กัญชา
ูดูแลสุขภาพ t

กัญชา ฆ่ามะเร็งและประโยชน์อีก 30 ข้อ

87 / 100

กัญชา

กัญชา ฆ่ามะเร็งและประโยชน์อีก 30 ข้อ

สรรพคุณของกัญชา

  1. ตำรายาไทยจะใช้เมล็ดกินเป็นยาชูกำลัง ช่วยเจริญอาหาร แต่ถ้ากินมากจะมีอาการหวาดกลัวและหมดสติ (เมล็ด)[2]
  2. ยอดอ่อนเมื่อนำมาสกัดด้วยแอลกอฮอล์ จะได้สารที่เรียกว่า ทิงเจอร์แคนเนบิสอินดิคาซึ่งเป็นน้ำยาสีเขียว เมื่อกินเข้าไปประมาณ 5-15 หยด จะมีสรรพคุณเป็นยาช่วยรักษาโรคที่เกี่ยวกับระบบประสาท เป็นยาสงบเส้นประสาท ทำให้นอนหลับ เคลิ้มฝัน แก้โรคสมองพิการ เป็นยาระงับปวด และเป็นยาแก้อักเสบ (ยอดอ่อน)[1],[3]
  3. ดอกใช้เป็นยาแก้โรคเส้นประสาท เช่น นอนไม่หลับ คิดมาก หรือใช้กับผู้ป่วยที่เบื่ออาหาร โดยนำมาปรุงเป็นอาหารให้กิน (ดอก)[1],[3]
  4. ใบใช้เป็นยาแก้ไข้ผอมเหลือง ไม่มีกำลัง ตัวสั่น เสียงสั่น (ใบ)[2]
  5. ใบกัญชา ใช้เป็นยารักษาโรคหอบหืด ช่วยขยายหลอดลมและลดการหดตัวของหลอดลม ด้วยการนำใบสดมาหั่นให้เป็นฝอย แล้วเอาไปตากแห้ง จากนั้นจึงนำมาสูบเป็นยารักษาโรค (ใบ)[1]
  6. ใช้ดอกผสมกับยาฉุนพญามือเหล็ก นำมาหั่นแล้วสูบเป็นยาช่วยกัดเสมหะในลำคอ (ดอก)[1]
  7. เมล็ดใช้เป็นยาแก้กระหายน้ำ (เมล็ด)[3]
  8. น้ำยาสีเขียวที่สกัดได้จากยอดอ่อนด้วยแอลกอฮอล์ มีสรรพคุณเป็นยาแก้โรคบิด แก้ปวดท้อง และโรคท้องร่วง (ยอดอ่อน)[1],[33] ส่วนเมล็ดก็มีสรรพคุณเป็นยาแก้บิดเช่นเดียวกับยอด (เมล็ด)[3]
  9. เมล็ดมีสรรพคุณเป็นยาแก้ท้องผูก ใช้เป็นยาแก้ท้องผูกในคนสูงอายุได้ดี ด้วยการใช้เมล็ดซึ่งมีน้ำมัน 30% ให้ใช้ร่วมกับตัวยาอื่น ๆ ในตำรับยา (เมล็ด)[3]
  10. ยาพื้นบ้านล้านนาจะใช้เมล็ดกัญชาจำนวน 3 เมล็ด นำมาผสมกับพริกไทย 3 ผล บดให้เป็นผง ใช้ผสมกับน้ำกินทุกคืนเป็นยาคุมกำเนิดสำหรับสตรี (เมล็ด)[2]
  11. ช่วยแก้ประจำเดือนไม่ปกติของสตรี (ทั้งต้น)[3]
  12. ทั้งต้นใช้ภายนอกเป็นยาแก้โรคผิวหนังกลากเกลื้อน (ทั้งต้น)[3]
  13. ใช้เป็นยาแก้กล้ามเนื้อกระตุก (ทั้งต้น)[3]
  14. ช่วยลดอาการเจ็บปวดจากโรคไขข้ออักเสบ[11]
  15. นอกจากสรรพคุณที่กล่าว ในทางการแพทย์ยังใช้ประโยชน์จากกัญชาในการรักษาโรคและบรรเทาอาการอย่างหลากหลาย เช่น ใช้แก้ปวดหัวไมเกรน แก้อาการสั่นเพ้อ แก้อาการไอ อ่อนล้า ปวดประจำเดือนของสตรี โรคข้อ หรือกระทั่งโรคมะเร็งบางชนิด[8]
  16. ช่วยลดอาการเจ็บปวดจากโรคไขข้ออักเสบ[11]
  17. นอกจากสรรพคุณที่กล่าว ในทางการแพทย์ยังใช้ประโยชน์จากกัญชาในการรักษาโรคและบรรเทาอาการอย่างหลากหลาย เช่น ใช้แก้ปวดหัวไมเกรน แก้อาการสั่นเพ้อ แก้อาการไอ อ่อนล้า ปวดประจำเดือนของสตรี โรคข้อ หรือกระทั่งโรคมะเร็งบางชนิด[8]

ขนาดและวิธีใช้ : ใช้ต้มรับประทาน โดยต้นแห้งให้ใช้ครั้งละ 10-20 กรัม หรือใช้ร่วมกับตัวยาอื่น ๆ ในตำรับยา ส่วนเมล็ดให้ใช้ครั้งละ 10-15 กรัม[3]

