แฟรนไชส์
การตลาด t การบริหารจัดการ

แฟรนไชส์

83 / 100

แฟรนไชส์

แฟรนไชส์ เป็นรูปแบบการทำธุรกิจโดยมีบริษัทแม่และบริษัทลูก

แฟรนไชส์ เป็นการให้สิทธิ์ในการให้บริการหรือทำการผลิตสินค้าที่มีสูตรหรือส่วนประกอบเฉพาะและ/ หรือจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ภายใต้รูปแบบและเครื่องหมายทางการค้า/ บริการของแฟรนไชเซอร์ โดยมีการถ่ายทอดในระบบและวิธีการดำเนินธุรกิจแบบร้านมาตรฐานซึ่งจะมีคู่มือประกอบเพื่อใช้ในการปฏิบัติงานของทุกส่วนงานให้แฟรนไชซึ่ปฏิบัติตาม

1.นิยามของคำว่าแฟรนไชส์ (Franchise)

แฟรนไชส์ คือ กระบวนการทางธุรกิจที่องค์กรธุรกิจหนึ่งๆ ได้พัฒนาวิธีการและรูปแบบ จนได้รับการพิสูจน์ด้วยระยะเวลาแล้วว่าประสบความสำเร็จในการประกอบการและการจัดการธุรกิจในระดับหนึ่ง และถ่ายทอดสิทธิ์ในการประกอบธุรกิจ ตามวิธีการและรูปแบบดังกล่าวพร้อมกับตัวสินค้าหรือบริการ ให้กับบุคคลอื่นภายใต้ตราหรือเครื่องหมายการค้า / บริการอันหนึ่งอันใดโดยกระบวนการนี้เกี่ยวข้องกับการทำนิติกรรมระหว่างบุคคล 2 กลุ่มในข้างต้น ในบางกรณีอาจรวมถึงบุคคลอื่น

นิยามของคำว่าแฟรนไชเซอร์

แฟรนไชซอ คือ บุคคลผู้เป็นเจ้าของตราหรือเครื่องหมายการค้า / บริการ ซึ่งได้คิดค้นและพัฒนาวิธีการอันได้รับการพิสูจน์แล้วว่าประสบความสำเร็จในการประกอบการและการจัดการธุรกิจ ที่สามารถทำเลียนและดำเนินการโดยบุคคลอื่นได้

นิยามของคำว่าแฟรนไชซี่

แฟรนไชซี่ คือ บุคคลซึ่งได้รับสิทธิ์ในการจำหน่ายและการดำเนินธุรกิจ ภายใต้รูปแบบและตราหรือเครื่องหมายการค้า/ บริการ อันมีแฟรนไชซอเป็นเจ้าของ โดยแฟรนไชซี่ที่ร่วมกิจการไม่ได้อยู่ในฐานะของพนักงานหรือลูกจ้าง ตรงกันข้ามแฟรนไชซี่จะเป็นเจ้าของกิจการที่ทำหน้าที่บริหารงานสาขาตามรูปแบบที่แฟรนไชซอกำหนดและถ่ายทอดให้ซึ่งผู้เป็นแฟรนไซซี่จำเป็นต้องมีความรับผิดชอบมากกว่าพนักงานโดยปกติเพราะผลสำเร็จหมายถึง เวลา จำนวนเงินที่ลงทุนไป

รูปแบบของการทำแฟรนไชส์ (Product/Service or Brand Franchising)

เป็นการให้สิทธิ์ในการให้บริการหรือทำการผลิตสินค้าที่มีสูตรหรือส่วนประกอบเฉพาะและ/ หรือให้สิทธิ์ในการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ภายใต้เครื่องหมายการค้า/ บริการของแฟรนไชซอ

Business Format Franchising เป็นการให้สิทธิ์ในการให้บริการหรือทำการผลิตสินค้าที่มีสูตรหรือส่วนประกอบเฉพาะและ/ หรือจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ภายใต้รูปแบบและเครื่องหมายทางการค้า/ บริการของแฟรนไชซอ โดยมีการถ่ายทอดในระบบและวิธีการดำเนินธุรกิจแบบร้านมาตรฐานซึ่งจะมีคู่มือประกอบเพื่อใช้ในการปฏิบัติงานของทุกส่วนงานให้แฟรนไชซึ่ปฏิบัติตาม

Conversion Franchising เป็นระบบแฟรนไชส์ที่ออกแบบเพื่อใช้กับผู้ประกอบการอิสระที่มีอยู่เดิมให้เข้าสู่ระบบ/ รูปแบบและเครื่องหมายทางการค้าเดียวกันหรือร่วมกัน ซึ่งจะให้ประโยชน์ร่วมกันในด้านการโฆษณาที่ทำให้เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคเพิ่มขึ้น เช่น ธุรกิจโรงแรม ธุรกิจการรับทำบัญชี เป็นต้น

ประเภทของการให้สิทธิ์แฟรนไชส์

ประเภทของการให้สิทธิ์แฟรนไชส์ ซึ่งอาจจะแบ่งรูปแบบได้ 3 แบบ ดังนี้

แฟรนไชส์แบบบุคคล (Individual Franchise or Sub-Franchise)
แฟรนส์แบบพัฒนาพื้นที่ (Sub-Area License or Development Framchise)
แฟรนไชส์แบบตัวแทน (Master Franchise)

