ทำบุญ
ทำบุญ

ทำบุญ 7 วัน 50 วัน 100 วัน

82 / 100

ทำบุญวันพระ  

เฉพาะวันพระขึ้น 15 ค่ำ เป็นวันที่ยมโลกหยุดลงทัณฑ์ทรมานสัตว์นรก 1 วัน สัตว์นรกจึงมีทุกขเวทนาเบาบาง มีโอกาสระลึกถึงบุญกุศลที่ตนเคยทำ และอนุโมทนาในส่วนบุญที่มีผู้อุทิศมาให้ได้อย่างเต็มที่

ส่วนผู้ตายที่ไปเกิดในภพภูมิของเทวดา ก็จะนิยมมาฟังธรรมในวันพระและตรวจดูการทำบุญกุศลและอนุโมทนาบุญกับผู้ที่ทำความดีในโลกมนุษย์

ทำบุญวันครบรอบวันตาย 7 วัน   

ในกรณีที่ผู้ตายไปแล้ว เป็นผู้ที่ทำกรรมดีและชั่วไม่มากพอ บุญบาปที่ตนทำในโลกนี้ยังไม่ส่งผลในทันทีผู้ตายจะวนเวียนอยู่ ๗ วัน เพื่อให้มีโอกาสระลึกถึงบุญกุศล

และเจ้าหน้าที่ยมโลก (กุมภัณฑ์)กำลังผลัดเปลี่ยนเวรกัน ระหว่างที่รอเจ้าหน้าที่ซึ่งจะพาตัวไปยมโลก หากผู้ตายระลึกถึงบุญกุศลที่ตนเคยทำได้ หรือ หากญาติมิตรทำบุญอุทิศให้อย่างถูกวิธี และผู้ตายนึกอนุโมทนาบุญด้วย ผลบุญนั้นก็จะพาไปเกิดในภพภูมิที่ดีๆ โดยไม่ต้องไป ยมโลกนรก อนึ่งผู้ตายที่ทำบาปกรรมไว้ เมื่อครบ 7 วันผู้ตายต้องกลับมา ณ สถานที่ตาย หากเห็นญาติมิตรทำบุญให้ก็จะอนุโมทนาบุญ และจะไปสู่สุคติได้

วันครบรอบวันตาย 50 วัน   

ในกรณีที่ผู้ตายถูกเจ้าหน้าที่ยมโลกพาไปยมโลกแล้ว ช่วงระหว่างเวลา50 วันหลังจากตาย คือช่วงเวลาที่ผู้ตายกำลังรอคอยลำดับคิวการพิพากษา ตั้งแต่ถูกพาตัวไปจากมนุษย์โลก ผ่านประตูยมโลก อยู่หน้าลานรอขานชื่อเพื่อเข้าพบ *พระยายมราช

*พระยายมราช
คือ เทพชั้นจาตุมหาราชิกาประเภทหนึ่ง ที่มีกรรมเกี่ยวพันด้านกฎหมาย ชอบตัดสินคดีความด้วยความซื่อสัตย์ ตอนสมัยเป็นมนุษย์และทำบุญ หรือเมื่อทำบุญแล้วก็ตั้งความปรารถนาไว้ว่าอยากทำหน้าที่นี้

ทำบุญ

 วันครบรอบวันตาย 100 วัน  

ช่วงเวลาระหว่าง 51 ถึง 100 วันคือช่วงกำลังถูกพิพากษา พระยายมราชจะซักถามความประพฤติ
ตอนสมัยที่เป็นมนุษย์ และจะส่งไปเกิด เช่น ไปเกิดในยมโลก และมหานรก หรือไปเป็นมนุษย์ เทวดา เป็นเปรตอสุรกาย สัตว์ดิรัจฉาน

ตามกรรมที่ปรากฏเป็นภาพหน้าบัลลังก์ของพระยายมราช ช่วงนี้ถ้าญาติอุทิศบุญให้ก็ยังรับบุญได้ เพราะฉะนั้นญาติมิตรในโลกมนุษย์จึงควรศึกษาวิธี..