ข้อควรระวัง : ในกรณีที่รับประทานมากเกินไป จะทำให้เกิดอาการประสาทหลอน มีอาการชัก ตาลาย หรือกลายเป็นเสพติด ในผู้ชายหากรับประทานมากเกินไปจะทำให้น้ำกามเคลื่อน ส่วนสตรีที่รับประทานมากเกินไปจะทำให้เกิดอาการตกขาว[3]

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของกัญชา

สารที่พบในกัญชา คือสาร cannabinol, cannabidiol, tetrahydrocannabinol (THC) และยังพบน้ำมันระเหยอีก เช่น cannabichromenic acid, linolledie acid, lecihin, น้ำมัน, โปรตีน, วิตามินบี 1, วิตามินบี 2, choline เป็นต้น[3]

  • ยางจากช่อดอกเพศเมียมีสารเสพติดหลายชนิด เช่น tetrahydrocannabinol[2],[3]
  • กลุ่มนักวิทยาศาสตร์ได้นำสาร THC มาศึกษาทดลองทางคลินิก โดยนำมาใช้รักษาในหลายอาการ เช่น ลดอาการปวด ลดอาการลดเกร็งและชักกระตุกของกล้ามเนื้อ อาการของโรคทางกระเพาะปัสสาวะ โรคลมชัก โรคพาร์กินสัน โรคอัลไซเมอร์ ซึ่งผลการตอบสนองของการรักษาเป็นไปในทิศทางที่ดี[5]
  • สาร cannabinol มีฤทธิ์ทำให้เคลิ้มฝัน ความจำเสื่อม ยับยั้งการจับตัวของเกล็ดเลือด[2],[3]
  • สารในกลุ่ม cannabinol มีฤทธิ์ระงับอาการปวด พบว่าผู้ชายที่สูบกัญชาวันละ 8-20 มวน เป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ จำนวนเชื้อของอสุจิจะลดลง[2],[3]
  • เมล็ดกัญชาที่สกัดด้วยแอลกอฮอล์ แล้วนำมาแยกสารจากแอลกอฮอล์อีกที จะได้สารที่มีลักษณะเป็นสารเหนียวคล้ายกับนมผึ้ง เมื่อนำมาฉีดเข้าในลำไส้เล็กของแมวที่ถูกทำให้สลบ ในปริมาณ 2 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม จะพบว่าหลังจากฉีดยาผ่านไปแล้วครึ่งชั่วโมง ความดันโลหิตจะลดลงไปครึ่งหนึ่งจากระดับปกติ แต่มีระดับการหายใจปกติ ไม่มีเปลี่ยนแปลง[3]
  • จากการทดลองในห้องแล็บ พบว่า cannabidiol สามารถรักษาแผลในเซลล์ลำไส้ที่เกิดจากอาการอักเสบของโรค Crohn’s disease ได้ เนื่องจากมันมีคุณสมบัติเป็นตัวดูดซับอนุมูลอิสระซึ่งเป็นอันตรายต่อเซลล์ cannabidiol จึงช่วยชะลอการทำงานของเซลล์ภูมิต้านทาน microglia ที่อาจจะถูกกระตุ้นจากอนุมูลอิสระมากเกินไปและทำให้เกิดการอักเสบมากขึ้น โดยการทดสอบนี้เกิดขึ้นในสมองและตา จากการทดสอบในตาจึงอาจนำไปสู่การใช้ในผู้ป่วยเบาหวานที่กำลังจะสูญเสียตาได้อีกด้วย[14]
  • จากการทดลองของนักวิทยาศาสตร์จากมาดริด ประเทศสเปน ได้พบว่าสาร THC สามารถฆ่าเซลล์มะเร็งในสมอง ผิวหนัง และตับอ่อนได้ โดย THC จะทำลายกระบวนการเกิดมะเร็ง โดยเนื้อร้ายจะสร้างร่างแหเส้นเลือดขึ้นเลี้ยงตนเองและป้องกันไม่ให้เซลล์มะเร็งเคลื่อนย้ายไปที่อื่น จากนั้นสาร THC จะเข้าไปจับกับโปรตีนรีเซพเตอร์บนผิวเซลล์มะเร็ง กระตุ้นเซลล์สร้างสารประเภทไขมันที่เรียกว่า “ceramide” แล้วทำให้เซลล์ทำลายตัวเอง โดยไม่ส่งผลต่อเซลล์ดี และรายงานก่อนหน้านี้ยังแสดงให้เห็นว่า THC สามารถต่อสู้กับมะเร็งเต้านมและโรคลูคีเมียได้อีกด้วย นอกจากนี้ยังมีการทดสอบกัญชากับเบาหวาน, โรคอักเสบตามข้อต่อ, การอุดตันของเส้นเลือดเลี้ยงสมอง, โรคจิตเสื่อม, และโรคลมบ้าหมูอีกด้วย สาร THC สามารถช่วยเร่งให้หนูทดลองลืมประสบการณ์ที่ไม่ดีได้เร็ว สำหรับในคนสาร THC ที่อยู่ในรูปแคปซูลจะทำให้นอนหลับดีขึ้น และหยุดฝันร้ายได้[14]