ประเภทการให้สิทธิ์ทั้ง 3 แบบนี้มีทั้งข้อดีและข้อเสียอยู่ในตัวเองขึ้นอยู่กับเป้าหมายและลักษณะธุรกิจของแฟรนไชซอเป็นเกณฑ์ แต่แฟรนไชซอหลายท่านก้มีการใช้รูปแบบทั้ง 3 ผสมผสานกันในกลยุทธ์ของแฟรนไชส์ ตามแต่เงื่อนไขของธุรกิจและการตลาด รวมถึงการแข่งขัน จากนี้มาดูกันว่าการให้สิทธิ์ในแต่ละประเภทเป็นอย่างไร

 

1. แฟรนไชส์แบบบุคคล (Individual Franchise or Sub-Franchise)

เป็นรูปแบบการให้สิทธิ์แฟรนไชส์แก่บุคคลหนึ่งบุคคลใดหรือนิติบุคคลองค์กรหนึ่งองค์กรใดให้ดำเนินธุรกิจภายใต้เครื่องหมายการค้า/ บริการจากแฟรนไชซอเพียงแค่เฉพาะตัวเฉพาะพื้นที่ตามข้อตกลงไม่สามารถถ่ายทอดสิทธิ์ที่ได้รับมาให้กับบุคคลอื่นได้ ซึ่งมี 2 ลักษณะคือ

Single unit Franchise : แฟรนไชซี่จะไร้รับสิทธิ์ในการดำเนินกิจการเฉพาะตัวได้เพียงหนึ่งแห่ง
Muli unit Francgise : แฟรนไชซี่จะได้รับสิทธิ์ในการดำเนินกิจการเฉพาะตัวได้หลายแห่งภายในพื้นที่กำหนด

 

2. แฟรนไชส์แบบพัฒนาพื้นที่ (Sub-Area License or Development Franchise)

เป็นรูปแบบการให้สิทธิ์แก่บุคคลหนึ่งบุคคลใดหรือนิติบุคคลในการทำตลาดแฟรนไชส์ในอาณาเขตที่กำหนด โดยที่แฟรนไชซี่จะสามารถดำเนินธุรกิจที่ได้รับมาภายในระยะเวลาที่ได้ตกลงกัน โดยปกติจะไม่สามารถขายสิทธิ์ที่ได้รับมาต่อให้กับบุคคลอื่นได้

 

3. แฟรนไชส์แบบตัวแทน (Master Franchise)

เป็นรูปแบบการให้สิทธิ์แก่บุคคลใดหรือนิติบุคคลหนึ่ง เป็นรายแรกในอาณาเขตภูมิภาคหรือระดับประเทศตามที่กำนหด เพื่อให้บุคคลหรือนิติบุคคลดังกล่าวดำเนินการขยายสาขาและทำการขยายการให้สิทธิ์หน่าวยย่อยทั้งแบบ Individual Franchise หรือแบบ Sub-Area License แก่บุคคลอื่นในพื้นที่ต่อไป

ซื้อเฟรนไชส์ เรื่องต้องคิดก่อนการตัดสินใจ

2. ได้อะไร – เสียอะไรจากแฟรนไชส์

2.1 ข้อได้เปรียบของการเข้าร่วมแฟรนไชส์ คืออะไร ?
ธุริจแฟรนส์เป็นธุรกจิที่ร่วมกันของบุคคล 2 ฝ่าย โดยที่ฝ่ายหนึ่งขาดซึ่งความรู้ ความชำนาญ คือ แฟรนไชซี่ และอีกฝ่ายหนึ่งเป็นผู้ที่มีความรู้และประสบการณ์ คือ แฟรนไชซอ หากแฟรนไชซอไม่สามารถสร้างให้แฟรนไชซี่ประสบความสำเร็จได้ ก็เป็นการยากที่แฟรนไชซอจะประสบความสำเร็จได้เช่นกัน ในทางกลับกันหากแฟรนไชซี่ประสบความส้มเหลวก็ย่อมส่งผลกระทบถึงแฟรนไชซอได้เช่นกัน การให้เข้าร่วมแฟรนไชส์จึงน่าจะมีข้อได้เปรียบ ดังนี้

1.โอกาสแห่งความสำเร็จที่สูงขึ้น
ในการทำธุรกิจใดๆ ย่อมมีความเสี่ยงที่จะไม่ประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ เนื่องจากมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องมากมายแต่แนวคิดของการทำแฟรนไชส์ (franchisign) คือการดำเนินธุรกจิตามวิธีที่ได้ผ่านกระบวนการพัฒนาของแฟรนไชซอมาเป็นระยะเวลาแรมปี แล้วยังสามารถดำเนินธุรกิจอยู่ได้โดยเป็นที่ยอมรับของตลาดซึ่งแสดงให้เห็นถึงความชำนาญและประสบการณ์ในการประกอบการดังนั้น โอกาสของการประสบความสำเร็จในฐานะแฟรนไชซี่จึงนับว่ามีสูงกว่าการประกอบธุรกิจอิสระของตนเอง

