การบริหารความเสี่ยง
การบริหารจัดการ ธุรกิจของตนเอง

การบริหารความเสี่ยง 5 กลุ่ม

82 / 100

การบริหารความเสี่ยง

การบริหารความเสี่ยง (Risk Management ) เป็นหัวข้อที่กล่าวขานกันมากขึ้น ในช่วงหลังเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ การปล่อยให้ความเสี่ยงเกิดขื้นโดยไร้การควบคุมนั้น สามารถนําภัยมาสู่ธุรกิจ และเศรษฐกิจของประเทศได้มหันต์

ผู้บริหารน้อยคนนักที่จะทราบว่า การบริหารความเสี่ยงครอบคลุมถึงอะไรบ้าง มีวิธีการจัดการอย่างไรให้เกิดผล

เรารู้จักการบริหารความเสี่ยงแค่ด้านประกันภัย หรือด้านการเงินที่เกี่ยวกับอัตราแลกเปลี่ยนและอัตราดอกเบี้ย แต่โลกทุกวันนี้ มีกฎข้อบังคับให้ต้องเปิดเผยข้อมูลรายละเอียดของความเสี่ยงต่าง ๆ ในงบการเงิน

กิจการที่มีมาตรการบริหารความเสี่ยงที่ดี ย่อมได้รับความน่าเชื่อถือมากกว่า ในทางตรงกันข้าม ถ้าปราศจากมาตรการ การจัดการความเสี่ยงที่ดี เมื่อมีความเสียหายเกิดขึ้น ก็ยากที่จะปกปิดได้เช่นกัน ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อกิจการทันทีและรุนแรงอย่างคาดไม่ถึงทีเดียว

การบริหารความเสี่ยง

ความเสี่ยงทางธุรกิจขององค์กรที่กล่าวถึงสามารถแบ่งออกได้เป็น 5 กลุ่ม กล่าวคือ :-

1. ความเสี่ยงด้านการบริหารเชิงกลยุทธ์ (Strategic Risk)

เสี่ยงต่อการล้มเหลวของแผนและวัตถุประสงค์ขององค์กร เช่น

มีการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ

ควบคุมต้นทุนไม่ได้

พฤติกรรมการบริโภคของลูกค้าเปลี่ยนแปลง

กําหนดวิสัยทัศน์และกลยุทธ์ผิดพลาด

2. ความเสี่ยงด้านการเงิน (Financial Risk)

เสี่ยงต่อการล้มเหลวในการควบคุมทางการเงิน เช่น

ขาดการจัดการความเสี่ยงในการบริหารเงิน

ขาดการประเมินความเสี่ยงของลูกค้าในการให้สินเชื่อ

การทุจริตที่ซับซ้อน

ระบบการควบคุมล้มเหลว

– บกพร่องในการบริหารสภาพคล่อง

3.ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติการ (Operational Risk)

เสี่ยงต่อการผิดพลาดหรือละเว้นของผู้ปฏิบัติงาน เช่น

การออกแบบและวางระบบผิดพลาด

ความประมาทเลินเล่อ

ความเสี่ยงเกี่ยวกับวิธีการทํางานของพนักงาน

การก่อวินาศกรรม

4. ความเสี่ยงด้านการค้า (Commercial Risk)

เสี่ยงต่อการหยุดชะงักทางธุรกิจ เช่น สูญเสียผู้บริหารคนสําคัญ

ธุรกิจของคู่ค้าล้มเหลว

ขัดต่อข้อบังคับของกฎหมาย

มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง

5.ความเสี่ยงด้านเทคนิค (Technical Risk)

เสี่ยงต่อการเสียหายของสินทรัพย์ที่ใช้งาน เช่น

อุปกรณ์ขัดข้อง

ระบบสาธารณูปโภคล้มเหลว

ไฟไหม้

ระเบิด

มลพิษ

ภัยธรรมชาติ

การบริหารความเสี่ยงด้านต่างๆ ดังกล่าว ก็เพื่อประโยชน์ต่อไปนี้

ลดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น

ปกป้องมูลค่าขององค์กร

หลีกเลี่ยงการถดถอยล้าหลัง

สร้างความเชื่อมั่นต่อผู้มีส่วนได้เสีย

ยิ่งไปกว่านั้น ถ้ากิจการสามารถบริหารความเสี่ยงอย่างมีวิสัยทัศน์ จะเป็นโอกาสและเป็นการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันแก่กิจการ ทําให้สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่องค์กร และจูงใจนักลงทุนได้ดียิ่งขึ้น