กัญชา

กัญชา

ประโยชน์ของกัญชา

ในอดีตที่ผ่านมากัญชาถูกนำไปผสมกับอาหารเพื่อช่วยกระตุ้นให้เจริญอาหาร ทางการแพทย์จึงเลือกใช้สาร THC ที่มีสูตรโครงสร้างทางเคมีชื่อว่า Dronabinol นำมาประยุกต์ใช้กับผู้ป่วยโรคมะเร็งและผู้ป่วยโรคเอดส์ที่ได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด ซึ่งพบว่าสามารถช่วยลดอาการคลื่นไส้อาเจียนของผู้ป่วยกลุ่มนี้ และทำให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารได้ดียิ่งขึ้น[5]

  1. ในปัจจุบันมีการนำกัญชามาใช้เป็นยาลดความดันในนัยน์ตาของคนที่เป็นต้อหิน (glaucoma) แต่ผลที่ได้ยังไม่ชัดเจน และยังต้องรอการพิสูจน์อยู่ นอกจากนี้ยังมีการนำสารสำคัญในเรซินมาใช้เป็นยาระงับการอาเจียนที่เกิดขึ้นในคนที่เป็นโรคมะเร็ง ซึ่งได้รับการรักษาโดยวิธีเคมีบำบัด (chemotherapy)[4]
  2. การที่ร่างกายได้รับสาร Cannabinoids ในปริมาณที่เหมาะสม จะสามารถช่วยป้องกันการเกิดอาการซึมเศร้าที่มีสาเหตุมาจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในผู้สูงอายุได้ เนื่องจากสาร Cannabinoids จะช่วยปรับสมดุลต่าง ๆ ในร่างกาย ทำให้ผู้ใช้มีความสุข ใจเย็นลง และลดการแสดงพฤติกรรมรุนแรงในทางด้านอารมณ์ (หากใช้ในปริมาณที่เหมาะสม)[10]
  3. จากงานวิจัยพบว่า สาร THC สามารถยับยั้งเซลล์เอเบตาโปรตีนไม่ให้ผลิตสารพิษที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคอัลไซเมอร์ได้ เพราะฉะนั้นกัญชาจึงสามารถป้องกันการเกิดอัลไซเมอร์ได้[12]
  4. จากการศึกษาพบว่า กัญชามีสรรพคุณในการฆ่าเซลล์มะเร็งและทำให้เนื้อร้ายในสมองเหี่ยวลดลงได้ โดยจากการศึกษาของสำนักปราบปรามยาเสพติดแห่งชาติอเมริกัน แสดงให้เห็นว่า สารสกัดของกัญชาสามารถช่วยให้คนไข้ตอบสนองกับการบำบัดด้วยการฉายรังสีดีขึ้น ส่วนการทดลองกับสัตว์ ก็พบว่าสารจากกัญชาสามารถฆ่าเซลล์มะเร็งบางชนิดได้ ทำให้เนื้อร้ายหดเหี่ยวลง โดยมีหลักฐานว่า สารสกัดจากกัญชาสามารถทำให้เนื้อร้ายในสมองชนิดที่ร้ายแรงที่สุดมีขนาดลดลง ซึ่งสารสกัดเหล่านี้เมื่อนำมาใช้ควบคู่กับการฉายแสง จะทำให้ฤทธิ์ในการฆ่ามะเร็งมีเพิ่มมากขึ้นด้วย[13]
  5. จากการทดลองล่าสุดแสดงให้เห็นว่า สารสกัดจากกัญชาอาจสามารถรักษาโรคที่เกิดจากการอักเสบของสมองและไขสันหลัง หรือโรคที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบอื่น ๆ หรือแม้แต่อาจช่วยทำลายเนื้องอกที่อาจกลายเป็นมะเร็งได้ จากการวิจัยพบว่า คนไข้ที่รับ THC หรือสารสกัดจากกัญชาอีกตัวที่เรียกว่า cannabidiol (CBD) สามารถช่วยลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อและอาการสั่น สามารถทำให้นอนหลับ และมีการเคลื่อนไหวที่ดีขึ้น อีกทั้ง CBD ยังออกฤทธิ์ได้นานกว่าการใช้สเตียรอยด์หรือยาแก้อักเสบอีกด้วย จึงทำให้ในแคนาดามีการใช้สเปรย์ที่มีส่วนผสมของ cannabinoid เพื่อรักษาโรคที่เกิดจากการอักเสบของสมองและไขสันหลัง (Multiple Sclerosis – MS)[14]
  6. สาร cannabinoid ที่พบในกัญชาอาจมีความสัมพันธ์กับระบบการเผาผลาญของร่างกาย โดยพบว่าในผู้ที่สูบกัญชาจะเป็นโรคอ้วนและโรคเบาหวานน้อยกว่าคนที่ไม่เคยสูบ โดย Ms. Penner และคณะ ได้ทำการศึกษาความสัมพันธ์ของการสูบกัญชากับระดับน้ำตาลในเลือดในอาสาสมัครจำนวน 4,657 ราย (แบ่งเป็น กลุ่มกำลังสูบ, กลุ่มที่เคยสูบแต่เลิกแล้ว และกลุ่มที่ไม่เคยสูบ) ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มที่สูบกัญชามีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำกว่ากลุ่มที่ไม่เคยสูบกัญชาร้อยละ 16 นอกจากนั้นยังพบว่ามีค่า HOMA-IR ต่ำกว่าร้อยละ 17 ระดับคอเลสเตอรอล HDL หรือไขมันชนิดดี สูงกว่า 1.63 mg/dL และมีรอบเอวเล็กกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนกลุ่มที่เคยสูบแต่เลิกไปแล้ว ไม่พบว่ามีการลดลงของระดับน้ำตาลเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ไม่เคยสูบ จากการทดลองดังกล่าว จึงสันนิษฐานได้ว่า ผลของกัญชาที่ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดจะมีผลเฉพาะในช่วงที่ใช้กัญชาเท่านั้น[16]
  7. เส้นใยของลำต้น สามารถนำมาใช้ในการทอผ้าหรือทอกระสอบได้ ซึ่งจะได้ผ้าที่มีคุณภาพดี มีความเหนียวสูง มีค่าการต้านแรงดึงสูง มีความยืดหยุ่น มีแรงบิดสูง น้ำหนักเบา และมีความคงทนมาก นิยมใช้ทำเสื้อเกราะ วัสดุก่อสร้าง อุปกรณ์รถยนต์[1],[4]
  8. ทุกวันนี้บริษัททำกระดาษของอเมริกาและญี่ปุ่น ต้องทำลายป่าไม้ปีละกว่า 50,000 ตารางกิโลเมตร แต่การปลูกกัญชาซึ่งเป็นพืชที่มีวงชีวิตเพียง 120 วัน สามารถที่จะปลูกได้ 10 ตันต่อพื้นที่ 2 ไร่ ภายในเวลาเพียง 4 เดือน ซึ่งปลูกได้เร็วกว่าฝ้าย 4 เท่า และให้น้ำหนักมากกว่าฝ้ายถึง 3 เท่า อีกทั้งกัญชายังไม่ต้องใส่ปุ๋ย ไม่ต้องใช้ยาฆ่าแมลง และยังช่วยเพิ่มคุณภาพของดิน โดยจากการศึกษาพบว่า กัญชาสามารถปลูกและนำมาทำกระดาษได้มากเป็น 4 เท่าของการทำไม้ยืนต้น เส้นใยมีคุณภาพที่ดีกว่า ไม่ต้องใช้คลอรีนเหมือนการทำจากไม้ ซึ่งจะทำให้เกิดสารไดออกซิน ส่วนที่เหลือจากการทำเส้นใยก็สามารถนำมาผสมกับปูนขาวและน้ำ ก็จะได้วัสดุที่เบาและแข็ง มีความทนทานกว่าปูนซีเมนต์ (มีการกล่าวกันว่า กระดาษที่ใช้พิมพ์คัมภีร์ไบเบิล ธงชาติอเมริกัน หรือกางเกงยีนส์ลีวายที่ลือชื่อ แต่เดิมก็ทำมาจากป่านที่ได้จากต้นกัญชาทั้งสิ้น)[15]
  9. ใบจากพืชชนิดนี้สามารถนำมาใช้เลี้ยงสัตว์ได้[15]
  10. น้ำมันที่ได้จากเมล็ดจะเป็นน้ำมันไม่ระเหย (fixed oil) ซึ่งสามารถนำมาใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม เช่น ใช้ทำสีทาบ้าน ทำสบู่ เป็นต้น[1]
  11. นอกจากนี้ เศษหรือกากที่ได้จากการสกัดเอาน้ำมันจากเมล็ดออกแล้ว ยังใช้เป็นอาหารของโค กระบือ ได้อีกด้วย[1]

