ทำลายสินค้า
ภาษี t

ทำลายสินค้าอย่างไร เป็นที่ยอมรับของสรรพากร

81 / 100

ทำลายสินค้า

ทำลายสินค้าอย่างไร เป็นที่ยอมรับของสรรพากร

เมื่อใดที่ท่านขายสินค้าแล้วได้รายได้กลับมาการขายสินค้านั้นจะต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่หากสินค้าชำรุดเสียหาย ล้าสมัย แล้วท่านต้องการนำไปบริจาค ท่านจะต้องเสียภาษีหรือไม่ ถ้าได้คำตอบว่าต้องเสียเพราะประมวลรัษฎากรถือเป็นการ “ ขาย ” แต่ถ้าเราอยากได้คำตอบว่าไม่ต้องเสียภาษี จะทำอย่างไร คำตอบก็คือต้องเป็นการ “ ทำลาย ” สินค้าเท่านั้น

     คำว่า “ ทำลาย ” คำอธิบายที่ชัดแจ้งคือการทำให้สินค้า “ไม่มี” หรือไม่อยู่ในสภาพที่เป็นสินค้า เช่น การเผา การทุบ การบด การตัดเป็นชิ้นๆ การเท ฝัง กลบ(กรณีเป็นของเหลว) เป็นต้น แต่ถ้าสินค้ายังมีตัวตนเป็นสินค้าให้เห็น ไม่ถือเป็นการทำลาย เช่น การนำสินค้าชำรุดไปบริจาคหรือมอบให้หน่วยงานต่างๆ ซึ่งเมื่อไม่ใช่การทำลายสินค้า แต่ใช้วิธีไปมอบให้คนอื่นแทน ภาษีจะตามมาเจอจนได้ต้องระวังให้ดี  เพราะฉะนั้นหากจะทำลาย ก็แปลว่าต้องทำลายให้หมดไปจริง ๆ

   การทำลายสินค้าจะไม่มีภาระภาษีใด ๆ ทั้งสิ้นไม่ว่าจะเป็นภาษีเงินได้นิติบุคคล หรือภาษีมูลค่าเพิ่ม (ไม่ต้องนำส่งภาษีขายเนื่องจากการทำลายสินค้าไม่ได้ก่อให้เกิดรายได้ที่จะต้องนำมาเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล  ตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากรและไม่ถือเป็นการขายสินค้าหรือการให้บริการที่จะต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 77/2 แห่งประมวลรัษฎากร โดยผลของการทำลายสินค้าจะทำให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมีสิทธินำมูลค่าต้นทุนของสินค้าที่ถูกทำลายมาลงเป็นรายจ่ายในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลในรอบระยะเวลาบัญชีที่ทำลายได้  และนอกจากนี้ สำหรับภาษีซื้อที่เกี่ยวกับสินค้าดังกล่าวก็ไม่มีผลตามกฎหมายที่จะทำให้เป็นภาษีซื้อต้องห้าม  ก็หมายความว่า  ภาษีซื้ออันเกี่ยวกับสินค้าดังกล่าวซึ่งผู้ประกอบการจดทะเบียนได้นำไปหักออกจากภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว  ก็ไม่มีกฎหมายกำหนดว่าให้เป็นภาษีซื้อต้องห้ามเมื่อได้มีการทำลายสินค้าในภายหลังสรุปก็คือ ขอเครดิตภาษีซื้อแล้วก็แล้วไป (ต้องดูว่าสินค้านั้นเป็นสินค้าอยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่มด้วย)

   ปัญหาในทางปฏิบัติก็คือ จะทำลายสินค้าอย่างไรจึงจะเป็นที่ยอมรับของเจ้าพนักงานประเมินของกรมสรรพากร นี่คือปัญหาของผู้ประกอบการซึ่งเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลทั้งหลาย แต่ไม่ต้องกังวลใจเพราะกรมสรรพากรได้วางแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการทำลายสินค้าไว้ตาม คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 79/2541 ฯ ลงวันที่ พฤศจิกายน พ.. 2541  ซึ่งสรุปหลักเกณฑ์ได้ดังนี้

กรณีที่ 1

 การทำลายสินค้าที่เสื่อมคุณภาพสินค้าที่มีตำหนิ สินค้าที่หมดสมัยนิยม สินค้าที่หมดอายุ ที่โดยสภาพไม่สามารถเก็บรักษาไว้ได้ เช่น ผลิตภัณฑ์อาหาร เวชภัณฑ์ เคมีภัณฑ์ เป็นต้น บริษัท ฯ ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังนี้

    (ต้องมีการตรวจสอบสินค้าดังกล่าวว่าเสียหายตามเงื่อนไขที่แต่ละกิจการได้กำหนดไว้หรือไม่ และต้องได้รับอนุมัติจากผู้มีอำนาจในการพิจารณาให้เป็นสินค้าเสียหายตามเงื่อนไขที่กำหนดดังกล่าว

 