ความเสี่ยงเกี่ยวข้องกับความไม่แน่น่อน เราไม่ต้องการให้เกิดข้อผิดพลาดขึ้น ขณะเดียวกันต้องการให้สิ่งที่ถูกต้องเกิดขื้น กิจการจะรุ่งโรจน์ได้ ก็โดยที่สามารถบริหารความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น ได้สําเร็จอย่างมีประสิทธิภาพ ภายใต้ต้นทุนที่ประหยัด ฉะนั้น ผู้บริหารจะต้องค้นหาคําตอบให้ได้ว่า

มีความเสี่ยงอะไรที่อาจจะเกิดขึ้นได้

มีความถี่แค่ไหน

มีสาระสําคัญเพียงไรต่อธุรกิจ

มีมาตรการอะไรป้องกันได้บ้าง

มีเครื่องมือหรือระบบอะไรที่สามารถนํามาใช้ได้บ้าง

ดําเนินการเป็นขั้นตอน

ในการสร้างระบบบริหารความเสี่ยงขึ้นในองค์กรนั้น จะต้องดําเนินการเป็นขั้นตอน และต้องเป็นนโยบายที่ผู้บริหารระดับสูงให้การสนับสนุน เพื่อทุกคนจะได้มีส่วนร่วมจนก่อให้เกิดเป็นวัฒนธรรมองค์กร

ขั้นตอนแรก

เป็นการกําหนดกลยุทธ์ในการบริหารความเสี่ยง โดยรวมโดยสอบทานปัจจัยพื้นฐานในการประกอบธุรกิจของกิจการว่า มีความเสี่ยงอะไร และประเภทไหน ที่กิจการควรจะเสี่ยง ต้องการสิ่งอํานวยความสะดวกและทรัพยากรอะไรบ้าง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายที่อาจจะเกิดขื้น

ขั้นตอนที่สอง

เป็นการวิเคราะห์ความเสี่ยง ในประเด็นต่างๆ เพื่อได้เป็นพื้นฐานในการกําหนดแผนการดําเนินการ เช่น :-

ระบุความเสี่ยงที่ต้องการบริหารอย่างชัดเจน

ประเมินผลกระทบต่อธุรกิจในสถานการณ์หลายๆ แบบ

ประเมินความน่าจะเป็นที่ความสูญเสียอาจจะเกิดขึ้น

– โอกาสในการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้น

– กําหนดลําดับความสําคัญในการบริหาร

ขั้นตอนที่สาม

เป็นการดําเนินการให้ระบบบริหารความเสี่ยงได้เกิดขี้นอย่างเป็นรูปธรรม ซี่งเป็นงานที่ฝ่ายบริหารจะต้องวางแผนอย่างรอบคอบ ให้มันใจว่าหน่วยงานที่รับผิดชอบได้มีการปฏิบัติตามมาตรการที่วางไว้ เช่น :

วางระบบและเครื่องมือที่ต้องใช้ในการบริหารความเสี่ยง

จัดทําเอกสารเกี่ยวกับนโยบาย วิธีปฏิบัติงานอย่างละเอียด

ฝึกอบรมและพัฒนาพนักงานให้พร้อมที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและวิธีทํางาน

ออกแบบการรายงานผลและการวิเคราะห์

กําหนดวิธีปฏิบัติในการบริหารความเสี่ยงเครื่องมือทางการเงิน

ขั้นตอนสุดท้าย

เป็นการติดตามและวัดผล ซึ่งควรจะกระทําอย่างต่อเนื่อง เพื่อจะได้ประเมินความมีประสิทธิภาพของการบริหาร เช่น

การวัดต้นทุนและความเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง

การตรวจสอบระบบการควบคุม

การประเมินดัชนีความเสี่ยงที่สําคัญ

– การกำหนดข้อเพิงปฏิบัติเป็นบรรทัดฐาน

– การเพิ่มพูนและปกป้องผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้น

กิจการจะต้องหมั่นทบทวนว่า ภาพรวมในการทําธุรกิจทําให้ปัจจัยความเสี่ยงเปลี่ยนแปลงไปหรือไม่ ควรจะมีการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์อย่างไร เพราะการบริหารความเสี่ยงไม่ใช่สิ่งที่ตายตัว มีปัจจัยที่เกี่ยวข้องหลายด้าน กล่าวคือ

1. ลักษณะของธุรกิจปัจจุบัน

2. ปัจจัยภายนอกที่อยู่เหนือการควบคุมของฝ่ายบริหาร

3. โครงการที่กิจการต้องการให้เกิดการเปลี่ยนแปลง

 