โทษของกัญชา

ในเบื้องต้นการเสพกัญชาจะมีฤทธิ์กระตุ้นประสาท ทำให้ผู้เสพมีอาการร่าเริง ช่างพูด ตื่นเต้น หัวเราะตลอดเวลา ต่อมาจะมีฤทธิ์กดประสาท ทำให้ผู้เสพมีอาการคล้ายเมาเหล้าอย่างอ่อน เซื่องซึม และง่วงนอน หากเสพเข้าไปในปริมาณมากจะหลอนประสาททำให้เห็นภาพลวงตา หูแว่ว หวาดระแวง ความคิดสับสน และควบคุมตัวเองไม่ได้ ในบางรายอาจไม่รู้จักตนเองหรือไม่เข้าใจสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัว[7]

  • การเสพกัญชาแม้เพียงระยะสั้น ผู้เสพบางรายอาจสูญเสียความทรงจำได้ เพราะกัญชาจะทำให้สมองและความจำเสื่อม เกิดความสับสน วิตกกังวล และหากผู้เสพเป็นผู้ที่มีอาการทางจิตด้วยแล้ว ก็จะมีความเสี่ยงมากกว่าคนปกติทั่วไปด้วย โดยอาการทางจิตประสาทที่พบได้บ่อย ๆ คือ สมาธิสั้น ความจำแย่ลง มีปัญหาในการตัดสินใจ และบางคนอาจมีปัญหาเรื่องการทรงตัว นอกจากนี้ยังส่งผลอื่น ๆ ต่อร่างกายด้วย เช่น ม่านตาหรี่ ตาแดง มีความผิดปกติของระบบทางเดินหายใจ หัวใจเต้นเร็ว เป็นต้น[7]
  • กัญชามีฤทธิ์ทำลายสมรรถภาพทางกาย ผู้เสพในปริมาณมากเป็นระยะเวลานานจะทำให้ร่างกายเสื่อมโทรมจนไม่สามารถทำงานได้ โดยเฉพาะงานที่ต้องใช้ความคิด การตัดสินใจ และแรงงาน สารในกัญชาจะทำลายระบบการทำงานของอวัยวะในร่างกายหลายส่วน ทำลายระบบการสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกาย จึงทำให้ร่างกายอ่อนแอ ทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ได้ง่าย เช่น โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง มีอาการเพลีย ทำให้น้ำหนักตัวลด ฯลฯ[7]
  • กัญชายังมีฤทธิ์ทำลายความรู้สึกทางเพศ ทำให้ระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนในชายลดลง ทำให้ปริมาณอสุจิน้อยลง ผู้เสพจึงมักมีปัญหาเสื่อมสมรรถภาพทางเพศในที่สุด[7]
  • ทำให้เกิดโรคมะเร็งปอด เนื่องจากผู้เสพอัดควันกัญชาเข้าไปในปอดลึกนานหลายวินาที[7] แต่อย่างไรก็ตาม ก็มีข้อมูลที่ระบุว่า การสูบกัญชานั้นไม่ก่อให้เกิดโรคมะเร็งปอดเพราะแม้การสูบกัญชาจะทำให้ร่างกายได้รับน้ำมันดิบที่เกิดจากการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งปอด แต่ในกัญชานั้นมีสาร THC ที่มีฤทธิ์ในการลดการอักเสบที่เกิดจากน้ำมันดินได้ จึงเป็นสาเหตุให้การสูบกัญชาไม่ก่อให้เกิดโรคมะเร็งปอดเหมือนการสูบบุหรี่ทั่วไป[9]
  • การสูบบุหรี่ยัดไส้กัญชาเพียง 4 มวน จะเท่ากับการสูบบุหรี่ 20 มวน หรือ 1 ซอง มันจึงสามารถทำลายการทำงานของระบบทางเดินหายใจ ทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งได้มากกว่าคนสูบบุหรี่ธรรมดาถึง 5 เท่า ! อีกทั้งกัญชายังมีสารก่อมะเร็งที่เป็นอันตรายที่สามารถทำให้เกิดโรคมะเร็งได้ เมื่อเทียบกับบุหรี่ทั่วไปแล้ว ในกัญชาจะมีมากกว่า 50-70%[7]
  • ผู้ที่เคยเสพติดกัญชาส่วนใหญ่จะมีโอกาสป่วยเป็นโรคจิตในภายหลังมากกว่าคนที่ไม่สูบถึงร้อยละ 60 ยิ่งเสพมากและเสพเป็นเวลานานก็ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงเข้าไปอีก โดยผู้ที่เสพหนักที่สุดจะมีโอกาสเป็นโรคจิตสูงกว่าคนปกติ 4-6 เท่า ![7]
  • การขับรถในขณะเมากัญชาจะก่อให้เกิดอันตรายได้ง่ายมาก เพราะฤทธิ์ของกัญชาจะทำให้เราเสียสมาธิ ทำให้การตัดสินใจผิดพลาด การตอบสนองช้า ความสามารถในการมองเห็นสิ่งเคลื่อนที่น้อยลง จึงอาจเป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อผู้อื่น[7]
  • หญิงที่เสพกัญชาในระยะตั้งครรภ์ ทารกที่เกิดมาอาจพิการและพบความผิดปกติทางร่างกายได้ เช่น ความผิดปกติของเซลล์ประสาทในสมอง ความผิดปกติของฮอร์โมนเพศ และอาจเป็นโรคทางพันธุกรรม อีกทั้งกัญชายังมีผลเสียต่อพัฒนาการของทารกในครรภ์ เพราะกัญชามีฤทธิ์ทำลายโครโมโซมของทารก[7]
  • เมื่อร่างกายขาดยา จะเกิดอาการผิดปกติทางด้านจิตใจ เช่น มีอาการกระสับกระส่าย นอนไม่หลับ วิตกกังวล อ่อนเพลีย ฯลฯ[7]
  • การเสพกัญชาเป็นระยะเวลานานจะนำมาซึ่งภาวะไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูงและก่อให้เกิดความผิดปกติของหัวใจ ทำให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลว มีความผิดปกติทางสมองจนก่อให้เกิดอาการทางจิตประสาทตามมา ยิ่งเสพมากอาการก็จะยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้น และอาการที่แสดงให้เห็นถึงความทรมานจากการเสพกัญชาก็มีมากมาย เช่น คลื่นไส้อาเจียนอย่างรุนแรง วิงเวียนศีรษะ ปวดท้องมาก หรืออาจมีอาการแพ้ได้ เช่น เป็นผื่นคัน ตัวบวม อึดอัด หายใจลำบาก หายใจไม่ออก เป็นต้น[5]

ด้วยฤทธิ์ของกัญชาที่ทำให้เกิดการผ่อนคลาย ลดความวิตกกังวล รู้สึกสนุกสนาน เคลิบเคลิ้มมีความสุข จึงทำให้มีผู้รู้เท่าไม่ถึงการณ์และเสพติดกัญชาเป็นจำนวนมากอย่างไม่น่าเชื่อ โดยจะมีจำนวนเป็นรองก็แต่กลุ่มคนที่ติดสุรา กาแฟ และบุหรี่เท่านั้น[5]

