การรับรองบัญชี
การบัญชี t

การรับรองบัญชี

81 / 100

การรับรองบัญชี

การตรวจสอบและรับรองบัญชี

การตรวจสอบและรับรองบัญชีเพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรนั้น ได้กำหนดให้มีขึ้นตั้งแต่ปี 2496 เป็นต้นมา โดยได้มีการเพิ่มบทบัญญัติมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร

ในเบื้องต้น กรมสรรพากรยังไม่ได้กำหนดบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มี หน้าที่ต้องจัดทำบัญชีงบดุล บัญชีทำการ และบัญชีกำไรขาดทุน ต้องจัดให้มีการตรวจสอบและรับรองบัญชีเพื่อการยื่นแบบแสดงรายการและเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากฐานกำไรสุทธิ หรือแบบ ภ.ง.ด. 50

ต่อมาในปี 2523 อธิบดีกรมสรรพากร ได้ออกประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับการตรวจสอบและรับรองบัญชี เรื่องกำหนดระเบียบเกี่ยวกับการตรวจสอบและรับรองบัญชีตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 19 มิถุนายน 2523 โดยให้มีผลใช้บังคับทั่วราชอาณาจักร

สำหรับการตรวจและรับรองบัญชีเพื่อยื่นต่อเจ้าพนักงานประเมินพร้อมกับแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้ สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่สิ้นสุดในหรือหลังวันที่ 31 ธันวาคม 2523 เป็นต้นไป โดยกำหนดให้ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยการผู้สอบบัญชีเป็นผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีดังกล่าว

ครั้นพอถึงปี 2543 กรมทะเบียน การค้าในสมัยนั้น ได้ปรับปรุงยกเลิกกฎหมาย ว่าด้วยการบัญชี หรือ ป.ว. 285 พ.ศ. 2515 โดยพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 ซึ่งตามมาตรา 11 วรรคท้าย ได้กำหนดให้มีการออกกฎกระทรวงเพื่อกำหนดจำนวนทุน สินทรัพย์และรายได้ ทุกรายการของห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยซึ่งได้รับยกเว้นไม่ต้องจัดให้งบการเงินได้รับการตรวจสอบและแสดงความเห็นโดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาต

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้ออกกฎกระทรวงว่าด้วยการยกเว้นไม่ต้องจัดให้งบการเงินได้รับการตรวจสอบและแสดงความเห็นโดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาต พ.ศ. 2544กำหนดให้ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยที่มีทุนชำระแล้วในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกิน 5 ล้านบาท และมีสินทรัพย์ไม่เกิน 30 ล้านบาท และมีรายได้ไม่เกิน 30 ล้านบาท ในรอบระยะเวลาบัญชีที่สิ้นสุดในหรือหลังวันที่ 31 ธันวาคม 2545 เป็นต้นไป

ด้วยเหตุผลสำคัญประการหนึ่ง คือ ในประเทศไทยมีผู้สอบบัญชีรับอนุญาตไม่เพียงพอที่จะให้บริการแก่ห้างหุ้นส่วนขนาดเล็กที่งบการเงินยังไม่มีนัยสำคัญหรือมีจำนวนเงินที่มากเพียงพอแก่การที่ต้องตรวจสอบและรับรองบัญชี

สำหรับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยขนาดเล็ก ได้แก่ ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนที่มีทุนชำระแล้วในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกิน 5 ล้านบาท และมีสินทรัพย์ไม่เกิน 30 ล้านบาท และมีรายได้ไม่เกิน 30 ล้านบาท ได้รับยกเว้น ไม่ต้องจัดให้งบการเงินได้รับการตรวจสอบและแสดงความเห็นโดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในรอบระยะเวลาบัญชีที่สิ้นสุดในหรือหลังวันที่ 31 ธ.ค. 45 เป็นต้นมา
ซึ่งมีเหตุผลสำคัญ คือ ในประเทศไทยมีผู้สอบบัญชีรับอนุญาตไม่เพียงพอที่จะให้บริการ และห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนขนาดเล็กดังกล่าวมีงบการเงินยังไม่มีนัยสำคัญหรือมีจำนวนเงินที่มากเพียงพอแก่การที่ต้องตรวจสอบและรับรองบัญชี
คงปล่อยให้เป็นภาระความรับผิดชอบของผู้จัดทำบัญชีของห้างหุ้นส่วนดังกล่าว ที่ต้องรับรองว่างบการเงินของห้างฯ เป็นไปตามมาตรฐาน หรือเข้า “แกป” (GAAP)
สำนวน “ทำอะไรไม่เข้าแกป” จึงหมายถึงการไม่มีมาตรฐาน หรือไม่ได้ตามมาตรฐาน เพราะ แกป หมายถึง หลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป หรือมาตรฐานการบัญชี
เมื่อกฎหมายว่าด้วยการบัญชีมีผลใช้บังคับในวันที่ 10 ส.ค.43 ก่อให้เกิดความกระเพื่อมไหวหรือมีผลกระทบต่อการบริหาร จัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลของกรมสรรพากร ที่อาศัยพื้นฐานการตรวจสอบและรับรองบัญชี งบดุล บัญชีทำการ และบัญชีกำไรขาดทุน โดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (ซีพีเอ) มาตั้งแต่ปี 23 จนชินว่า ต้องมีผู้ตรวจสอบและรับรองงบการเงินมาชั้นหนึ่งก่อนที่จะยื่นแบบแสดงรายการและเสียภาษีเงินได้ให้แก่กรมสรรพากร
ดังเป็นที่ทราบกันว่า แม้จะแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร กำหนดให้อธิบดีกรมสรรพากรมีอำนาจอนุญาตให้มีบุคคลทำการตรวจสอบและรับรองบัญชี เพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรมาตั้งแต่ปี 2496 แล้วก็ตาม กรมสรรพากรก็มิได้ดำเนินการอะไร
หากแต่มีข้อสมมุติว่า ถ้าผู้ต้องเสียภาษีจัดทำบัญชีตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป ก็จะนำไปสู่การเสียภาษีอากรที่ถูกต้องครบถ้วนได้ จึงได้กำหนดให้ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยการสอบบัญชี เป็นผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีงบดุล บัญชีทำการ และบัญชีกำไรขาดทุนทางภาษีอากรอีกชั้นหนึ่ง
เมื่อทางบัญชีมาละทิ้งห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนขนาดเล็ก ว่าไม่ต้องจัดให้มีการตรวจสอบและรับรองบัญชีเสียแล้ว กรมสรรพากรจึงต้องลุกขึ้นมาดำเนินการอะไรกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนขนาดเล็กดังกล่าว
และแล้ว คำว่า “ผู้สอบบัญชีภาษีอากร” หรือ ทีเอ (Tax Auditor)ก็บังเกิดขึ้นตั้งแต่ปี 44 เป็นต้นมา

ขอบคุณบทความดีดีโดย :   คุณสุเทพ พงษ์พิทักษ์
ขอบคุณบทความดีดีจาก : คอลัมภ์มุมภาษี นสพ.เดลินิวส์ วันที่ 20 ตุลาคม 2551 และ 27 ตุลาคม 2551

 

คลิกเพื่อดู   โรงพิมพ์ JR

จ้างสำนักงานบัญชีหรือทำเอง

โรงพิมพ์ เจอาร์

 

+1
0
+1
0
+1
0
+1
0
+1
0
+1
0
+1
0