รัฐบาลต้องเก็บภาษีเงินได้ เพราะว่ารัฐบาลต้องบริการสาธารณะหลายอย่าง และการป้องกันประเทศ เป็นตัน รัฐบาลจึงต้องเก็บภาษี เพื่อให้มีงประมาณ (แม้ว่าในทางเศรษฐศาสตร์ ภาษีก่อให้เกิดต้นทุนทางสังคมเสมอ)
ส่วนรัฐบาลควรเก็บภาษีมากหรือน้อย เป็นเรื่องที่ยังเถียงกันไม่จบ แต่สรุปแล้ว แทบไม่มีใครไม่เห็นด้วยว่า รัฐบาลยังต้องเก็บภาษีอยู่ มากหรือน้อยอีกเรื่องหนึ่ง แต่นอกจากเหตุผลเรื่องบริการสาธารณะแล้ว ยังมีแนวคิดอิกอย่างหนึ่งเกียวกับหน้าทีของภาษีที่มาแรงไม่แพ้กัน คือ ภาษีถือเป็นวิธีการกระจายรายได้รูปแบบหนึ่ง ที่ใช้ลดความเหลือมล้ำในสังคม แนวคิดนี้ทําให้มีการเก็บภาษีในอัตราก้าวหน้า คือ คนรวยต้องจ่ายภาษีในอัตราสูงกว่าคนจน แล้วนําภาษีมาท่าสวัสดิการสังคมต่างๆ เป็นการกระจายรายได้โดยทางอ้อม พักหลังดูเหมือนหน้าที่นี้ของภาษีจะมาแรงขึ้นเรื่อยๆ และเป็นกันทั่วโลกด้วย จนแทบจะกลายเป็นจุดประสงค์หลักของภาษีไปแล้ว
ผมไม่ขอแสดงความเห็นว่า การกระจายรายได้มากๆ เป็นเรืองดีหรือไม่ดี แต่สมมติว่า เราต้องการใช้ภาษีเป็นเครื่องมือกระจายรายได้ทีดีจริงๆ มีบางอย่างที่ผมเห็นว่าควรปรับปรุงเกี่ยวกับระบบภาษีเงินได้ของเราครับ
อย่างแรกเลยคือ การกระจายรายได่โดยอาศัยอัตราภาษีเงินได้แบบก้าวหน้า กล่าวคือ อัตราภาษีเงินได้อยู่ที่ 0-37% ซึนอยู่กับรายได้สุทธิของแต่ละคน อันนี้ฟังคูแล้วก็เหมือนจะดี แต่ในทางปฏิบัติ วิธีนี้ทําให้เกิดการกระจายรายได้แค่เฉพาะจากคนชั้นกลางไปสู่คนจนเท่านั้น แทบไม่มีผลอะไรกับคนรวยเลย เพราะอะไรจึงเป็นเช่นนั้น?
ก็เพราะว่ารายได้ที่เอามาใช้ค่านวณเพื่อคิดภาษีในส่วนนี้ส่วนใหญ่คือ รายได้ประเภทเงินเดือนประจํา และพวกค่าวิชาชีพตางๆ คน ทิ่มีรายได้ประเภทนี้เป็นหลักคือ คนชั้นกลาง เท่านั้น เพราะคนชั้นกลางคือ พวกมนุษย์เงินเดือน (หรืออย่างมากก็พวกวิชาชีพ เช่น หมอ ทนายความ เป็นต้น) ส่วนคนที่รวยจริงๆ นั้น มักจะมีรายได้ส่วนใหญ่ในรูปของผลตอบแทนจากสินทรัพย์ เป็นหลัก ได้แก่ เงินปันผลของบริษัท ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร เงินปันผลในหั้้น ค่าเช่า ฯลฯ ตนรวยต้องเป็นนายทุน) เงินได้ส่วนนี้มักหัก ณ ที่จ่ายได้ที่ 20-15% เท่านั้น หรืออยางมากทีสุดก็เสียภาษีผ่านทางภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ อัตรา 30% ฉะนั้นคนรวยจริงๆ จะเสียภาษีเพียงแคราวๆ 20-15% ของรายใต้รวมเท่านั้น พวกเขาอาจมีรายได้ในรูปของเงิน