ข้อควรรู้เกี่ยวกับกัญชา

  • โดยรวมแล้ว กัญชามีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาคล้ายกับพวกยากระตุ้นประสาท ยากดประสาท ยาหลอนประสาท ยาแก้ปวด และยาที่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท หลายประการในยาตัวเดียวกัน ผู้เสพกัญชาจึงมีอาการเคลิ้มจิต โดยในขั้นต้นมักจะเป็นอาการกระตุ้นประสาท บางคนจะมีอาการตึงเครียดทางใจหรือมีอาการกังวล ต่อมาก็มีอาการเคลิ้มจิตเคลิ้มใจ ทำให้รู้สึกว่าบรรยากาศทั่ว ๆ ไปเงียบสงบ จากนั้นก็มักจะมีปฏิกิริยาที่เปลี่ยนแปลงอย่างกะทันหัน เดี๋ยวหัวเราะลั่น เดี๋ยวสงบ ส่วนอาการอื่น ๆ ที่พบได้คือ ผู้เสพจะรู้สึกล่องลอย สับสน ปากแห้ง อยากอาหาร ชีพจรเพิ่มขึ้น ตาแดงขึ้นในขณะที่เสพ หากเสพเป็นประจำสุขภาพโดยรวมจะเสื่อมลง เป็นโรคหลอดลมอักเสบ ไซนัสอักเสบ ทางเดินหายใจอักเสบ ท้องร่วง เป็นตะคริว[6]
  • จากการศึกษาการกระจายตัวของสาร THC พบว่า การสูดดมควัน สาร THC จะถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายประมาณ 10-35% ส่วนการเสพโดยการกลืนลงในระบบทางเดินอาหาร จะถูกดูดซึมเพียง 6-20% ร่างกายจะต้องใช้เวลาประมาณ 1.6-59 ชั่วโมง ในการกำจัดปริมาณของสาร THC ในกระแสเลือด 50% โดยผ่านทางปัสสาวะและอุจจาระ[5] ฤทธิ์ของกัญชาเมื่อเสพเข้าสู่ร่างกายจะแทรกซึมเข้าสู่กระเลือดอย่างรวดเร็วภายใน 2-3 นาที และจะออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทได้สูงสุดถึง 1 ชั่วโมง อาการโดยทั่วไปจะเซื่องซึมลงอย่างช้า ๆ แต่บางรายก็ลดลงอย่างรวดเร็ว[6]
  • ฤทธิ์ของมันทำให้ผู้สูบหรือเสพเข้าไปแล้วจะทำให้ติด เกิดอาการเพ้อฝัน ความจำเลอะเลือน ตัวสั่น ทำให้เป็นคนเสียสติ เป็นคนวิกลจริตพิการ ฉะนั้นเมื่อมีการใช้ จึงควรใช้ในขนาดที่เหมาะสม[1]
  • ส่วนของกัญชาที่นำมาใช้เสพ คือ ส่วนของใบและยอดช่อดอกกัญชาเพศเมีย (กะหลี่กัญชา) เนื่องจากมีสาร THC มากกว่าส่วนอื่น โดยนำมาตากแห้งแล้วมวนเป็นบุหรี่สูบ บางคนอาจเคี้ยวใบหรือใช้เจือปนกับอาหารรับประทาน ซึ่งจะช่วยเจริญอาหารได้ ดังที่แม่ค้าขายส้มตำและอาหารอีสาน นำใบกัญชาแห้งมาต้มใส่ปลาร้า ทำให้ลูกค้าติดใจในรสชาติ
  • ผู้เสพมักเสพด้วยวิธีการสูบควัน ผ่านอุปกรณ์ที่เรียกว่า บ้องซึ่งอาจจะทำมาจากวัสดุต่างกันหลายชนิด เช่น บ้องแก้ว, บ้องไม้ไผ่ ฯลฯ โดยวิธีการสูบจะนำกัญชาที่เป็นก้อนอัดแท่งมาสับให้ละเอียด หรือเรียกว่า ยำเสร็จแล้วจึงนำผงกัญชาที่สับได้มาอัดใส่ตรงส่วนจะงอยที่ยื่นออกมาของบ้อง แล้วจุดไฟเผาโดยตรงไปที่ผงกัญชา และผู้เสพจะสูบอัดควันเข้าไปเต็มปอดให้ได้มากที่สุด ส่วนอีกวิธีหนึ่งก็คือการนำมามวนเป็นบุหรี่สูบ (ไม่เป็นที่นิยมเท่าวิธีแรก) นอกจากนี้ยังเสพด้วยการกินทั้งใบสดและใบแห้ง (ข้อมูลจาก : pantip.com by pinspin)