2.ย่นระยะเวลาการเรียนรู้
แฟรนไชซอได้ทุ่มเทเวลาและเงินไปเป็นจำนวนไม่น้อยเพื่อที่จะสร้างและพัมนาระบบ พร้อมกับได้บันทึกขั้นตอน ในการดำเนินธุรกิจที่ประสบความสำเร็จมาแล้วในระดับหนึ่งออกมาเป็นคู่มือ ซึ่งแฟรนไชซี่จะได้รับประโยชน์จากการถ่ายทอด ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ความรู้ที่ถูกรวบรวมไว้นี้จากแฟรนไชซอ ดังนั้นจึงเป็นการประหยัดเวลาในการเรียนรู้ถึงวิธีการดำเนินธุรกิจที่ประสบความสำเร็จมาแล้ว สามารถเริ่มต้นธุรกิจได้ในทันทีและมีโอกาสประสบความสำเร็จได้ง่ายขึ้นเร็วขึ้นเนื่องจาก ไม่เกิดการลองผิดลองถูก

3.เครื่องหมายการค้าที่ได้รับการยอมรับ
เครื่องหมายการค้า/ บริการ เป็นทรัพย์สินที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งของทุกๆ ธุรกิจ และเป็นสิ่งที่อาจจะเรียกได้ว่ามีค่าสูงสุดในบรรดาทรัพย์สินต่างๆ ยิ่งเมื่อธุรกิจนั้นประสบความสำเร็จ ทั้งนั้ก็เพราะเครื่องหมายการค้าเป็นเสมือนตัวแทนของธุรกิจต่อสายตาผุ้บริโภค เป็นเครื่องหมายที่แสดงถึงความมีคุณภาพ มาตรฐาน หรือความแตกต่างใดๆ ของสินค้าหรือบริการของแต่ละธุรกิจ ธุรกิจแฟรนไชส์ก็เช่นกัน เนื่องจากเครื่องหมายการค้าเป็นสิ่งจำเป็นที่ควบคู่ไปกับการใช้สิทธิ์ ดังนั้นเมื่อธุรกิจของแฟรนไชซอได้ผ่านการดำเนินการมาระยะเวลาหนึ่ง ตราหรือเครื่องหมายทางการค้า/ บริการของแฟรนไชซี่ย่อมเป็นที่คุ้นเคยและยอมรับในระดับหนึ่งของผู้บริโภค ซึ่งแฟรนไชซี่ย่อมได้รับประโยชน์จากเครื่องหมายการค้า/ บริการ ที่ได้รับการยอมรับในตลาดแล้วไปด้วย ทำให้การเริ่มต้นธุรกิจของแฟรนไชซี่เป็นไปได้รวดเร็วกว่า เพราะไม่ต้องสร้างเครื่องหมายการค้าใหม่มาทำตลาดในพื้นที่ดังกล่าว

4.การประหยัดต่อขนาดจากการซี้อทีละมากๆ
ผู้ประกอบกิจการขนาดย่อมโดยทั่วไปมักพบว่าเป็นเรื่องยากที่ตนจะสามารถซื้อสินค้าและบริการในราคาถูกเนื่องจากปริมาณในการสั่งซื้อที่น้อย อย่างไรก็ตาม เมื่อมีการทำแฟรนไชส์ (Franchising) แฟรนไชซอสามารถรวบรวมความต้องการสั่งซื้อสินค้าของแฟรนไชซี่เข้าด้วยกันและเพิ่มอำนาจต่อรองของตน ทำให้สามารถซื้อสินค้าและบริการในต้นทุนที่ถูกลง และแฟรนไชซี่ย่อมได้รับสินค้าหรือวัตถุดิบในราคาที่ถูกลงตามไปด้วยซึ่งเป็นข้อได้เปรียบในการแข่งขัน

5.การโฆษณาและสนับสนุนการขายร่วมกัน
โดยทั่วไปแล้วธุรกิจที่มีขนาดใหญ่เพียงพอเท่านั้นจึงจะสามารถรองรับค่าใช้จ่ายในการโฆษณา โดยเฉพาะการโฆษณาที่อาศัยสื่อแพงๆ เช่น หนังสือพิมพ์ วิทยุ หรือโทรทัศน์ได้
ธุรกิจอิสระขนาดเล็กๆ เป็นจำนวนมากที่มีจำนวนสาขาไม่มาก เพราะเงินทุนไม่พอ การลงทุนค่าใช้จ่ายยิ่งเกิดขึ้นได้ยาก โดยเฉพาะการโฆษณาในระดับภาค หรือระดับประเทศ ดังจะเห็นตัวอย่างของร้านอาหารดังๆ ในจังหวัดต่างๆ ซึ่งก็เป็นผู้นำในตลาดมีผู้คนมากมายเป็นลูกค้า แต่ก็ไม่สามารถจะลงทุนการโฆษณาเพื่อสร้างชื่อเสียงและภาพลักษณ์ได้
แต่ด้วยเหตุที่การขยายตัวของแฟรนไชส์ อยู่ภายใต้เครื่องหมายการค้าเดียวกันและเมื่อมีจำนวนสาขาที่เพิ่มขึ้นจากการลงทุนของทั้งแฟรนไชซอเองและการลงทุนชองแฟรนไชซี่ ซึ่งต่างก็เป็นเจ้าของกิจการร่วมระบบ ทำให้มีความได้เปรียบในเรื่องของความประหยัดต่อขนาดการลงทุนด้านโฆษณา สามารถส่งผลให้แก่ระบบโดยรวมได้โดยง่าย ก่อให้เกิดทั้งภาพลักษณ์และชื่อเสียงที่ดีกว่าร้านค้าอิสะทั่วไปที่การขยายตัวช้ากว่าเพราะเงินทุนที่จำกัดกว่า ในทำนองเดียวกันแฟรนไชซอสามารถรวบรวมทรับพยากรเข้าด้วยกันเพื่อที่จะผลักดันให้เกิดการโฆษณาและส่งเสริมการขายร่วมกันในต้นทุนที่ต่ำ นอกจากนี้การทำแฟรนไชส์ ยังเป็นผลดีต่อการนำเสนอภาพลักษณ์ที่เข้มแข็งและสอดคล้องกัน ซึ่งจะสร้างความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในการซื้อสินค้าและบริการจากแฟรนไชซี่

