาลกฐิน ถ้าวัดใดไม่มีผู้จอง เมื่อใกล้เทศกาลกฐิน ประชาชนทายกทายิคาของวัดนั้น ก็จะรวบรวมกันจัดการทอดคฐิน ณ วัดนั้นในเทศกาลกฐิน
การจองกฐิน
วัดราษฎร์ทั่วไป นิยมทําเป็นหนังสือจองกฐินไปติดต่อประกาศไว้ยังวัดที่จะทอดถวาย เป็นการแจ้งสงฆ์ให้ทราบวันเวลาที่จะไปทอด หรือจะไปนมัสการเจ้าอาวาสให้ทราบไว้ก็ได้
สําหรับการขอพระราชทานผ้าพระกฐินไปทอด ณ พระอารามหลวงให้แจ้งกรมการศาสนา ผู้ขอพระราชทานจะไปติดต่อกับทางวัดในรายละเอียดต่าง ๆ จนก่อนถึงวันกําหนดวันทอด
การนํากฐินไปทอด
อย่างหนึ่งคือ นําผ้ากฐินทานกับเครื่องบริวารที่จะถวายไปตั้งไว้ ณ วัดที่จะทอดก่อน หรือรับพระราชทานผ้ากฐินทานมาจึงพากันไปยังวัดเพื่อทําพิธีถวาย
ในกรณีกฐินสามัคคี พอถึงกำหนดวันทอด ก็จะมีการแห่แหนเป็นกระบวนไปยังวัตที่จะทอด
การถวายกฐิน
ก่อนจะถึงกําหนดเวลา จะเอาเครื่องบริวารกฐินไปจัดตั้งไว้ในโบสถ์ก่อน ส่วนผ้ากฐินพระราชทานจะยังไม่นําเข้าไป พอถึงกำหนดเวลา พระสงฆ์ที่จะรับกฐิน จะลงโบสถ์พร้อมกัน นั่งบนอาสนที่จัดไว้ เจ้าภาพกฐิน พร้อมด้วยผู้ร่วมงานจะพากันไปยังโบสถ์ เมื่อถึงหน้าโบสถ์ เจ้าหน้าที่จะนําผ้าพระกฐินไปรอส่งให้ประธาน ประธานรับผ้าพระกฐินวางบนมือ ถือประคอง นําคณะเดินเข้าสู่โบสถ์ แล้วนําผ้าพระกฐินไปวางบนพานที่จัดไว้หน้าพระสงฆ์ และหน้าพระประธานในโบสถ์ คณะที่ตามมาเข้านั่งที่ ประธานจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย แล้วกราบพระพุทธรูปประธานในโบสถ์แบบเบญจางคประดิษฐ์สามครั้ง แล้วลุกมายกผ้าพระกฐินในพานขึ้น ดึงผ้าหุ่มพระประธานมอบให้เจ้าหน้าที่ รับไปห่มพระประธานทีหลัง แล้วประนมมือวางผ้าพระกฐินบนมือทั้งสอง หันหน้าตรงพระสงฆ์แล้วกล่าวคำถวายผ้าพระกฐิน จบแล้วพระสงฆ์รับ สาธุการ ประธานวางผ้าพระกฐินลงบนพานเช่นเดิม แล้วกลับเข้านั่งที่ ต่อจากนี้ไปเป็นพิธีกรานกฐินของพระสงฆ์
กฐินของประชาชน หรือ กฐินสามัคคี นิยมถวายกันที่ศาลาการเปรียญ หรือวิหารสําหรับทําบุญ แล้วเจ้าหน้าที่จึงนําผ้ากฐินที่ถวายแล้วไปถวายพระสงฆ์ ทําพิธีกรานกฐินในโบสถ์เฉพาะพระสงฆ์
การทําพิธีกฐิน
ภารกิจของพระสงฆ์ เริ่มจากการกล่าวคำขอความเห็นที่เรียกว่า อุปโลคน์ และการสวดญัตติทุติยกรรม คือการยินยอมยกให้ ต่อจากนั้นพระสงฆ์รูปที่ได้รับความยินยอม นําผ้าไตรไปครองเสร็จแล้วขึ้นนั่งยังอาสนเดิม ประชาชนผู้ถวายพระกฐินทาน ทายกทายิกา และผู้ร่วมบําเพ็ญกุศล ณ ที่นั้น เข้าประเคนสิ่งของอันเป็นบริวารขององค์กฐินตามลำดับจนเสร็จแล้ว พระสงฆ์ทั้งนั้นจับพัด ประธานสงฆ์เริ่มสวดนําด้วยคาถาอนุโมทนา ประธานหรือเจ้าภาพ กรวดน้ำ และรับพรจนจบ เป็นอันเสร็จพิธี