    กรณีสินค้าที่ได้รับคืน บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจะต้องมีเอกสารหลักฐานการรับคืนสินค้าซึ่งระบุรายละเอียดของสินค้าที่รับคืน เช่น วันเดือนปีที่รับคืน ปริมาณสินค้า ชนิดสินค้า หรือรหัสสินค้า สาเหตุที่รับคืนสินค้านั้น และได้มีการลงลายมือชื่อพนักงานที่รับคืนสินค้าด้วย เมื่อมีการนำสินค้าที่รับคืนมาเก็บไว้พร้อมรอทำลาย ให้พนักงานฝ่ายคลังสินค้าที่เก็บรักษาสินค้าเสียหายตรวจนับและลงลายมือชื่อกำกับไว้พร้อมทั้งแจ้งให้ฝ่ายบัญชีรับทราบด้วย

    (เมื่อได้รับอนุมัติให้ทำลายของเสียหรือสินค้าหรือเศษซากจากผู้มีอำนาจอนุมัติให้ทำลายแล้ว ให้มีบุคคลอย่างน้อยประกอบด้วย ฝ่ายคลังสินค้าฝ่ายบัญชี ฝ่ายขายหรือฝ่ายตรวจนับ(ถ้ามี) ร่วมสังเกตารณ์  และลงลายมือชื่อเป็นพยานในการทำลาย เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการบันทึกบัญชี พร้อมทั้งให้เชิญผู้สอบบัญชีมาเป็นพยานในการทำลาย ทั้งนี้ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลไม่จำเป็นต้องแจ้งให้เจ้าหน้าที่สรรพากรร่วมเป็นพยานในการทำลายได้

กรณีที่ 2

  การทำลายสินค้าที่เสื่อมคุณภาพสินค้าที่มีตำหนิ สินค้าที่หมดสมัยนิยม สินค้าที่หมดอายุ ที่โดยสภาพสามารถเก็บรักษาและรอการทำลายพร้อมกันได้เมื่อมีปริมาณที่เหมาะสม บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เช่นเดียวกับกรณีที่ เพียงแต่ว่ากรณีนี้ต้องแจ้งการทำลายให้สรรพากรพื้นที่ในท้องที่ที่รับผิดชอบทราบล่วงหน้าเป็นเวลา 30 วัน ก่อนวันทำลาย ซึ่งสรรพากรพื้นที่อาจส่งเจ้าหน้าที่ไปดูการทำลายด้วยก็ได้ตามความเหมาะสมของแต่ละกรณี

จะเห็นได้ว่า การทำลายสินค้าตามหลักเกณฑ์ของกรมสรรพากรดังกล่าว แม้จะเป็นแนวทางปฏิบัติซึ่งไม่ใช่กฎหมายที่จะมีผลบังคับได้ แต่ก็เป็นวิธีการที่ผู้ประกอบการได้ปฏิบัติแล้วจะทำให้ไม่มีข้อสงสัยของเจ้าพนักงานประเมินว่าได้ทำลายสินค้าจริงหรือไม่ มิฉะนั้น หากผู้ประกอบการอ้างว่าได้ทำลายสินค้าแล้วแต่ไม่มีหลักฐานที่เชื่อถือได้ ก็จะเป็นปัญหาเกี่ยวกับความเชื่อถือของเจ้าพนักงานประเมิน ซึ่งถ้าเจ้าพนักงานประเมินไม่เชื่อถือก็อาจจะมีข้อพิจารณาว่าอ้างว่าทำลายเพื่อจะไม่ต้องเสียภาษี อันอาจจะทำให้ถูกเรียกเก็บภาษีย้อนหลังก็ได้

   ทั้งนี้ สำหรับบริษัทที่อยู่ในเขตอุตสาหกรรมส่งออก หรือบริษัทที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนที่นำเข้าวัตถุดิบ การทำลายสินค้าของบริษัท ฯ ดังกล่าวก็ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของหน่วยงานที่ควบคุมหรือกำกับดูแลดังกล่าว โดยต้องผู้สอบบัญชีเป็นพยานในการทำลาย หรือรับทราบ ทั้งนี้ ให้ผู้สอบบัญชีรับรองเป็นลายลักษณ์อักษรแนบไว้ในงบดุลด้วย (ตามข้อ 3(1)(2) ของคำสัั่งกรมสรรพากรที่ ป. 791/2541)


ขอบคุณข้อมูลดีดีจาก     กรมสรรพากร

คลิกดู

   หลักเกณฑ์การตัดสินค้าที่ชำรุด หรือเสื่อมคุณภาพ ออกจากบัญชีทำอย่างไร
   เรื่องของสต็อคสินค้าที่มีผลกระทบต่อภาษี

   สินค้าส่วนที่ขาดจำนวนจากบัญชีคุมสินค้า ถือเป็นการขายสินค้าหรือไม่

   ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีสินค้าของบริษัทฯสูญหาย

โรงพิมพ์ เจอาร์

โรงพิมพ์ JR

พิมพ์ซองจดหมาย

+1
0
+1
0
+1
0
+1
0
+1
0
+1
0
+1
0