6.การถ่ายโอนความเชี่ยวชาญ
โดยปกติแฟรนไชซอจะมีการสั่งสมประสบการณ์และความชำนาญในการประกอบธุรกิจ เมื่อมีการขายสิทธิ์แฟรนไชซอจะให้ความสนใจกับการถ่ายทอดความรู้ต่อแฟรนไชซี่ เพื่อส่งเสริมให้ประสบความสำเร็จ เนื่องจากความสำเร็จและผลกำไรของแฟรนไชซอย่อมเกี่ยวโยงกับความสำเร็จของแฟรนไชซี่โดยตรง

7.การฝึกอบรม
แฟรนไชซี่ย่อมได้รับการฝึกอบรมแนะแนวทางจากแฟรนไชซอ เพื่อช่วยส่งเสริมให้ประกอบการได้ดีขึ้นภายใต้มาตรฐานที่เป็นหนึ่งเดียว

8.บริการช่วยเหลือจากแฟรนไชเซอ
แฟรนไชซี่สามารถรับากรบริการช่วยเหลือจากแฟรนไชซอในต้นทุนที่ต่ำ ยกตัวอย่างเช่น ความช่วยเหลือในการรับสมัครพนักงานทำบัญชี ย้ายที่ตั้งไปสู่ทำเลที่ดีขึ้น และอื่นๆ

 

2.2 ข้อเสียเปรียบของการเข้าร่วมแฟรนไชส์ คืออะไร?

แม้ว่าการทำแฟรนไชส์ (franchising) จะเป็นแนวคิดที่ดีแต่ก็ไม่ได้เป็นรูปแบบที่ดีที่สุดเนื่องจากการทำแฟรนไชส์ยังมีข้อจำกัดหรือไม่เหมาะสำหรับบางคน ในเรื่องต่างๆ พอสรุปได้ดังนี้

 

1.สูญเสียอิสระภาพในการดำเนินธุรกิจ

ดังที่ได้กล่าวแล้วว่าแนวคิดของการทำแฟรนไชส์ คือ การดำเนินธุรกิจตามวิธีที่ได้รับการพัฒนาจากแฟรนไชซอ การดำเนินธุรกิจตามรูปแบบที่กำหนดไว้เท่านั้นที่จะเป็นเครื่องรองรับความสำเร็จของแฟรนไชซี่ ดังนั้น แฟรนไชซี่จึงไม่มีอิสรภาพเต็มที่ต่อการตัดสินใจอย่างเช่น ควรขายสินค้าอะไรที่ราคาเท่าใด หรือเมื่อไหร่ที่จะเสนอขายสินค้าลดราคาและอื่นๆ นอกจากนี้แฟรนไชซี่ยังไม่สามารถตัดสินใจกระทำการใดๆ เพียงลำพังเนื่องจากอาจส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของแฟรนไชซอ หรือของแฟรนไชซี่รายอื่นๆ อย่างไรก็ตามยังมีแฟรนไชซอจำนวนไม่น้อยให้ความสำคัญกับการปรึกษาหารือกับแฟรนไซซี่อย่างสม่ำเสมอเพื่อทราบความต้องการของลูกค้าซึ่งมีความต้องการที่แตกต่างกันในแต่ละท้องที่

 

2.ไม่มีหลักประกันความสำเร็จ

ถึงแม้จะมีโอกาสสูงในการประสบความสำเร็จจากการซื้อแฟรนไชส์ แต่อาจกล่าวได้ว่าไม่มีหลักประกันที่แน่นอนในเรื่องนี้ ทั้งที่ในแง่ของแนวคิดแล้วแฟรนไชส์นั้นจะดูดีก็ตาม เนื่องจากความเสี่ยงทางธุรกิจสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัยที่ทำให้ประสบความล้มเหลวทั้งที่เกิดจากตัวแฟรนไชซี่เอง หรือเกิดจากแฟรนไชซอ เช่นเรื่องการขาดเงินทุนที่จำเป็นต่อการดำเนินธุรกิจ ขาดวิสัยทัศน์ในการเลือกทำเลที่ตั้ง แหล่งระบายสินค้าไม่เหมาะสม การที่แฟรนไชซี่ไม่สามารถปฏิบัติตามระบบของแฟรนไชซอ หรือคุณสมบัติของแฟรนไชซอที่ยังไม่เพียงพอ เนื่องจากมีระยะเวลาในการดำเนินงานที่ยังไม่ได้พิสูจน์ความสำเร็จหรือได้รับการยอมรับจากตลาด

