ประวัติการบัญชี
บัญชี หรือ การบัญชี เป็นการวัดผลการดำเนินงาน การเปิดเผยสิ่งที่สำรองไว้ เพื่อประกันเกี่ยวกับข้อมูลทางการเงิน ซึ่งจะเป็นประโยชน์กับผู้ใช้ข้อมูลเหล่านี้ เช่น ผู้บริหาร นักลงทุน เจ้าหน้าที่สรรพากร รวมถึงผู้ที่กำลังตัดสินใจในการลงทุนอื่นๆ
การบัญชีการเงิน เป็นส่วนหนึ่งของการบัญชี ซึ่งรวมถึงวิธีการดำเนินงานทางด้านการบันทึก, แยกประภทหมวดหมู่, การสรุปผลการดำเนินงาน, การจัดทำรายงานหรืองบการเงิน รวมถึงการวิเคราะห์ข้อมูลด้วย
การบัญชีเกิดขึ้นตั้งแต่สมัยสุเมเรียนในดินแดนเมโสโปเตเมีย ในช่วงแรกๆก็เป็นแค่การเก็บข้อมูลเกี่ยวกับปริมาณผลผลิตทางการเกษตร กับมูลค่าเหล่านั้น ส่วนวิชาการบัญชีที่มีพื้นฐานเหมือนกับระบบคณิตศาสตร์ (ระบบบัญชีคู่ ซึ่งหมายถึงการบันทึกข้อมูลทางด้านการเงินโดยมีการบันทึกทั้งด้านบวก (เดบิท หรืออาจเรียกว่าการบันทึกบัญชีทางด้านซ้าย) กับ ด้านลบ (เครดิท หรืออาจเรียกว่าการบันทึกบัญชีทางด้านขวา)โดยที่การบันทึกแต่ละครั้งจะต้องมียอดรวมด้านบวกรวมกับด้านลบเป็นศูนย์) เกิดขึ้นในประเทศอิตาลีก่อนปี ค.ศ.1543 โดย Luca Pacioli ได้พิมพ์หนังสือชื่อว่า Vennice ซึ่งเป็นหนังสือเกี่ยวกับการบันทึกบัญชี โดยพื้นฐานของการบัญชีทั้งหมดมาจากสมการว่า “สินทรัพย์ = หนี้สิน+ทุน” ส่วนรายได้และค่าใช้จ่ายถือเป็นส่วนหนึ่งของทุน
การตรวจสอบบัญชี เป็นงานที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบความถูกต้อง เชื่อถือได้ ของรายงานทางบัญชี ระบบบัญชี และส่วนที่เกี่ยวข้องกับการทำให้เกิดข้อมูลทางบัญชี ซึ่งจะแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ ผู้ตรวจสอบภายใน และผู้ตรวจสอบภายนอกหรือผู้สอบบัญชีรับอนุญาต
ผู้ตรวจสอบภายใน จะเป็นพนักงานของกิจการนั้น ซึ่งจะขึ้นตรงกับคณะกรรมการสูงสุดของกิจการ เนื่องจากไม่ต้องการให้อยู่ภายในอำนาจการควบคุมของระดับล่างๆ ซึ่งจะมีผลให้มีการตกแต่งรายงานได้ รวมถึงยังเป็นอิสระกับการรายงานเรื่องทุจริตในกิจการได้ด้วย
ผู้สอบบัญชีภายนอก จะไม่เป็นพนักงานของกิจการ มีความเป็นอิสระจากการควบคุมของกิจการเพื่อให้มีผลต่อการตกแต่งรายงาน และยังช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถืออีกด้วย ตามกฎหมายของไทยบังคับให้แต่ละกิจการต้องมีผู้สอบบัญชีภายนอกรับรองความถูกต้องของรายงาน หรืองบการเงินด้วย
ในปัจจุบันผู้สอบบัญชีภายนอก แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ประกอบด้วย
1.ผู้สอบบัญชีภาษีอากร สามารถสอบบัญชีห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล และห้างหุ้นส่วนจำกัด ที่มีสินทรัพย์ และรายได้ในงวดนั้น ไม่เกินกว่า 30 ล้าน และต้องไม่มีทุนจดทะเบียนเกินกว่า 5 ล้านบาท
2.ผู้สอบบัญชีที่รับรองทั้วไป สามารถสอบบัญชีกิจการที่เป็น ห้างหุ้นส่วนที่ผู้สอบบัญชีภาษีอากรไม่สามารถสอบได้ และสอบบัญชีบริษัทจำกัดได้ แต่การสอบบัญชีสหกรณ์ และบริษัทมหาชน จะต้องมีใบอณุญาติเพิ่มเติม
ผู้จัดทำบัญชีต้องจัดทำข้อมูลทางบัญชีตามมาตรฐานการบัญชีที่รับรองทั่วไป(GAAP) ส่วนผู้ตรวจสอบบัญชีจะต้องตรวจสอบตามมาตรฐานการสอบบัญชี ซึ่งมาตรฐานเหล่านี้จะจัดทำโดย สภานักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาต
กฎหมายการบัญชี
กฎหมายการบัญชี จะกำหนดหน้าที่และความรับผิดชอบในการจัดทำบัญชีแก่บุคคล หรือนิติบุคคลเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาเศรษฐกิจการค้า และเพื่อให้สอดคล้องกับระบบภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรเดิมมีการใช้ ประกาศของคณะปฎิวัติ ฉบับที่ 285 เป็นกฎหมายการบัญชี แต่ต่อมากฎหมายดังกล่าวล้าสมัยมาก ไม่เหมาะกับสภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน จึงมีการตราพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 ขึ้นใช้เป็นกฎหมายการบัญชี ล่าสุดมี พรบ.วิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 เพื่อกำหนดให้การจัดทำบัญชีถือเป็นวิชาชีพเฉพาะ สำหรับผู้ที่เรียนมาทางด้านนี้โดยเฉพาะเท่านั้น
ขอบคุณบทความดีดี จาก : วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี http://th.wikipedia.org
คลิกดู โรงพิมพ์ JR