คําถวายกฐิน
มีอยู่สองแบบด้วยกันคือ แบบเก่า และแบบใหม่ ดังนี้
คําถวายแบบมหานิกาย
อิม สปริวาร กฐินจีวรทสส่ สงฆสส โอโณชยาม (กล่าวสามหน)
ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายผ้าจีวรกฐิน พร้อมกับของบริวารนี้แก่พระสงฆ์ (กล่าวสามหน)
คํากล่าวแบบธรรมยุต
” อิมัง มะยัง ภันเต, สะปะริวารัง, กะฐินะจีวะระทุสสัง, สังสสะ, โอโณชะยามะ, สาธุ โน ภันเต, สังโฆ, อิมัง สะปะริวารัง, กะฐินะทุสสัง, ปะฏิคคัณหาตุ, ปะฏิคคะเหตตะวาจะ, อิมินา ทุสเสนะ กะฐินัง, อัตถะระตุ, อัมหากัง ฑีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ นิพพานายะจะ ฯ “
ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายผ้ากฐินจีวร กับทั้งบริวารนี้ แด่พระสงฆ์ ขอพระสงฆ์จงรับผ้ากฐินกับทั้งบริวารนี้ ของ ข้าพเจ้าทั้งหลาย และ เมื่อรับแล้วขอจงกรานใช้ กฐิน ด้วยผ้านี้ เพื่อประโยชน์ และ ความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลายสิ้นกาลนานเทอญ ฯ
ผู้ประสงค์จะทอดกฐิน ทำอย่างไร
จองกฐิน
เมื่อจะไปจองกฐิน ณ วัดใด พอเข้าพรรษาแล้ว พึงไปมนัสการสมภารเจ้าวัดนั้น กราบเรียนแก่ท่านว่า ตนมีความประสงค์จะขอทอดกฐิน แล้วเขียนหนังสือปิดประกาศไว้ ณ วัดนั้น เพื่อให้รู้ทั่ว ๆ กัน การที่ต้องไปจองก่อนแต่เนิ่น ๆ ก็เพื่อให้ได้ทอดวัดที่ตนต้องการ หากมิเช่นนั้นอาจมีผู้อื่นไปจองก่อน
แต่ถ้าวัดนั้นเป็นวัดหลวง ต้องทําหนังสือยื่นต่อกองสัมฆการี กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ ขอเป็นกฐินพระราชทาน ครั้นอนุญาตไปถึงแล้ว จึงจะจองได้
เตรียมการ
ครั้นกําหนดวันทอดกฐินแล้ว ก็เตรียมจัดหาเครื่องผ้ากฐิน คือไตรจีวร พร้อมทั้งเครื่องบริขารอื่น ๆ ตามแต่มีศรัทธามากน้อย (ถ้าจัดเต็มที่มักมี 3 ไตร คือ องค์ครอง 1 ไตร คู่สวดองค์ละ 1 ไตร)วันงาน ดังนั้น โดยมากจึงจัดงานเป็น 2 วัน วันต้นตั้งองค์พระกฐินที่บ้านของเจ้าภาพก็ได้ จะไปตั้งที่วัดก็ได้ รุ่งขึ้นเป็นที่วัดทอด โดยมากมักแห่ไปตอนเช้า และเลี้ยงพระเพล
การทอดกฐิน จะทอดในตอนเช้านั้นก็ได้ ทอดเพลแล้วก็ได้ สุดแล้วแต่สะดวก การเลี้ยงพระ ถ้าเป็นอย่างในชนบท ชาวบ้านจัดภัตตาหารเลี้ยงด้วย เจ้าของงานกฐินก็จัดไปด้วย
การถวายผ้ากฐิน