 

3.ค่าใช้จ่ายสูง

แฟรนไชซี่จำเป็นจะต้งอเสียค่าใช้จ่ายล่วงหน้าเพื่อการได้มาซึ่งลิขสิทธิ์ในการประกอบกิจการ นอกจากนี้แฟรนไชซี่ยังมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ อย่างเช่น เงินลงทุนเพื่อตกแต่งร้านค้า และค่าธรรมเนียมที่ต้องจ่ายเป็นประจำสำหรับบิรการสนับสนุนที่ได้รับจากแฟรนไชซอ เมื่อรวมค่าใชจ่ายเหล่านี้เข้าด้วยกันจะพบว่าเป็นจำนวนเงินที่สูง ดังนั้นเงินจำนวนนี้จะคุ้มค่าต่อการลงทุนก็ต่อเมื่อแฟรนไชซี่ได้รับผลตอบแทนที่สูงเช่นกัน อย่างไรก็ดีนับว่าเป็นที่จะต้องมีการศึกษาอย่างรอบคอบ ก่อนตัดสินใจลงนามในสัญญาที่เกี่ยวกับค่าใช้จ่ายใดๆ ที่ต้องจ่ายให้กับแฟรนไชเซอ

 

3. การทำแฟรนไชส์ (franchising) เกี่ยวข้องกับเรื่องอะไรบ้าง ?

3.1 ระยะเวลาของข้อผูกมัด

ระยะเวลาของข้อผูกมัดคือ ช่วงเวลาที่สัญญาหรือนิติกรรมมีผลบังคับใช้ระหว่างแฟรนไชซอและแฟรนไชซี่ ซึ่งโดยปกติแล้วจะถูกกำหนดโดยฝ่ายแฟรนไชซอ สัญญานี้อาจมีระยะเวลาตั้งแต่ 3 ปีจนถึง 10 ปีหรือมากกว่านั้น โดยทั่วไปยิ่งอายุสัญญานานเท่าใด ค่าใช้จ่ายในการซื้อแฟรนไชส์ก็จะยิ่งมากขึ้น และเงื่อนไขของการต่อสัญญาก็มักจะมีการระบุไว้เรียบร้อย ในบางกรณี แฟรนไชซออาจอนุญาตให้มีการต่อสัญญาโดยมีระยะเวลานานเท่าเดิมโดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมใดๆ แต่สำหรับในบางกรณี แฟรนไชซออาจเรียกเก็บค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมในการต่อสัญญาใหม่ ดังนั้นจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะศึกษาว่าช่วงระยะเวลาของข้อผูกมัดยาวนานเท่าใดสำหรับจำนวนเงินที่ต้องจ่ายไปในการซื้อแฟรนไชส์ เมื่อเปรียบเทียบกับรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียม เพื่อหาระยะเวลาในการคืนทุน

 

3.2 ค่าธรรมเนียมเริ่มต้น (Initial/ Entrant fee)

ค่าธรรมเนียมเริ่มต้นคือ ค่าใช้จ่ายล่วงหน้าที่แฟรนไชซี่จะต้องค่ายให้แก่แฟรนไชซอ เพื่อให้ได้มาซึ่งลิขสิทธิ์ในากรประกอบธุรกิจหรือใช้ตราหรือเครื่งอหมายการค้า/ บริการภายในระยะเวลาที่กำหนด อย่างไรก็ดีแฟรนไชซอส่วนใหญ่จะเสนอบริการต่างๆ เพื่อเป็นการตอบแทนรายจ่ายนี้ ยกตัวอย่างเช่น การให้ความรู้และการอบรม ความช่วยเหลือในการเปิดร้านค้า หรือออกแบบจุดขาย (outlet) ที่ได้แสดงการจัดวางตำแหน่งในพื้นที่ที่เหมาะสม การให้คำปรึกษา เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเป็นผลประโยชน์เพิ่มเติมต่อผู้ซื้อแฟรนไชส์ ดังนั้นผู้ซื้อแฟรนไชส์ควรจะต้องพยายามสอบถามว่าจะได้รับขอเสนอในบริการหรือสินค้าในลักษณะใดสำหรับจำนวนเงินที่จะต้องจ่ายไป โดยเฉพาะในช่วงแรกของการเปิดดำเนินกิจการจนกระทั่งเกิดรายได้

 

3.3 เงินรายงวด/ ค่าธรรมเนียมการจัดการ (Royalty/ Managrment fee)