เดือนอยุบ้าง แต่ว่าน้อยมาก เมือเทียบกับรายได้ทั้งหมดของพวกเขาเท่ากับว่า ทุกวันนี้คนที่เสียภาษีหนักที่สุด ไม่ใช่คนรวย แต่เป็นคนชั้นกลางระดับบนที่เสียภาษีมากถึง 379 ของรายได้ คนที่รวยกว่านั้นกลับเสียภาษีแค่ประมาณ 10-15% ของรายได้รวมเท่านั้น คิดแล้วยังน้อยกว่าคนชั้นกลางระดับกลางที่ต้องเสียภาษี 20-30% ของเงินเดือนเสียอีก ดังนั้นใครอยากขึ้นภาษีเพื่อกระจายรายได้มากขึ้น อัตราภาษีที่ควรจะเพิ่มมากที่สุดน่าจะเป็นเงินได้พวกดอกเบี้ย เงินปันผล หรือค่าเช่า รวมทั้งเริ่มต้นภาษีที่ดิน และภาษีมรดก ซึ่งเป็นภาษีของคนรวยจริงๆ ที่ทุกวันนี้ใม่ต้องเสียภาษีเลยสักบาท ทําให้คนรวยเป็นกลุ่มคนที่เสียภาษีน้อยมากๆ เมือเทียบกับรายได้ อัตราภาษีพวกนี้ใมจําเป็นต้องขึ้นให้มากกว่าภาษีเงิน ได้อัตราก้าวหน้าขั้นสูงสุดของคนชั้นกลางก็ได้ (มีแนวคิดด้วยว่า คนรวยย้ายถิ่นฐานได้ง่าย ถ้าถูกเก็บภาษิมากเกินไปก็อาจพากันไปลงทนที่อื่น) แต่ควรจะมากกว่าทีเป็นอยู่ แค่ขึ้นอัตราภาษีพวกนี้นิดเดียว รัฐบาลก็มีรายได้เพิ่มชื้นมหาศาลแล้ว ส่วนภาษีเงินได้อัตราก้าวหน้าสูงสุดที่ 37% นั้น ผมกลับเห็นว่า ควรจะลดลงด้วยซ้า เพราะแม้คนขั้นกลางระดับบนจะมี ฐานะค่อนข้างดี แต่พวกเขาก็ต้องเหนื่อยและเครียดกว่าคนทั่วไปมากกว่าจะหาเงินเหล่านี้มาได้ (ผู้บริหารระดับสูงหมอ ที่ปรึกษา) ไม่ใช่เงินที่เกิดจากการรอเก็บดอกผลของสินทรัพย์แบบพวกดอกเบี้ย หรือเงินที่ชาติกําเนิดบันดาล
มาให้แบบมรดก จึงน่าจะให้รางวัลพวกเขามากกว่าที่จะลงโทษครับทุกวันนี้ คนไทยที่เสียภาษีเงินได้มีไม่ถึง 59 ของประชากรทั้งหมด ดังนั้นแม้อัตราภาษีเงินได้แบบก้าวหน้าของไทยจะไม่สูงนัก แต่ก็ถือวาโหดมากแล้วในแงของการกระจายรายได้ บางคนบอกว่าทําไมไทยไมเก็บภาษีเงินได้แบบโหดๆ แล้วเอามาทําสวัสดิการสังคมดีๆ แบบกลุ่มประเทศนอร์ติกบ้าง แต่อยาลืมว่า ในประเทศที่พัฒนาแล้ว คนส่วนใหญ่เป็นคนชั้นกลาง คนส่วนใหญ่จึงเป็นผู้เสียภาษี (สหรัฐ มีผู้เสียภาษีเกิน 50% ของประชากร) ถ้ารัฐบาลเก็บภาษีสูงๆ เพื่อมาทําสวัสดิการสังคม เงินส่วนใหญ่จะกลับมาที่คนกลุ่มเดิม แต่ถ้าเราทําอย่างเขาบ้างไม่รู้ว่าจะก่อให้เกิดผลกระทบอย่างไรต่อความรู้สึกไม่พอใจระหว่างชนชั้น ซึงทุกวันนี้ก็เป็นเรื่องทือ่อนไหวมากอยูแล้ว สําหรับสังคมไทยครับ
ขอบคุณบทความดีดีโดย : คุณ นรินทร์ โอพฬารกิจอนันต์ ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ 5 ตุลาคม 2554