วัวธนูควายธนู
วัวธนูเป็นเครื่องรางที่ได้รับจากลัทธิฮินดู วัวธนู คือ พระโคนนทิ พาหนะของพระอิศวรเจ้าแห่งภูตผีปีศาจ ควายธนู สร้างมาจากตํานานควายทรพี ที่มีฤทธิ์อํานาจสังหารพ่อของตัวเอง ส่วนควายธนู คือ ควายของพระยม มีฤทธิ์และอํานาจเหนือภูตผีปีศาจ
คนสมัยโบราณ สร้างวัวธนู และ ควายธนูขึ้นมา เพื่อคุ้มครองบ้านเรือน ปกป้องคุ้มภัยจากโจรผู้ร้าย ขับไล่ภูตผี ไทยเรารับวิชามาจากฝั่งลาวและเขมรอีกทอดหนึ่ง
คนทางเหนือ เมื่อใช้วัวธนูแล้ว จะทำลายทิ้ง เชื่อกันว่า หากปล่อยไว้นาน วัวธนูอาจจะกลายเป็นวัวปีศาจ ที่อาละวาดทําร้ายผู้คน แต่คนทางภาคอีสานและภาคกลางจะยังคงเก็บไว้บูชาต่อไปเรื่อย ๆ
วัวธนูควายธนู เป็นหุ่นพยนต์ชนิดหนึ่ง หุ่นตัวเล็กสามารถขยายเป็นตัวใหญ่มหึมา พุ่งไปในอากาศ ดุจธนูและขวิดเป้าหมายถึงตาย ผู้มีอาคมมีไว้ใช้เฝ้าบ้าน บางคนใช้พกพาติดตัว เป็นเครื่องรางที่จําเป็นของนายพราน มีไว้ป้องกันเสือสมิง เวลาเข้าปา
ความแตกต่างระหว่างวัวธนูกับควายธนู
ควายธนู ใช้ประโยชน์ทางป้องกันตัวเอง และกําราบศัตรู วิธีการสร้าง ควายธนู มักมาจากไม้เขี่ยศพ เถ้ากระดูกผีตายโหง ดินจากป่าช้า เป็นต้น นํามาสร้างเป็นควายตัวเล็กๆ ทําการปลุกเสก จนกระทั่งกระดุกกระดิกเคลื่อนไหวได้ ในคืนเดือนมืดเท่านั้น
เมื่อสร้างเสร็จ จะทําการทดสอบฤทธิ์ โดยปล่อยควายธนูให้ไปต่อสู้กับควายจริงๆ ที่ชาวบ้านเลี้ยงไว้กลางทุ่ง เพราะเหตุที่ควายธนูมีความดุร้าย จึงไม่เป็นที่นิยม เพราะอาจถูกอาถรรพณ์ของควายธนูทําร้ายถึงแก่ชีวิตได้
ส่วนวัวธนู ใช้บันดาลโชคลาภให้แก่ผู้บูชา ใช้เฝ้าบ้าน ทรัพย์สิน ป้องกันอัคคีภัย พกติดตัวป้องกันเสนียดจัญไร ป้องกันภูตผีปีศาจ ป้องกันคุณไสย การสร้างวัวธนู มักเลือกวันเพ็ญ วัวทองแดง สร้างขึ้นมาจาก แร่ทองแดงบริสุทธิ์ ตะปูโลงศพ ดีบุก เงินปากผี นํามาหล่อเข้าด้วยกันเป็นรูปวัวลักษณะมงคล หรือกระทิงโทนแล้วนํามาลงอักขระยันต์
วัวขี้ผึ้ง ปั้นจากขี้ผึ้งปิดหน้าศพ ผสมกับขี้เถ้าหรือดินจากป่าช้า ปั้นเป็นรูปวัว แล้วเสกคาถา
วัวไม่ไผ่ ทำมาจากไม้ไผ่ มาสานเป็นวัวธนู ปลุกเสกจดหันหัวไปซ้ายไปขวาได้ ผู้เลี้ยงต้องดูแลอย่างดี หากเลี้ยงอย่างไม่ถูกต้อง วัวธนูอาจหวนมาทําร้ายเจ้าของ