เงินรายงวดหรือค่าธรรมเนียมการจัดการเป็นค่าใช้จ่ายระหว่างดำเนินกิจการ ซึ่งโดยปกติแฟรนไชซี่จะจ่ายให้แก่แฟรนไชซอคิดเป็นอัตราร้อยละของยอดขายหรือรายได้ของกิจการตามรอบระยะเวลา ที่มักจะเป็นรอบรายเดือน ราย 2 เดือน หรือไตรมาส ก็เพื่อช่วยให้แฟรนไชซอสามารถตรวจสอบหรือควบคุม ในกรณีที่แฟรนไชซี่มีผลประกอบการที่ไม่ดีก็จะได้ดำเนินการแก้ไขได้ทันท่วงที ทั้งนี้ค่าใช้จ่ายส่วนนี้อาจจะถูกกำหนดให้คงที่หรือผันแปรก็ได้ หรืออาจจะเป็นทั้งสองแบบรวมกัน แฟรนไชซออาจแลกเปลี่ยนด้วยการให้บริการต่างๆ เช่น จัดรายการโฆษณาและสนับสนุนการขาย (Marketing or Advertising Fee) ให้ข้อมูลใหม่เกี่ยวกับขึ้นตอนต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ และการพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง ซึ่งเมื่อเปรียบก็เสมือนหนึ่งค่าภาษีที่ทุกคนในฐานะพลเมืองของประเทศจ่ายให้แก่รัฐบาล เพื่อนำไปพัฒนาประเทศนั่นเอง
เงินรายงวดในธุรกิจแต่ละประเภท มักจะมีความแตกต่างกันไป การตั้งระดับที่เหมาะสมของเงินรายวงดนี้จะขึ้นอยู่กับการให้บริการเพิ่มเติมของแฟรนไชซอ ยิ่งมีการให้บริการต่างๆ มาก อัตราค่า Royalty บนยอดขาย มักจะมีค่าประมาณ 4-6% ขณะที่ธุรกิจประเภทการให้บริการมักอยู่ที่ 8-10% อย่างไรก็ตาม อัตราเฉลี่ยข้างต้นมิได้หมายความว่าเป็นอัตราที่เหมาะสำหรับธุรกิจ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับต้นทุนการดำเนินงานสนับสนุนของแต่ละธุรกิจ

3.4 ต้นทุนการตกแต่งร้าน

ต้นทุนการตกแต่งร้าน หมายถึงต้นทุนซึ่งเกิดขึ้นจากการที่แฟรนไชซี่จะต้องเปลี่ยนรูปลักษณ์ภายนอกของร้านค้าให้เหมือนกับที่แฟรนไชซอกำหนด ต้นทุนนั้จะเกิดขึ้นในระยะแรกของการตกลงใจที่จะทำแฟรนไชส์ ดังนั้นแฟรนไชซี่จำเป็นจะต้องมีเงินทุนที่เพียงพอสำหรับค่าใช้จ่ายส่วนนี้ แม้จะต้องจ่ายไปก่อนที่จะเริ่มมีลูกค้าเข้าร้านก็ตาม

3.5 ข้อตกลง

ข้อตกลง คือ สัญญาตามกฎหมายระหว่างแฟรนไชซอกับแฟรนไชซี่ ซึ่งระบุสิทธิ์และข้อผูกมัดระหว่างสองฝ่าย รวมทั้งเงื่อนไขต่างๆ ซึ่งรวมถึงเงื่อนไขในการสิ้นสุดสัญญาและระยะเวลาที่สัญญาบังคับใช้ ข้อตกลงนี้จะถูกเขียนโดยทนายของฝ่ายแฟรนไชซอ ดังนั้นผู้สนใจจะเป็นแฟรนไชซี่ควรปรึกษาผู้มีความรู้เกี่ยวกับข้อตกลงดังกล่าวในรายละเอียดก่อนที่จะเซ็นสัญญา เมื่อพบว่าเงื่อนไขมีความเข้มงวดจนเกินไป ก็ควรจะเจรจากับบแฟรนไชซอก่อนที่จะตกลงใจทำสัญญา

3.6 ทุนดำเนินการ

แฟรนไชซี่จะต้องแบ่งสรรเงินทุนส่วนหนึ่งให้เพียงพอกับการดำเนินงานธุรกิจตามปกติ เช่นค่าใช้จ่ายทั่วไป เงินเดือนพนักงาน การสั่งซื้อสินค้าและบริการ เป็นต้น ถึงแม้ว่าแฟรนไชซอจะเสนอสินค้าและบริการให้ในลักษณะจ่ายเชื่อก็ตาม แต่ก็เป็นเพียงการเลื่อนระยะเวลาการจ่ายเงินไปเท่านั้น เมื่อถึงกำหนดเวลาแฟรนไชซี่ยังคงจะต้องจ่ายค่าสินค้าในที่สุด

3.7 เงื่อนไขการจ่ายเงิน

โดยปกติแฟรนไชซอจะกำหนดระยะเวลาการจ่ายค่าสินค้าและบริการในลักษณะเดียวกับธุรกิจอื่นๆ เช่น 30 หรือ 60 วัน

3.8 พื้นที่ประกอบการ

โดยทั่วไปแล้วแฟรนไชซอจะไม่จัดตั้งร้านภายใต้แฟรนไชส์นั้นเพิ่มขึ้นภายในขอบเขตพื้นที่ที่ได้ระบุไว้ในข้อตกลงที่ทำไว้กับแฟรนไชซี่ทั้งนี้ ขอบเขตของพื้นที่การประกอบการอาจขึ้นอยู่กับลักษณะของธุรกิจและข้อตกลง ซึ่งถ้าหากแฟรนไชซี่ได้จำนวนมาก ขอบเขตการประกอบการของแฟรนไชซี่ก็จะเล็กลงตามไปด้วยและรูปแบบการรับสิทธิ์ส่วนใหญ่จะเป็นแบบบุคคล (Individual Franchise) ตรงข้ามหากแฟรนไชซอนั้นมีศักยภาพไม่เพียงพอในการให้การสนับสนุนสมาชิกจำนวนมากได้ ขอบเขตการประกอบการของแฟรนไชซี่ก็จะเพิ่มมากขึ้นรูปแบบการรับสิทธิ์ก็อาจจะเป็นแฟรนไชส์แบบพัฒนาพื้นที่(Development Franchise) หรือ แฟรนไชส์แบบตัวแทน (Master Franchise)
แต่ไม่ว่าเงื่อนไขจะเป็นอย่างฟไร ที่สำคัญยิ่งกว่าคือภายในขอบเขตพื้นที่นั้นๆ จะต้องมีจำนวนลูกค้าที่เป็นกลุ่มเป้าหมายทางธุรกิจที่มากพอในการดำเนินธุรกิจ ซึ่งแฟรนไชซอจำเป็นต้องใส่ใจหาวิธีการอ้างอิง หรือหาข้อมูลให้ได้ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง

3.9 การจัดหาสินค้าและบริการ

แฟรนไชซอมักกำหนดสัดส่วนขั้นต่ำของสินค้าและ/ หรือบริการที่แฟรนไชซี่จะต้องรับจากตน และแฟรนไชซอบางรายอาจจะกำหนดให้สินค้าและบริการทั้งหมดต้องมาจากตนเนื่องจากเหตุผลในการคุมคุณภาพสินค้าและบริการ

3.10 การปฏิบัติตามข้อตกลง

แฟรนไชซี่จำเป็นจะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขของข้อตกลงอย่างเคร่งครัดเพื่อที่จะเป็นหลักประกันว่าแฟรนไชซี่จะไม่กระทำการใดๆ ที่อาจมีผลกระทบต่อภาพลักษณ์และธุรกจิของแฟรนไชซี่รายอื่นๆ ดังนั้นแฟรนไชซอจึงมีสิทธิ์ในการบังคับสิ้นสุดสัญญา ในกรณีที่แฟรนไชซี่ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขหลังจากที่ได้รับคำเตือนซ้ำสอง ในทางตรงกันข้ามถ้าหากแฟรนไชซอเป็นผู้ไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงเอง ฝ่ายแฟรนไชซี่ก็มีสิทธิ์ที่จะเรียกร้องค่าชดเชยตามกฎหมาย

3.11 เงื่อนไขสำหรับสิ้นสุดการประกอบกิจการ

โดยทั่วไป การที่ข้อตกลงของแฟรนไชส์จะสิ้นสุดลงอาจเกิดจากความเป็นไปได้ 3 ประการ กล่าวคือ

-เมื่อสัญญาหมดอายุลง
-เมื่อแฟรนไชซอทำการสิ้นสุดสัญญาหากมีการละเมิดข้อตกลงที่ระบุไว้ อย่างไรก็ตามกรณีที่แฟรนไชซอจะทำการบังคับ ให้สิ้นสุดสัญญาก่อนกำหนดเป็นเรื่องที่ไม่ปกติและไม่เกิดขึ้นบ่อยนัก นอกจากจะมีการละเมิดข้อตกลงจากแฟรนไชซี่เป็นประจำ
-แฟรนไชซี่เลือกที่จะยกเลิกแฟรนไชส์ก่อนที่สัญญาจะหมดอายุ

 

“ซื้อเฟรนไชส์” เรื่องต้องคิดก่อนการตัดสินใจ

4.1 ภูมิหลังของแฟรนไชเซอ

ตรวจสอบชื่อเสียงและประวัติย้อนหลังของแฟรนไชซอในธรุกิจที่ทำแฟรนไชส์ (franchise) ในเรื่องของเอกสารที่แสดงความเป็นเจ้าของสิทธิ์ที่ถูกต้องจากหลักฐานในการจดทะเบียนพาณิชย์ การจดลิขสิทธิ์ในเครื่องหมายการค้า หรือในกรณีที่ซื้อสินค้าจากผู้อื่นมาอีกต่อหนึ่งก็ควรมีหลักฐานแสดงการได้รับอนุญาตเป็นตัวแทนในการจำหน่าย นอกจากนี้อาจสอบถามเกี่ยวกับเหตุผลหรือแรงจูงใจ ความมุ่งมั่น ในการริเริ่มกิจการนั้นเพื่อที่จะแน่ใจว่าแฟรนไชซอมีพันธะต่ธุรกิจที่ดำเนินอยู่ อายุของการทำธุรกิจ จำนวนสาขาที่เป็นของแฟรนไชซอเองและจำนวนแฟรนไชซี่ที่มีอยู่ในปัจจุบัน ก็มีความสำคัญเพราะเป็นตัวบอกถึงความสำเร็จและความเชี่ยวชาญในธถรกิจนั้นๆ รวมถึงการผ่านประสบการณ์ในการแก้ปัญหาจนสามารถมีข้อสรุปที่นำมาให้คำแนะนำได้