  • ยอดของต้นเพศเมียที่กำลังออกดอกจะเรียกว่า กะหลี่กัญชาเมื่อนำมาตากแห้งแล้ว จะนิยมนำมาใช้สูบ ซึ่งกะหลี่กัญชาจะให้เรซินซึ่งเป็นยาเสพติด (เป็นส่วนที่มีฤทธิ์มากที่สุด) ผู้ที่เมากัญชาจะมีอาการเกิดขึ้นต่างกัน ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม เช่น อาจมีอารมณ์สนุกหรืออารมณ์โศกเศร้าก็ได้ มีความรู้สึกเลอะเลือนในเรื่องเวลา บ้างมีอาการก้าวร้าว บางคนมีอาการหวาดกลัว ความคิดสับสน เกิดอารมณ์เคลิ้มฝัน โดยฤทธิ์ของกัญชานั้นจะอยู่ในร่างกายได้นาน 3-5 ชั่วโมง หลังจากนี้ผู้เสพจะมีอาการเซื่องซึมและหิวกระหาย เมื่อสร่างแล้วจะนิยมกินของหวาน ผู้ที่สูบเป็นประจำมักจะสมองเสื่อมและเป็นโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ[4]
  • จากการศึกษากลไกการออกฤทธิ์ของสาร THC ในกัญชา พบว่าสาร THC จะเข้าไปจับกับตัวรับในสมองซึ่งมีชื่อเรียกเฉพาะว่า Cannabinoid receptor ซึ่งจะส่งผลต่อความจำ การมีสติ ความคิด ความสมดุลในการเคลื่อนไหวของร่างกาย และความอยากอาหาร[5]
  • สำหรับประเทศไทยจัดให้กัญชาอยู่ในกลุ่มยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 5 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ..2522 โดยห้ามมิให้ประชาชนมีไว้ครอบครองหรือเสพ แต่อนุญาตให้ใช้ในสถานพยาบาลเท่านั้น โดยเป็นในรูปแบบของสารสกัด THC ที่มีสัดส่วนแน่นอนและได้มาตรฐานทางการแพทย์เท่านั้น[5] ผู้ใดผลิต จำหน่าย นำเข้า หรือส่งออกต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 2-5 ปี และปรับตั้งแต่ 20,000-150,000 บาท และหากครอบครองโดยมิได้รับอนุญาตจะต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ[6]
  • ในกัญชามีสารเคมี cannabinoids มากถึง 30 ชนิดอยู่จำนวนหนึ่ง โดยสารสำคัญในกลุ่มนี้ที่มีฤทธิ์ต่อจิตและประสาท คือ เตตราไฮโดรแคนนาบินอล (tetrahydrocannabinol -THC) ซึ่งสารดังกล่าวจัดอยู่ในกลุ่มวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทในประเภท 1 ตามพระราชบัญญัติวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ..2518 ผู้ใดผลิต จำหน่าย นำเข้า หรือส่งออก ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 5-20 ปี และปรับตั้งแต่ 100,000-400,000 บาท หากมีไว้ครอบครองหรือใช้ประโยชน์โดยมิได้รับอนุญาต จะต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1-5 ปี และปรับตั้งแต่ 20,000-100,000 บาท[6]
  • ยาที่สกัดจากกัญชามีรูปแบบการจัดจำหน่ายเป็นยาแคปซูลชนิดรับประทาน มีขนาดบรรจุของ Dronabinol 2.5, 5, 10 มิลลิกรัมต่อแคปซูล มีชื่อทางการค้าว่า Marinol (มารินอล) ซึ่งแพทย์จะนำมาใช้เพื่อกระตุ้นให้อยากอาหารและลดอาการคลื่นไส้อาเจียนจากเคมีบำบัดในผู้ป่วย[5]
  • ด้วยประโยชน์มากมายของกัญชา จึงทำให้ในบางประเทศ อนุญาตให้ปลูกและซื้อขายกัญชาได้อย่างถูกกฎหมาย เช่น ในสหรัฐฯ ได้ออกกฎหมายให้ 14 มลรัฐสามารถใช้กัญชาในทางการแพทย์ได้, ในเนเธอร์แลนด์อนุญาตให้มีการสูบได้อย่างถูกกฎหมาย สามารถหาซื้อได้ทั่วไป แต่ยังไม่อนุญาตให้ผลิตหรือปลูกได้เอง ในขณะที่อุรุกวัยอนุญาตให้มีการปลูกและซื้อขายกัญชาได้อย่างถูกกฎหมาย เป็นต้น[8]