เมื่อปัจจัยด้านหนึ่งด้านใดเปลี่ยน ฝ่ายจัดการจะต้องทําการประเมินและปรับเปลี่ยนแนวทางการบริหารความเสี่ยงให้เหมาะสมอย่างทันท่วงที่ ไม่ควรรอจนถึงกําหนดตารางเวลาที่ตายตัว ความเสี่ยงมีทั้งประเภทที่วัดเป็นเชิงปริมาณได้และวัดไม่ได้ ซึ่งเป็นความเสี่ยงเชิงคุณภาพ และต้องพิจารณาโดยใช้วิจารณญาณและประสบการณ์ แต่ความเสี่ยงทั้งสองประเภทอาจมีผลกระทบต่อธุรกิจพอๆ กัน

ความเสี่ยงเชิงคุณภาพได้แก่ :=

ไม่มีแผนการสร้างทายาทในการบริหารที่เพียงพอ

วัฒนธรรมองค์กรเปลี่ยนแปลง

มีการคดโกงทุจริต

กระทําผิดกฎหมาย .

ไม่คํานึงถึงชือเสียงและค่านิยมขององค์กร

การฝึกอบรมและพัฒนาพนักงานไม่เพียงพอ

เทคโนโลยีล้าสมัย

ได้รับการแนะนําปรึกษาที่ผิดพลาด

ความเสี่ยงเชิงคุณภาพนี้ ถ้าผู้บริหารไม่ใส่ใจที่จะป้องกัน ถ้ามีเหตุการณ์เกิดขึ้น อาจนําความเสียหายมาสู่ธุรกิจได้มหาศาล โดยเฉพาะกิจการที่เป็นบริษัทจดทะเบียน ซึ่งราคาหุ้นอ่อนไหวต่อความเชื่อมันของผู้ลงทุน บางครั้ง ความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรือประมาทของบุคคลเพียงคนเดียว อาจก่อให้เกิดเหตุร้ายแรงได้

โดยสรุปแล้ว ความเสี่ยงนั้น แม้จะตั้งอยู่บนความไม่แน่นอน แต่ก็เป็นเรื่องที่สามารถจะจัดการให้เกิดความเสียหายน้อยที่สุดได้ หรือในบางโอกาสการเข้าเสี่ยงในบางเรื่อง ด้วยจังหวะเวลาที่เหมาะสม กลับนําผลได้มาสู่กิจการก็มีอยู่บ่อยๆ

การนําเทคนิคต่างๆ ในการบริหารความเสี่ยงมาใช้ ขึ้นอยู่กับลักษณะของธุรกิจ เช่น ธุรกิจสถาบันการเงิน จะมีความพร้อมในเรื่องระบบและวิธีการมากกว่ากิจการประเภทอื่น โดยมีเครื่องมือและวิธีการบริหารความเสี่ยงต่างๆ เช่น ความเสี่ยงในการให้สินเชื่อ (Credit Risk) ความเสี่ยงด้านตลาดเงิน (Market Risk) ความเสียงด้านอัตราดอกเบี้ย (Interest Rate Risk) ความเสี่ยงด้านปฏิบัติการธุรกรรมต่างๆ (Operational Risk) ความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง (Liquidity Risk) เป็นต้น

โดยทั่วไปแล้ว กิจการที่มีระบบการควบคุมภายในที่ครอบคลุมกิจกรรมด้านต่างๆ ก็ถือเป็นเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงได้ชนิดหนึ่ง อย่างไรก็ตาม การบริหารความเสี่ยงนั้น ไม่ใช่เป็นเรื่องที่เมื่อจัดวางระบบบริหารแล้ว จะสามารถครอบคลุมความเสี่ยงได้ทั้งหมด แต่เป็นเรื่องละเอียดอ่อน ที่ต้องอาศัยทั้งหลักการทางวิชาการและปรัชญาการบริหารที่ตั้งอยู่บนความไม่ประมาทและสุขุมรอบคอบผสมผสานด้วยกันตลอดเวลา จึงจะทําให้กิจการสามารถดําเนินไปได้อย่างมั่นคงและรุ่งเรื่องในระยะยาว โดยปราศจากความสูญเสียที่ไม่ควรเกิดขี้น

ขอบคุณบทความดีดีจาก คุณ พรสรัญ รุ่งเจริญกิจกุล

แนะนำบทความ   เคล็ดลับการสร้างความมั่นคั่ง

โรงพิมพ์ เจอาร์

+1
0
+1
0
+1
0
+1
0
+1
0
+1
0
+1
0