4.2 โครงสร้างการบริหารงาน

การศึกษาโครงสร้างการบริหารงานและความรับผิดชอบของแต่ละส่วนงานภายในของแฟรนไชซอ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ที่สนใจจะซื้อแฟรนไชส์ในอนาคตตัดสินใจได้ว่าบริษัทดังกล่าวมีการจัดองค์กรที่ดีหรือไม่ มีพนักงานที่มีประสิทธิภาพหรือไม่ หรือมีทีมงานด้านแฟรนไชส์ที่สามารถให้บริการสนับสนุนอย่างที่ได้ระบุไว้หรือไม่ ซึ่งหากสามารถระบุตัวเจ้าหน้าที่ที่จะต้องติดต่อในากรประกอบการแฟรนไชส์ได้ก็จะเป็นการดีในการตรวจสอบความสามารถของทีมงาน และที่สำคัญแฟรนไชส์ที่ดีควรมีระบบงานอย่างเป็นมืออาชีพ อย่างน้อยที่สุดจะต้องมีแผนการอบรมเพื่อถ่ายทอดการทำธุรกิจ มีการจัดทำคู่มือการปฏิบัติงานในส่วนงานต่างๆ มีสายด่วนให้คำปรึกษา หรืออาจค้นคว้าเกี่ยวกับภูมิหลังของผู้บริหารของบริษัทเพื่อให้แน่ใจว่าบุคคลนั้นมีความน่าเชื่อถือและมีความรับผิดชอบต่อธุรกิจแฟรนไชส์

4.3 การเยี่ยมชมบริษัท

อาจไม่เป็นการเพียงพอที่จะรับฟังหรืออ่านจากสิ่งที่แฟรนไชซอเสนอเท่านั้น การเยี่ยมชมบริษัทถ้าเป็นไปได้มากกว่าหนึ่งครั้ง จะเป็นผลดีอย่างมากเนื่องจากเราจะสามารถตรวจสอบการจัดการภายใน การจัดการพนักงานและระบบสนับสนุนต่างๆ ทั้งนี้พึงระลึกไว้เสมอว่าควรระมัดระวังแฟรนไชซอที่ไม่อนุญาตให้มีการเยี่ยมชม

4.5 การสอบถามจากผู้ที่เป็นแฟรนไชซี่ในอดีต

ควรสอบถามจากแฟรนไชซอและผู้เคยเป็นแฟรนไชซี่ในอดีตว่าเพราะเหตุใดแฟรนไชซี่ในอดีตจึงออกจากธุรกิจ สาเหตุอาจเกิดจากเหตุผลส่วนตัว หรืออาจจะเกี่ยวข้องกับตัวผลิตภัณฑ์ หรือเกี่ยวกับแฟรนไชซอ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการประเมิณและเพื่อความแน่ใจในคุณภาพของแฟรนไชซอรายนั้นๆ

4.6 สถานะทางการเงินและงบดุลของแฟรนไชซอในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา

ควรประเมิณสถานะทางการเงินของแฟรนไชซอ โดยพิจารณาจากงบกำไรขาดทุนและงบดุลของบริษัท และควรตรวจสอบย้อนหลังไปประมาณ 3 ปี ซึ่งข้อมูลนี้สามารถขอได้จากแฟรนไชซอโดยตรง และควรสอบถามเกี่ยวกับสาเหตุของการขาดทุนที่เกิดขึ้นหรือยอดหนี้สินของบริษัท ถ้าหากพบว่างบดุลของบริษัทมียอดนหี้สินสูงมากกว่ายอดทรัพย์สิน แสดงว่าบริษัทประสบปัญหาเกี่ยวกับเงินทุนหรือมีการดำเนินธุรกิจบนสัดส่วนของหนี้สินที่สูง อาจเป็นสัญญาณว่าแฟรนไชซอไม่มีเสถียรภาพทางการเงินเพียงพอ อย่างไรก็ตามถ้าหากมีปัญหาในการทำความเข้าใจสถานะทางการเงินควรปรึกษาผู้รู้

4.7 ส่วนต่าง (margin) สำหรับสินค้าและบริการที่จะต้องจ่าย

ควรสอบถามเกี่ยวกับส่วนต่าง (margin) ที่ชัดเจนของค่าสินค้าและบริการที่จะต้องจ่ายให้กับแฟรนไชซอในฐานะผู้ป้อนสินค้า เมื่อเปรียบเทียบกับแฟรนไชซอรายอื่นเพื่อการตัดสินใจ ทั้งนี้ ข้อมูลที่ได้รับสามารถตรวจสอบกับแฟรนไชซี่ในปัจจุบันของธุรกิจนั้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการเตรียมตัวเพื่อทราบกระแสเงินสดในระหว่างที่เริ่มประกอบกิจการ รวมทั้งสามารถเข้าใจผลตอบแทนในอนาคต

4.8 เงื่อนไขหลักบางประการของข้อตกลง

ควรขอรายละเอียดเกี่ยวกับข้อตกลงในสัญญาของแฟรนไชส์และอาจขอให้มีการชี้แจงเงื่อนไขหลักที่สำคัญ เช่น ค่าใช้จ่ายต่างๆ เงินรายงวด ระยะเวลาของสัญญา สิทธิ์ในขอบเขตการประกอบการอื่นๆ ทั้งนี้ถ้าหากเป็นไปได้ ควรเปรียบเทียบกันระหว่างแฟรนไชส์ในธุรกิจที่คล้ายกันหลายๆ บริษัท

ขอบคุณบทความดีดีจาก : http://www.jjthai.net และ http://www.smile-sme.com

คลิกเพื่อดู    โรงพิมพ์ JR

โรงพิมพ์ เจอาร์

inbound vs outbound marketing

+1
0
+1
0
+1
0
+1
0
+1
0
+1
0
+1
0