วัวแกะ มักจะแกะมาจากเขาวัวตาย งาช้าง นอแรดและเขี้ยวหมูตัน
วัวสาน สร้างจากดอกไม้หรือหวาย เป็นวัวธนูที่ทําแบบหยาบๆให้ออกมาเป็นรูปวัวมีเขาและขาพอเป็นรูปว่าง
มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับ วัวธนู และควายธนูสู้กับเสือสมิง สมัยโบราณนั้น มีเสือสมิงชุกชุมอยู่ในป่า เที่ยวไล่กัดกินผู้คน วันหนึ่งมีพระเดินธุดงค์เข้าไปในป่าลึก ตกเย็น มองเห็นวัดร้างแห่งหนึ่ง อยู่ไม่ไกล ตั้งใจว่าจะใช้เป็นที่พักค้างคืน ระหว่างทาง ได้พบกับชายชรานุ่งขาวห่มขาวคนหนึ่ง ซึ่งขอติดตามพระธุดงค์ไปด้วย
ระหว่างเดินทาง ชายชราหยิบมีดหมอจากย่ามฟันกิ่งไผ่ ใส่ไว้ในย่าม เมื่อถึงวัดร้างมีพระภิกษุ 4 รูปพํานักอยู่ก่อนแล้ว แต่ทั้ง 4 รูปนั่นไม่ได้เอ่ยปากทักทาย หรือสนใจพระธุดงค์กับชายชราแต่อย่างใด
พระภิกษุทั้ง 4 นั่นแววตาดูคล้ายกับสัตว์ร้าย จึงรีบพาพระธุดงค์เข้าไปในโบสถ์ร้าง และปิดประตูหน้าต่างลงกลอน ชายชรารีบสานไม้ไผ่เป็นรูปวัว และบอกให้พระธุดงค์ทําวัตรเย็น เมื่อตะวันลับฟ้า ก็มีเสียงของเสือหลายตัวคําราม ส่งเสียงหายใจครีดคราดพร้อมกลิ่นสาบลอยเข้ามา และเสียงตะกุยตะกายที่ประตู ชายชราจึงลุกขึ้นไปที่ประตูโบสถ์ สอดไม้ไผ่รูปวัวธนูออกไปตามรูช่องประตู หลังจากนั้นก็ได้ยินเสียงของสัตว์ต่อสู้กันอย่างรุนแรง
ครั้นรุ่งเช้า เมื่อเปิดประตูอุโบสถ์ออกมา ปรากฏเห็นเสือโคร่งตัวใหญ่ 4 ตัวนอนตายไส้ทะลักออกมา ชายชราได้บอกกับพระธุดงค์ว่า พระภิกษุทั้ง4 ล้วนเป็นเสือสมิง สังเกตได้ว่าที่คอยังมีผ้าเหลืองพันอยู่ทุกตัว
เสือสมิง เคยเป็นมนุษย์ แต่มีความหลงใหล งมงายในไสยศาสตร์รําเรียนวิชาเสือสมิงจนติดใจ จิตก็แปรเปลี่ยนกลายเป็นสัตว์ไปแล้ว
บ้างก็ว่า เสือกินคนเข้าไปมาก จนวิญญาณคนสิงสู่อยู่ในตัวเสือ สามารถเปลี่ยนร่างเป็นคนและสร้างภาพหลอนเพื่อหลอกล่อเหยื่อได้
การเซ่นไหว้วัวธนู
บูชาโดยตั้งเป็นคอก มีแก้วนําและหญ้าสดหรือหญ้าคา 7-9
ก้านเป็นเครื่องเซ่น
แต่ละใบต้องทําการขมวดปลาย ขณะขมวดปลายนั่นให้กลั้นหายใจ
แล้วท่องพระคาถาอุปคุตมัดมารสั้นๆ ว่า
‘อิมัง อังคะพันธะนัง อธิฏฐามิง‘
ขอบคุณบทความดีดีจาก หนังสือ เครื่องรางของขลัง
แนะนำบทความ เบี้ยแก้ของขลังคู่กาย