การถวายผ้ากฐินนั้น คือ เมื่อพระสงฆ์ประชุมพร้อมกันแล้ว เจ้าภาพอุ้มผ้ากฐินนั่งหันหน้าตรงต่อพระประธาน ตั้งนะโม 3 จบ แล้วหันหน้ามาทางพระสงฆ์ กล่าวคํา ถวายผ้ากฐิน 3 จบ ถ้าเป็นกฐินสามัคคี ก็มักเอาด้ายสายสิญจน์โยงผ้ากฐิน เมื่อจับได้ทั่วถึงกัน แล้วหัวหน้านําว่าคําถวาย ครั้นจบแล้ว พระสงฆ์รับว่า สาธุ เจ้าภาพก็ประเคนผ้าไตรกฐินแก่ภิกษุผู้เถระ ครั้นแล้วประเคนเครื่องบริขารอื่น ๆ เสร็จแล้ว พระสงฆ์ก็ทําพิธีมอบผ้าให้แก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ซึ่งเป็นพระเถระ มีจีวรเก่า รู้ธรรมวินัย ครั้นเสร็จแล้ว พระสงฆ์อนุโมทนา เจ้าภาพกรวดน้ำรับพร ก็เป็นอันเสร็จพิธีการทอดกฐินเพียงนี้
พิธีกรานกฐิน
พิธีกรานกฐินเป็นพิธีฝายภิกษุสงฆ์โดยเฉพาะ คือภิกษผู้ได้รับมอบผ้ากฐินนั้น นําผ้ากฐินไปทําเป็นไตรจีวรผืนใดผืนหนึ่ง เย็บ ย้อม แห้ง เรียบร้อยดีแล้ว เคาะระฆัง ประชุมกันในโรงพระอุโบสถ ภิกษุผู้รับผ้ากฐิน ถอนผ้าเก่าอธิษฐานผ้าใหม่ที่ตนได้รับนั้นเข้าชุดเป็นไตรจีวร
เสร็จแล้ว ภิกษุรูปหนึ่ง ขึ้นสู่ธรรมาสน์แสดงพระธรรมเทศนา กล่าวคือเรื่องประวัติกฐินและอานิสงส์ครั้งแล้วภิกษุผู้รับผ้ากฐิน นั่งคุกเข่าตั้งนะโม 3 จบ แล้วเปล่งวาจาในท่ามกลางชุมนุมนั้น ตามลักษณะผ้าที่กราน
ลําดับนั้น สงฆ์นั่งคุกคเข่าพร้อมกันแล้วกรานพระ 3 หน เสร็จแล้ว ตั้งนโม พร้อมกัน 3 จบ แล้วท่านผู้ได้รับผ้ากฐินหันหน้ามายังกลุ่มภิกษุสงษ์ กล่าวคำอนุโมทนาประกาศดังนี้
“ลตุถต์ อาวุโส สงุฆสุส กลฐิน ธมุมิโภ กฐินตถาโร อนุโมทามิ” 3 จบ (แปลว่า อาวุโส! กฐินสงฆ์กรานแล้ว การกรานกฐินเป็นธรรม ข้าพเจ้าขออนุโมทนา)
เมื่อเสร็จแล้ว ให้นั่งพร้อมกันคุกเข่าประนมมือ หันหน้าตรงต่อพระพุทธปฏิมา ว่าพร้อมกันอีก 3 จบ แต่ให้เปลี่ยนคําว่า อนุโมทามิ เป็น อนุโมทาม เป็นอันเสร็จไปชั้นหนึ่ง
ต่อแต่นั้นกราบพระ 3 หน นั่งพับเพียบ สวดปาธะและคาถาเนื่องด้วยกรานกฐิน จบแล้วก็เป็นเสร็จพิธีการกรานกฐิน
ความหมายของธงกฐิน ทั้ง 4 แบบคือ จระเข้ นางมัจฉา ตะขาบ และเต่า
จระเข้ หมายถึง ความโลภ (ปากใหญ่ กินไม่อิ่ม) ใช้ประดับในการแห่
ตะขาบ หมายถึง ความโกรธ (พิษที่เผ็ดร้อนเหมือนความโกรธ) วัดนี้มีคนมาจองกฐินแล้ว9ool
นางมัจฉา หมายถึง ความหลง (ความงามที่ชวนหลงใหล) ใช้ประดับงานพิธีถวายผ้ากฐิน
เต่า หมายถึง สติ (การระวังรักษาอายตนะทั้ง 6 ดุจเต่าที่หด อวัยวะซ่อนในกระดอง) วัดนี้ทอดกฐินเรียบร้อยแล้ว
แนะนำบทความ วิธีการทำบุญบ้าน