ความรับผิดชอบของกรรมการบริษัท
หลายคนเป็นกรรมการบริษัท ด้วยความตั้งใจ เนื่องจากเป็นธุรกิจของตนเอง แต่หลายคน เป็นกรรมการบริษัท เพราะถูกบังคับจากญาติพี่น้อง เพื่อนฝูง หรือผู้บังคับบัญชา เลยตกกระไดพลอยโจน ต้องไปเป็นกรรมการบริษัทโดยที่ตัวเองมิได้เข้าไปบริหารงาน หลังจากเป็นกรรมการบริษัทจึงเกิดความรับผิดตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
1. เมื่อเป็นกรรมการบริษัท โปรดสอดส่องดูแลบริษัทด้วยความระมัดระวังตาม ป.พ.พ. มาตรา 1168
2. การทำหน้าที่กรรมการ ต้องทำตามวัตถุประสงค์ของบริษัท ถ้าทำนอกวัตถุประสงค์ต้องรับผิดเป็นการส่วนตัว ดังนั้น จึงต้องดูว่าสิ่งที่ตัวเองทำไปนั้น อยู่ในวัตถุประสงค์ของบริษัทหรือไม่
3. ถ้ากรรมการกระทำไปตามวัตถุประสงค์ของบริษัท และเกิดความเสียหาย ไม่ต้องรับผิดเป็นการส่วนตัว ตาม ป.พ.พ. มาตรา 820
4. ถ้ากรรมการกระทำไปโดยประมาทเลินเล่อ หรือจงใจทำให้บริษัทได้รับความเสียหาย ต้องรับผิดเป็นการส่วนตัว ตาม ป.พ.พ. 823
5. ห้ามกรรมการบริษัทไปทำธุรกิจที่มีลักษณะเดียวกัน เช่น ขายสินค้าแบบเดียวกันและเป็นการแข่งขัน กับบริษัทเพื่อประโยชน์ของตนเองเป็นการส่วนตัวหากฝ่าฝืน ต้องรับผิดตาม ป.พ.พ. 1038
6. กรรมการบริษัทสั่งจ่ายเช็ค ประทับตราบริษัท เพื่อชำระหนี้ให้แก่บุคลภายนอก ถ้าเช็คเด้ง จะต้องรับผิดทางอาญาต่างหากอีกส่วนหนึ่ง ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการ ใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4
7. ดังนั้น ถ้าไม่อยากติดคุกติดตะราง ก็อย่าไปเกี่ยวข้องกับกรรมการของบริษัทจะเป็นการดีที่สุด
8. ถ้ากรรมการบริษัทไปรับรองการเงินอันเป็นเท็จ ก็อาจจะติดคุกติดตะรางถ้าเข้าข่ายในลักษณะจงใจหลบเลี่ยงภาษี ก็ต้องรับผิดทางอาญาอีกส่วนหนึ่ง
ขอบคุณบทความดีดีจาก : รายการทนายคลายทุกข์ http://www.decha.com