กัญชาไม่ทำให้เสพติดจริงหรือ ?

จริงอยู่ที่ว่าสาร THC และสารออกฤทธิ์อื่น ๆ ที่มีอยู่ในกัญชานั้นมีฤทธิ์ทำให้เสพติดได้น้อยกว่านิโคตินค่อนข้างมาก แต่หากใช้ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน หรือแม้จะไม่ใช้ทุกวัน หรือใช้เพียงสัปดาห์ละครั้งหรือเดือนละครั้ง ก็สามารถทำให้เสพติดได้

ซึ่งจะเป็นภาวะการเสพติดโดยไม่รู้ตัว หรือที่เรียกว่า ภาวะสมองติดยาคือสมองจะค่อย ๆ ปรับตัวและสมดุลของสารเคมีในสมองนั้นจะเปลี่ยนไปอย่างช้า ๆ แม้ว่าจะไม่รวดเร็วหรือรุนแรงเท่าการออกฤทธิ์ของยาบ้า ยาไอซ์ หรือยาอีก็ตาม แต่เมื่อสารเคมีในสมองผิดปกติเป็นประจำ ในที่สุดสมองก็จะไม่สามารถกลับมาทำหน้าที่ได้อย่างปกติ ทำให้ผู้เสพมีอาการถอนยาเกิดขึ้น และต้องกลับมาเสพอีกในที่สุด

