ไม่สามารถชำระหนี้ได้ มีวิธีแก้อย่างไร
ธุรกิจไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่อาจจะต้องประสบปัญหาเงินขาดสภาพคล่อง ไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามกำหนด ไม่ว่าจะเกิดจากสาเหตุอันใด และเมื่อเกิดเหตุการณ์นี้จะมีวิธีการอย่างไร
บริษัทที่มีขนาดเล็กจะมีแนวโน้มที่จะเกิดความล้มเหลวทางธุรกิจมากกว่าบริษัทใหญ่ เนื่องจาก ถ้าบริษัทขนาดใหญ่ดำเนินธุรกิจเกิดขาดทุน จะส่งผลกระทบด้านอื่นๆ อีก แต่บริษัทขนาดเล็กจะไม่มีผลกระทบมากนัก ส่วนมากแล้วรัฐบาลจึงไม่ยอมปล่อยให้บริษัทขนาดใหญ่เกิดความล้มเหลวทางธุรกิจความล้มเหลวทางธุรกิจ คือความล้มเหลวอันเกิดจากการดำเนินธุรกิจประสบผลขาดทุน รายได้ที่รับไม่พอกับค่าใช้จ่ายที่ต้องเสีย หรืออัตราผลตอบแทนจากการลงทุนไม่คุ้มกับค่าของทุน (Deficient rate of return) อัตราผลตอบแทนที่ติดลบนี้จะเป็นสาเหตุให้กิจการตกต่ำลง ดังนั้นประเด็นหลักที่ธุรกิจต้องเผชิญอย่างรุนแรง คือไม่สามารถจ่ายชำระหนี้ได้ตามกำหนด แสดงถึงการเกิดปัญหาทางด้านกระแสเงินสด หรือปัญหานั้นเกิดจากมูลค่าสินทรัพย์มีน้อยกว่า ภาระหนี้สินที่ต้องจ่าย
ไม่สามารถชำระหนี้ได้เกิดจาก
1. การจัดการที่ไม่มีประสิทธิภาพ
2. ขาดผู้จัดการที่มีความรู้ความชำนาญเพียงพอ
3. ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำส่งผลให้ธุรกิจย่ำแย่ลง
4. ขยายกิจการมากเกินไป
5. ความหายนะภัย เช่น อัคคีภัย วาตะภัย หรือภัยธรรมชาติอย่างอื่นๆ
6. การฉ้อโกง
การแก้ไขปัญหาอย่างไม่เป็นทางการ
1. Workout คือ การตกลงกันด้วยความสมัครใจระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้ และเจ้าหนี้ยินยอมให้กิจการสามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ โดยมีการปรับปรุงฐานะทางการเงินของกิจการให้กลับมามั่นคงอีกครั้ง
2. Restructuring คือ การปรับโครงสร้างหนี้ใหม่ เช่น การเปลี่ยนหนี้บางรายการระยะสั้นเป็นระยะยาวหรือเปลี่ยนหนี้เป็นทุน
3. Extension คือ การยืดเวลาการชำระหนี้ หมายถึงเจ้าหนี้ยอมขยายกำหนดเวลาการชำระหนี้ออกไปสำหรับยอดหนี้ที่ค้างชำระ โดยเจ้าหนี้ยังได้รับชำระหนี้เต็มจำนวนอยู่ และเป็นไปได้ที่เจ้าหนี้อาจให้เงินกู้จำนวนหนึ่งแก่ลูกหนี้ เพื่อชำระหนี้การค้าในช่วงเวลาที่ขยายการชำระหนี้ด้วย (ในกรณีเจ้าหนี้จะต้องมีความเชื่อมั่นว่ากิจการลูกหนี้จะสามารถแก้ไขปัญหาที่กำลังประสบอยู่ได้)
4. Composition คือ การประนอมหนี้ หมายถึง การที่เจ้าหนี้ยินยอมลดจำนวนหนี้สินลง จำนวนหนี้ที่ยอมลดให้จะมากน้อยแค่ไหน ขึ้นอยู่กับการต่อรองระหว่างเจ้าหนี้ แม้บางครั้งจะได้รับการชำระหนี้ไม่สูงแต่ถือว่าดีกว่าไปฟ้องร้อง ซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายทางศาล และเป็นการรักษาชื่อเสียงของเจ้าหนี้ รวมทั้งกิจการลูกหนี้ก็ไม่ต้องตกเป็นการล้มละลาย
5. Assignment เป็นการเลิกกิจการอย่างไม่เป็นทางการ โดยลูกหนี้ขอเลิกกิจการกับเจ้าหนี้โดยตรง แล้วเจ้าหนี้ยินยอม ซึ่งจะมีการชำระบัญชีนำสินทรัพย์ออกขายทอดตลาด แล้วแบ่งชำระหนี้และหากมีสินทรัพย์เหลือก็จะจ่ายคืนทุน วิธีนี้จะช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่ายทำให้เจ้าหนี้ได้รับผลตอบแทนสูงกว่าและรวดเร็วกว่าการเข้าสู่กระบวนการทางศาล หรือการเลิกกิจการอย่างเป็นทางการ
ขอบคุณบทความดีดีโดย คุณศิณาภรณ์ หู้เต็ม http://gotoknow.org/blog/home-work/68910
คลิกดู โรงพิมพ์ JR