 อุทิศส่วนกุศล

ให้ถูกวิธี รีบทำบุญทุกบุญอย่างเต็มกำลัง และอุทิศส่วนกุศลให้ในวันดังกล่าว บุญกุศลไม่เพียงส่งถึงผู้ล่วงลับ แต่อานิสงส์แห่งบุญย่อมเกิดขึ้นกับเราผู้ทำบุญนั้นด้วย

วิธีนับวันตาย

เพื่อทำบุญครบ ๗ วัน ๕๐ วัน หรือ ๑๐๐ วันนั้น ให้นับวันตายเป็นวันที่ ๑ เช่น ถ้าตายวันจันทร์ ก็นับวันจันทร์เป็นวันที่ ๑ วันอังคารเป็นวันที่ ๒ วันพุธเป็นวันที่ ๓ วันพฤหัสบดีเป็นวันที่ ๔ วันศุกร์เป็นวันที่ ๕ วันเสาร์เป็นวันที่ ๖ และวันอาทิตย์เป็นวันที่ ๗ การทำบุญครบ ๗ วัน จึงกำหนดทำในวันอาทิตย์ที่ ๗ (แต่ก็มีผู้รู้บางท่านให้ความเห็นว่าการทำบุญครบ ๗ วันนิยมให้ล่วงไปแล้ว ๗ วันก่อน ฉะนั้น จึงถือเอาวันที่ ๘ (วันจันทร์) เป็นวันทำบุญครบ ๗ วัน อย่างนี้ก็มี) อย่างไรก็ตาม พิธีทำบุญครบ ๗ วัน ๕๐ หรือ ๑๐๐ วันนี้

นิยมทำกันอยู่ ๒ ลักษณะ คือ ทำวันเดียว กับทำสองวัน

กรณีทำวันเดียว

เจ้าภาพก็นิมนต์พระสงฆ์ ๕ รูป หรือ ๗ รูป หรือ ๙ รูป (ส่วนใหญ่นิยม ๗ รูป) มาสวดพระพุทธมนต์ และเลี้ยงพระให้เสร็จสิ้นในวันเดียวคือวันที่ ๗ (หรือจะทำในวันที่ ๘ ตามความเห็นของผู้รู้บางท่านก็ได้) โดยมีทั้งการสวดพระพุทธมนต์ และเลี้ยงพระในวันเดียวกัน อาจจะทำตอนเช้าหรือตอนเพลก็ได้

กรณีทำสองวัน

เจ้าภาพก็นิมนต์พระสงฆ์ ๕ รูป หรือ ๗รูป หรือ ๙ รูป (ส่วนใหญ่นิยม ๗ รูป) มาสวดพระพุทธมนต์เย็นในวันที่ ๗ ส่วนวันที่ ๘ ก็เลี้ยงพระเช้า หรือเพล โดยจะจัดให้มีการแสดงพระธรรมเทศนาด้วยก็ได้

วิธีนับวันตาย เพื่อทำบุญครบ ๕๐ วัน หรือ ๑๐๐ วัน ก็ใช้วิธีนับแบบเดียวกับทำบุญครบ ๗ วัน และมีรูปแบบการทำบุญเหมือนกัน คือ จะทำ ๑ วัน หรือ ๒ วันก็ได้

สำหรับการเลื่อนวันทำบุญนั้น ถ้ามีความจำเป็นก็สามารถเลื่อนได้ โดยทั่วไปก็นิยมเลื่อนเข้ามามากกว่าจะเลื่อนออกไป เช่นในกรณีที่ตายวันจันทร์ที่ ๑ ถ้าไม่สะดวกที่จะทำบุญครบ ๗ วันในวันอาทิตย์ที่ ๗ ก็เลื่อนเข้ามาทำบุญในวันเสาร์ที่ ๖ แทน อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้เจ้าภาพไม่ควรกังวลใจจนเกินไป เพราะพระพุทธศาสนาไม่ได้ให้ความสำคัญในเรื่องวันเท่าใดนัก จะเลื่อนเข้าหรือเลื่อนออกอย่างไร ก็ขอให้ยึดถือความพร้อมของเจ้าภาพและพระสงฆ์เป็นเกณฑ์ไว้ การประกอบพิธีจึงจะเป็นไปด้วยความราบรื่น

แนะนำบทความ   วิธีสร้างบุญบารมี

โรงพิมพ์ เจอาร์

+1
0
+1
0
+1
1
+1
0
+1
0
+1
0
+1
0