ที่หลายคนพูดว่า กัญชาเป็นยาเสพติด ที่ไม่เสพติดความจริงแล้วเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนมากกว่าความเข้าใจผิด ก่อนอื่นต้องอธิบายก่อนว่า ยาเสพติดส่วนใหญ่นั้นส่วนมากร้อยละ 90 จะเป็นสารเคมีหรือสารสังเคราะห์ (ยาบ้า, ยาไอซ์, ยาอี, สารระเหย) และอีกร้อยละ 10 จะเป็นพวกสารเสพติดที่ได้จากพืช (กัญชา, กระท่อม, ฝิ่น, ยาสูบ, เห็ดขี้ควาย) ซึ่งกลุ่มนี้จะต้องใช้ในปริมาณมากกว่ากลุ่มแรก เพราะไม่ได้สกัดเอาเฉพาะสารเคมีที่ออกฤทธิ์มาใช้ ข้อดีคือจะมีฤทธิ์เสพติดรุนแรงน้อยกว่า แต่หาซื้อได้ง่ายและราคาถูกกว่ากลุ่มแรกมาก (ข้อมูลจาก : pantip.com by pinspin)

เอกสารอ้างอิง

  1. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5.  (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม).  “กัญชาหน้า 56-57.
  2. หนังสือสมุนไพรพื้นบ้านล้านนา.  (ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล).  “กัญชา  Indian hemp, Marihuana”.  หน้า 59.
  3. หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทยจีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย.  (วิทยา บุญวรพัฒน์).  “กัญชาหน้า 62.
  4. ข้อมูลพรรณไม้, สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี.  “กัญชา.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : www.rspg.or.th/plants_data/.  [19 มิ.. 2015].
  5. หาหมอดอทคอม.  “กัญชา.  (เภสัชกร อภัย ราษฎรวิจิตร).  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : haamor.com.  [19 มิ.. 2015].
  6. กองควบคุมวัตถุเสพติด, สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข.  “กัญชา (Cannabis)”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : narcotic.fda.moph.go.th.  [19 มิ.. 2015].
  7. ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ.  “กัญชาเข้าถึงได้จาก : www.bangkokhealth.com.  [19 มิ.. 2015].
  8. Mthai.  “กัญชา สารไม่เสพติด คุณมหันต์ โทษอนันต์เข้าถึงได้จาก : news.mthai.com.  [19 มิ.. 2015].
  9. Addicting Info.  “Study Demonstrates Smoking Pot Doesn’t Cause Lung Cancer, No Matter The Frequency Or Amount”.  เข้าถึงได้จาก : www.addictinginfo.org.  [19 มิ.. 2015].
  10. National Center for Biotechnology Information, U.S. National Library of Medicine.  “Enhancement of endocannabinoid signaling and the pharmacotherapy of depression”.  (Regina A. Mangieri, Daniele Piomelli).  เข้าถึงได้จาก : www.ncbi.nlm.nih.gov.  [19 มิ.. 2015].
  11. National Center for Biotechnology Information, U.S. National Library of Medicine.  “Preliminary assessment of the efficacy, tolerability and safety of a cannabis-based medicine (Sativex) in the treatment of pain caused by rheumatoid arthritis.”.  (Blake DR, Robson P, Ho M, Jubb RW, McCabe CS).  เข้าถึงได้จาก : www.ncbi.nlm.nih.gov.  [19 มิ.. 2015].
  12. NIH Public Access Author Manuscript.  “A Molecular Link Between the Active Component of Marijuana and Alzheimer’s Disease Pathology”.  (Lisa M. Eubanks, Claude J. Rogers, Albert E. Beuscher IV, George F. Koob§, Arthur J. Olson, Tobin J. Dickerson, Kim D. Janda).
  13. ไทยรัฐออนไลน์.  “กัญชามีฤทธิ์ฆ่าเซลล์มะเร็ง.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : www.thairath.co.th.  [19 มิ.. 2015].
  14. Seppa, Nathan. “Not Just a High”. Science News, June 19, 2010.
  15. มูลนิธิหมอชาวบ้าน. นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่มที่ 193 คอลัมน์ : นานาสาระ.  (รศ.นพ.เกษียร ภังคานนท์).  “กัญชา มีอะไรมากกว่ายาเสพติด.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : www.doctor.or.th.  [19 มิ.. 2015].
  16. หน่วยคลังข้อมูลยา, คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.  “กัญชากับการลดระดับน้ำตาลในเลือด.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : www.pharmacy.mahidol.ac.th/dic/.  [22 มิ.. 2015].

ภาพประกอบ : www.flickr.com (by Isabel Fagg, mexcurandero, Miran Rijavec, Siddarth Machado, Bluecloud9, Liberty&Livity)

เรียบเรียงข้อมูลโดยเว็บไซต์   CR. เมดไทย (Medthai)

บทความแนะนำ    วิตามิน ซี ช่วยเพิ่มภูมิต้านทานโรค

 กัญชา ยับยั้งมะเร็ง (กลไกการยับยั้งมะเร็ง)

ไวรัส โคโรน่า กับ ฟ้าทะลายโจร

 

โรงพิมพ์ เจอาร์

โรงพิมพ์ เจอาร์

+1
0
+1
0
+1
0
+1
0
+1
0
+1
0
+1
0